กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดีเริ่มที่อาหารปลอดภัย ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 6 บ้านน้ำขาวใน

1. นางอาภรณ์ ปิยะรัตน์
2. นางละอองหนูสุข
3. นางเบญจพร แก้วประดับ
4. นางละเอียด แก้วศรีเพชร
5. นางจำเนียร แก้วคง

หมู่ที่ 1บ้านเกาะแค,หมู่ที่ 3บ้านออกวัด , หมู่ที่ 5 บ้านน้ำขาวกลาง , หมู่ที่ 6 บ้านน้ำขาวใน , หมู่ที่ 9 บ้านต้นเหรียง และ หมู่ที่ 10 บ้านนาดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนร้านขายของชำ

 

20.00
2 จำนวนแผงลอยจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ

 

7.00
3 จำนวนแผงลอยจำหน่ายอาหารสด

 

1.00
4 จำนวนรถเร่ขายของสดในชุมชน

 

1.00
5 จำนวนตลาดสด

 

2.00

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่นยาผสมสารสเตียรอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยมีปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ การให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำ , แผงลอยจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ , แผงลอยจำหน่ายอาหารสด ผู้ประกอบการตลาดสด เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร ยา และเครื่องสำอางค์
  1. ร้อยละ 100 ของผู้ประกอบการร้านชำ , แผงลอยจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ , แผงลอยจำหน่ายอาหารสด และ ตลาดสดเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร ยา และเครื่องสำอางค์
30.00 30.00
2 เพื่อพัฒนาร้านขายของชำ และแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพ

1.ร้อยละ 80 ของร้านชำ และแผงจำหน่ายอาหารในพื้นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้านชำและสุขาภิบาลอาหาร

28.00 23.00
3 เพื่อพัฒนาเครือข่ายงานคุ้มครองผุ้บริโภค ในชุมชน และ โรงเรียน
  1. อบรม อย.น้อย ในโรงเรียนชุมชนวัดน้ำขาว  จำนวน  1 ครั้ง
  2. ฟื้นฟูความรู้เครื่อข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน  จำนวน 1 ครั้ง
2.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยจำหน่ายอาหาร 28

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรม อย.น้อย นักเรียนชั้น ป.4-6 ร.ร.ชุมชนวัดน้ำขาว  จำนวน 60 คน    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 60 คน x 25 บาท x 2 มื้อ  เป็นเงิน 3000 บาท    - ค่าวิทยากร  จำนวน 6 ชม.x 600 บาท  เป็นเงิน 3,600 บาท    - ค่าวัสดุในการจัดอบรม 1,500 บาท 2.การฟื้นฟูความรู้แก่กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 35 คน x 25 บาท x 1 มื้อ  เป็นเงิน 875 บาท    - ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชม.x 600 บาท  เป็นเงิน 1800 บาท    - ค่าวัสดุอื่นๆ เป็นเงิน 875 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เครือข่ายคุมครองผู้บริโภคมีความรู้ สามารถนำความรู้ไปใช้ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11650.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมร้านชำและแผงลอยสู่ร้านชำติดดาวและแผงลอยคุณภาพ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมร้านชำและแผงลอยสู่ร้านชำติดดาวและแผงลอยคุณภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคร่วมตรวจเยี่ยมร้านชำ และ แผงจำหน่ายอาหาร พร้อมทั้งให้คำแนะนำเพื่อพัฒนาร้าน/แผงลอยตามเกณฑ์มาตรฐาน  จำนวน 2 ครั้ง    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับเครือข่ายที่ออกปฏิบัติงาน   จำนวน 35 คน x 25 บาท x 2 ครั้ง  เป็นเงิน  1750 บาท    - ค่าเอกสารและสื่อสุขศึกษา  เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ของร้านชำและแผงลอย ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,900.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้านขายของชำผ่านเกณฑ์ร้านชำติดดาว
2.แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร
3.อาหารสดไม่พบสารปรเปื้อนตกค้าง


>