กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการห่วงใย ใส่ใจ แก้ปัญหาเพื่อลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย หมู่ 3 และ หมู่ 4 ตำบลสะเอะ ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการห่วงใย ใส่ใจ แก้ปัญหาเพื่อลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย หมู่ 3 และ หมู่ 4 ตำบลสะเอะ ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ

กลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกรงปินัง

นางสาวมารีแย สะอะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางสาวฮาสนะห์ เลาะยะผาพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางสารีหพ๊ะหะยีมอพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางปฏิมา บาระตายะ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

หมู่ 3 และ หมู่ 4 ตำบลสะเอะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดไม่เกินร้อยละ 10

 

10.00
2 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ไม่มาฝากครรภ์ตามนัด ได้รับการติดตาม

 

100.00
3 อัตราตายของมารดา

 

0.00

การแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่ มีการดำเนินงานต่อเนื่องเพื่อพัฒนาระบบการดูแลก่อนคลอดและหลังคลอดที่ได้มาตรฐานตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดและตามความต้องการของผู้รับบริการ งานบริการฝากครรภ์ได้มีการพัฒนาแนวทางการดูแลแม่และเด็กแบบครบวงจรในบริบทพื้นที่มุสลิมดูแลแม่และเด็ก ก่อนคลอด คลอดและหลังคลอดในชุมชนด้วยใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและบุตรในเชิงบวกแม่และเด็กมีสุขภาพดี ปรับบทบาทความสัมพันธ์ใหม่ในการดำเนินงานร่วมกับผดบ. ดำรงไว้ซึ่งความมีคุณค่าและศักดิ์ศรีของผดบ. โดยปรับเปลี่ยนบทบาทจากการทำคลอดมาดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็กร่วมกับเจ้าหน้าที่อย่างเต็มภาคภูมิ ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ดีสู่การปฏิบัติร่วมกัน ลดภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ ให้ได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจแบบองค์รวมและผสมผสาน ตอบสนองความต้องการของประชาชน และแก้ปัญหางานอนามัยอย่างแท้จริง
การลดอัตรามารดาเสียชีวิต เน้นการเข้าถึงสถานบริการของหญิงตั้งครรภ์ การคัดกรองเพื่อประเมินความเสี่ยง 21 ข้อ การประเมินภาวะเสี่ยง 5 โรค และการให้ความรู้ภาวะเสี่ยงต่อหญิงตั้งครรภ์ การพัฒนาเชิงรุกโดยการสำรวจหาสตรีตั้งครรภ์ในชุมชน การให้บริการเชิงรุกในชุมชนโดยให้คำแนะนำเกี่ยวการฝากครรภ์โดยอาสาสมัครสาธารณสุขของชุมชนจากสถานการณ์มารดาเสียชีวิติ พบว่ามีอัตราการตายของมารดา ปี 2563 ประเทศ 85 ราย MMR=22.57 เขตสุขภาพที่ 12 มารดาตาย 16 ราย MMR=29.11 จังหวัดยะลาปี2560-2563 เท่ากับ 30.97, 35.01,47.89,76.39 ต่อการเกิดมีชีพแสนปีงบประมาณ 2563 จังหวัดยะลามีอัตรามารดาเสียชีวิต จำนวน 7 ราย สำหรับพื้นที่อำเภอกรงปินัง มีมารดาเสียชีวิต จำนวน 2 ราย คิดเป็น 723.93 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน จากข้อมูลเบื้องต้นของมารดาที่เสียชีวิต ได้แก่ มีประวัติ PIH จากครรภ์เดิมมารดาตั้งครรภ์มากกว่าครั้งที่ 4 ขึ้นไป อายุขณะตั้งครรภ์มากกว่า 35 ปี มีประวัติการใช้สารเสพติด มีประวัติการตั้งครรภ์เสี่ยง ซึ่งเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ สถานที่เสียชีวิต มารดาทั้ง 2 รายเสียชีวิตที่บ้าน ปัญหาจากการวิเคราะห์สาเหตุด้านกระบวนการดูแลผู้ป่วย พบว่าการเข้าถึงบริการของหญิงตั้งครรภ์
เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกรงปินัง โดยกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกรงปินัง เน้นการบริการเชิงรับในสถานบริการและบริการเชิงรุกในชุมชน โดยพยาบาลวิชาชีพหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีความรู้และทักษะในการการประเมินความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ มีการทบทวน ปรึกษาเพื่อดูแลสตรีมีครรภ์ที่มีความเสี่ยงโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสถานบริการ และระบบการส่งต่อ เน้นการเพิ่ม/ฟื้นฟูความรู้ และเสริมทักษะในการประเมินความเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์ในงานบริการฝากครรภ์งานห้องคลอด ทบทวนระบบการส่งต่อ ทบทวนโครงสร้างงานอนามัยแม่และเด็กเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ วิเคราะห์ข้อมูลและติดตามงานอย่างต่อเนื่องและคืนข้อมูลสู่ชุมชนเพื่อสร้างความตระหนักและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน

