กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยโรคติดต่อนำโดยแมลงปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยมีรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออกและมาลาเรีย มานานกว่า 50 ปี ปัจจุบันโรค ไข้เลือดออกและมาลาเรีย มีการระบาดกระจายไปทั่วประเทศ ทุกจังหวัด และอําเภอ การกระจายของโรคมีการ เปลี่ยนแปลงตามพื้นที่อยู่ตลอดเวลา ปัจจัยที่มีความสําคัญต่อการแพร่กระจายของโรคมีความซับซ้อนและ แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และยังมีส่วนทําให้รูปแบบการเกิดโรคมีความผันแปรไปในแต่ละปี ดังนั้นแนวคิด ด้านการรายงานสถานการณ์โรค จึงเปลี่ยนไปสู่การสร้างสรรค์ความคิด โดยการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการ “ป้องกัน” และ “เตือนภัย” ในเหตุการณ์ต่างๆ มากขึ้น นําไปสู่ การทํานาย (Forecast) หรือพยากรณ์ (Prediction) เพื่อคาดการณ์สถานการณ์โรคล่วงหน้า รวมทั้งการ ประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ (Health Risk Assessment รายพื้นที่ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้ฝ่ายบริหาร สามารถตัดสินใจในการกําหนดนโยบาย แผนงานและกลยุทธ์ในการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ต่อไป การพยากรณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2559 ใช้วิธีการทางสถิติแบบอนุกรมเวลา (Time series analysis) แบบ Simple Seasonal โดยใช้ข้อมูลจํานวนผู้ป่วยย้อนหลังอย่างน้อย 10 ปี (ปีพ.ศ. 2549-2558) ซึ่ง ผลการวิเคราะห์คาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปีพ.ศ. 2559 ประมาณ 160,000 – 170,000 ราย ทั้งนี้เมื่อ เทียบกับสถานการณ์ในช่วงปัจจุบันของ ปีพ.ศ. 2558 (สัปดาห์ที่ 49 ณ วันที่ 15 ธ.ค. 2558) พบว่า ยังมีการ แพร่กระจายโรคสูงกว่าปกติซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าโรคไข้เลือดออกจะระบาดต่อเนื่องไปจนถึงปี 2559 สอดคล้องกับ การวิเคราะห์และการพยากรณ์และคาดว่าจะมีจํานวนผู้ป่วยเสียชีวิตในปี 2559 ประมาณ 160 ราย หรืออัตราป่วย ตายไม่เกินร้อยละ 0.11 สําหรับการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงระดับอําเภอ โดยใช้แนวคิดด้านการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) โดยทําการวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพื้นที่ (Geo-statistical Analysis) แบบ Inverse Distance Weighting; IDW และใช้ GIS Software เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระดับอําเภอ จากปัจจัยพื้นที่ ที่มีจํานวนผู้ป่วยไข้เลือดออกหนาแน่นซ้ําซาก และแนวโน้มความรุนแรงของการระบาดต่อเนื่องในปีถัดไป ผลการวิเคราะห์คาดว่ามีจํานวนพื้นที่เสี่ยงระดับอําเภอทั้งสิ้น จํานวน 228 อําเภอ ใน 70 จังหวัด จากผลการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกและการประเมินพื้นที่เสี่ยง ที่คาดว่าจะเกิดการระบาด ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2559 ดังกล่าว กรมควบคุมโรคจึงต้องมีการกําหนดแผนงาน มาตรการ และการใช้ ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงต้องเน้นมาตรการการป้องกันโรคล่วงหน้า โดยการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะช่วงเวลาสําคัญที่ควร ดําเนินการคือช่วงเดือน มกราคม – เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่โอกาสการแพร่โรคเกิดน้อยที่สุด ทั้งนี้องค์ประกอบ สําคัญของการดําเนินการคือความร่วมมือจากประชาชน ชุมชน อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ส่วนการควบคุมโรค มีความจําเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้าน อุปกรณ์เครื่องมือ สารเคมีและทีมสอบสวนควบคุมโรค (SRRT) ให้มีความเพียงพอและมีประสิทธิภาพที่สามารถควบคุมโรคได้ อย่างทันเวลาในพื้นที่เสี่ยงและ/หรือพื้นที่เกิดโรค เพื่อควบคุมการระบาดไม่ให้เกิดการแพร่กระจายในวงกว้าง(ข้อมูลจากการพยากรณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2559 สํานักโรคติดต่อนําโดยแมลง สํานักระบาดวิทยา) ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง พบผู้ป่วยมาลาเรียตั้งแต่วันที่ 1มกราคม 2563 -วันที่31 ธันวาคม 2563 พบจำนวน 30 ราย (รายงาน.506 สสอ.กาบัง วันที่ 4 มกราคม 2564 )
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยังเล็งเห็นว่าหากแกนนำชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องสามารถกลับไปถ่ายถอดความรู้แก่ชุมชน จะส่งผลให้ลดอัตราการเกิดโรคที่นำโดยแมลง จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมรับสถาณการดารระบาดและให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังโรคติดต่อที่เป็นปัญหาในพื้นที่อำเภอกาบังโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
  • อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 25 จากค่ามัธยฐาน
70.00 60.00
2 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพทีม SRRT มีความพร้อมสามารถดำเนินการเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • อัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกินร้อยละ 0.10
80.00 70.00
3 3. เพื่อเพิ่มองค์ความรู้วิชาการที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ด้านการเฝ้าระวังสอบสวนป้องกันและควบคุมโรคของภาคีเครือข่ายในพื้นที่รับผิดชอบ
  • อัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียลดลง ร้อยละ 30 จากปีที่ผ่านมา
50.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำ ผู้รับผิดชอบอำเภอท้องถิ่น ท้องที่ ผู้นำศาสนา 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมทีมเพื่อจัดทำแผนชุมชนประกอบด้วย แกนนำ ผู้รับผิดชอบอำเภอ ท้องถิ่น ท้องที่ ผู้นำศาสนา โรงเรียน เจ้าหน้าที่ SRRT และอสม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีมเพื่อจัดทำแผนชุมชนประกอบด้วย แกนนำ ผู้รับผิดชอบอำเภอ ท้องถิ่น ท้องที่ ผู้นำศาสนา โรงเรียน เจ้าหน้าที่ SRRT และอสม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไวนิลโครงการ  ขนาด 2x3 ม.= 1,500 บ x 1 ผืน    = 1,500 บาท -ค่าอาหารว่าง 25บาท x 30 คน x 1 มื้อ x 1 วัน    =  750 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆละ 50 บาท. X 1 วัน    = 1,500 บาท -ค่าวิทยากร 5 ชม.ๆละ300 x 1 วัน            = 1,500บาท รวมเป็นเงิน   5,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2021 ถึง 30 กันยายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พัฒนาศักยภาพทีม SRRT มีความพร้อมสามารถดำเนินการเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5250.00