ภาคีเครือข่ายเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80

80.00 1.00
2 เพื่อลดอัตราความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่อมารดาและทารกทั้งขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดเพื่อลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

หญิงตั้งครรภ์เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดไม่เกินร้อยละ 10

10.00 1.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และสามารถดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์ตลอดจนการดูแลตนเองหลังคลอดได้

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และสามารถดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์ตลอดจนการดูแลตนเองหลังคลอดได้ ร้อยละ 80

80.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ภาคีเครือข่าย /ผู้นำชุมชน 55

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดเวทีประชาคมสำหรับแกนนำสุขภาพ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เครือข่ายท้องถิ่น เกี่ยวกับการปัญหาสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์พื้นที่ตำบลสะเอะ เพื่อสร้างความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง การติดตามหญิงตั้งครรภ์ไม่มาฝากครรภ์ตามนัด การเยี่ยมมารด

ชื่อกิจกรรม
1.จัดเวทีประชาคมสำหรับแกนนำสุขภาพ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เครือข่ายท้องถิ่น เกี่ยวกับการปัญหาสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์พื้นที่ตำบลสะเอะ เพื่อสร้างความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง การติดตามหญิงตั้งครรภ์ไม่มาฝากครรภ์ตามนัด การเยี่ยมมารด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเวทีประชาคมสำหรับแกนนำสุขภาพ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เครือข่ายท้องถิ่น เกี่ยวกับการปัญหาสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์พื้นที่ตำบลสะเอะ เพื่อสร้างความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง การติดตามหญิงตั้งครรภ์ไม่มาฝากครรภ์ตามนัด การเยี่ยมมารดาและทารกหลังคลอด จำนวน 30 คน งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน x 60 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 1,800บาท - ค่าอาหารว่าง จำนวน 30 คน x 20 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 1,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสุขภาพเข้าใจปัญหา และตระหนักถึงการดูแลสุขภาพในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 2 2 จัดอบรมเตรียมความพร้อมให้กับแกนนำสุขภาพ ผดุงครรภ์โบราณ FR อสม.ในการดูแลและส่งต่อหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด จำนวน 25 คน

ชื่อกิจกรรม
2 จัดอบรมเตรียมความพร้อมให้กับแกนนำสุขภาพ ผดุงครรภ์โบราณ FR อสม.ในการดูแลและส่งต่อหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด จำนวน 25 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเตรียมความพร้อมให้กับแกนนำสุขภาพ ผดุงครรภ์โบราณ FR อสม.ในการดูแลและส่งต่อหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด จำนวน 25 คน งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 25 คน xบาท x 1 มื้อเป็นเงิน 1,500บาท - ค่าอาหารว่าง จำนวน 25 คน x 20 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 1,000บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน x 6 ชั่วโมง x 300 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 1,800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

FR ผดุงครรภ์โบราณ มีความรู้ในการส่งต่อหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดในภาวะฉุกเฉินได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4300.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และผู้ดูแล มารดาหลังคลอดและแกนนำสุขภาพ จำนวน 40 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และผู้ดูแล มารดาหลังคลอดและแกนนำสุขภาพ จำนวน 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และผู้ดูแล มารดาหลังคลอดและแกนนำสุขภาพ จำนวน 40 คน งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน x 60 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 2,400บาท - ค่าอาหารว่าง จำนวน 40 คน x 20 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 1,600บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน x 6 ชั่วโมง x 300 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 1,800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลตนเองหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
2. แกนนำสุขภาพ FR ผดุงครรภ์โบราณ และอสม. ในพื้นที่ มีความรู้ และสามารถให้คำแนะนำการดูแลตนเองเบื้องต้นให้กับประชาชนได้
3.อัตรามารดาเสียชีวิตลดลง, อัตรา BA LBW ลดลง


>