กิจกรรมที่ 2 กระบวนการอบรมให้ความรู้กับชุมชนพื้นที่เสี่ยงเขตหมู่ที่ 3 , 6

ชื่อกิจกรรม
กระบวนการอบรมให้ความรู้กับชุมชนพื้นที่เสี่ยงเขตหมู่ที่ 3 , 6
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 30คน x 1 มื้อ x 2 วัน        = 1,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆละ 50 บาท. X 2 วัน = 3,000บาท -ค่าวิทยากร 5 ชม.ๆละ300 x 2วัน          = 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 7,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2021 ถึง 30 กันยายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชุมชนในพื้นที่มีความรู้เกี่ยวโรคติดต่อที่เป็นปัญหาในพื้นที่อำเภอกาบัง และมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสเปรย์ไล่ยุง  ขนาด 600 มล 40 กระป๋องๆ 100 บ  = 4,000 บาท
  • ค่าทรายอะเบท จำนวน 2 ถังๆ ละ 6800 บาท    = 13,600 บาท -ค่ายาทากันยุง ขนาด 8 มล. จำนวน 1,120 ซองๆ 5 บ. = 5,600 บาท รวมเป็นเงิน 23,200   บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2021 ถึง 30 กันยายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23200.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมพ่นหมอกควันในสถานที่ราชการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพ่นหมอกควันในสถานที่ราชการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการพ่นหมอกควัน 4 แห่ง/2 ครั้ง - เบนซิน 18 ลิตร x 29 บาท x 4 แห่งx 2 ครั้ง = 4,176 บาท -ดีเซล 20ลิตร x 19 บ. X 4 แห่งx2 ครั้ง      = 3,040 บาท -ค่าตอบแทนทีมพ่น หมอกควัน คนละ 300 บ. X 3 คน x 4 แห่งๆ ละ 2 ครั้ง = 7,200 บาท -ค่าตอบแทนทีมพ่นสารเคมี คนละ 300 บ. X 5 คน x 4 แห่งๆ ละ 1  ครั้ง = 6,000 บาท รวมเป็นเงิน 20,416   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2021 ถึง 30 กันยายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20416.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 56,366.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดความร่วมมือทุกภาคีเครือข่ายต่อการเฝ้าระวังโรคติดต่อ
2. ทีม SRRT มีความพร้อมสามารถดำเนินการเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ทุกภาคีเครือข่ายในพื้นที่มีความรู้วิชาการที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ


>