กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

พลัง อสม. ร่วมใจช่วยกันทำบ้านปลอดบุหรี่ เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พลัง อสม. ร่วมใจช่วยกันทำบ้านปลอดบุหรี่ เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสูบบุหรี่สร้างผลกระทบต่อระบบการหายใจหลายระบบด้วยกัน เรียกได้ว่าเป็นอันตรายระดับรุนแรงต่อ “ปอด” เมื่อสูบบุหรี่จะเกิดผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจส่วนต้นทั้งหมด ตั้งแต่ จมูก คอหอย หลอดลม คอ ไปจนถึงระบบการหายใจในทรวงอก ทางเดินหายใจส่วนปลาย และลงลึกไปที่ปอด และการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งปอดและการเสียชีวิตมากกว่าสองในสามของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดทั่วโลก การสัมผัสควันบุหรี่มือสองที่บ้านหรือในที่ทำงานยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด การเลิกสูบบุหรี่สามารถลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดได้ การเลิกบุหรี่นาน 10 ปี ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอดลงได้ถึงประมาณครึ่งหนึ่งของผู้สูบบุหรี่ ทารกที่ได้รับสารพิษจากควันบุหรี่มือสองอันเกิดจากการสูบของมารดาในขณะตั้งครรภ์ เด็กเล็กที่สัมผัสกับควันบุหรี่มือสองมีความเสี่ยงต่อการเกิดและการกำเริบของโรคหอบหืด โรคปอดบวม โรคหลอดลมอักเสบ และการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง ทั่วโลกมีเด็กประมาณ 165,000 คน เสียชีวิตก่อนอายุ 5 ขวบ อันเกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างที่เกิดจากควันบุหรี่มือสอง วัยผู้ใหญ่ยังคงได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง เนื่องจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างในวัยเด็กซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญ
พบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าสู่วงจรการสูบบุหรี่สูงถึง 400,000 คน ซึ่งใน 10 คนที่สูบบุหรี่ 7 คน จะเลิกไม่ได้ตลอดชีวิต และ 3 คน จะติดการสูบบุหรี่เฉลี่ย 20 ปี ถึงจะเลิกได้ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของ ผู้สูบและคนใกล้ชิด และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย แรงและการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก 6 ล้านคนต่อปี จำแนกเป็นผู้สูบกว่า 5 ล้านคน และผู้เสียชีวิตจากควัน บุหรี่มือสอง 6 แสนคน คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2573 จะ มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคน (World Health Organization, 2015) ผู้สูบบุหรี่มีอายุสั้นลงเฉลี่ย 12 ปี อาจจะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ถึง 20 เท่า และอาจเจ็บป่วยรุนแรงก่อนเสียชีวิต 2 ปี (ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, ปานทิพย์ โชติเบญจมาภรณ์ และปวีณา ปั้นกระจ่าง, 2559) ในประเทศไทย จำนวนผู้เสียชีวิตจาก โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ เฉลี่ยวันละ 142 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2557) การเสียชีวิตสร้าง ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เป็นภาระรายจ่ายด้านสุขภาพ ของประเทศถึง ร้อยละ 0.78 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศแห่งชาติ (Bundhamcharoen, Aungkulanon, Makka, & Shibuya, 2016)
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะเล็งเห็นถึงปัญหาการสูบบุหรี่ซึ่งยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก สมควรที่จะต้องดำเนินการแก้ไข จึงได้จัดทำโครงการขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและการปฏิบัติในการควบคุมยาสูบ บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตอันดับต้นของคนไทยที่สามารถป้องกันได้โดยการช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบและป้องกันหรือลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ให้ห่างไกลจากการสูบบุหรี่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์และช่วยให้สมาชิกในชุมชนเลิกบุหรี่ได้

อัตราความชุกของผู้สูบบุหรี่ของประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป (น้อยกว่า)

18.00 0.00
2 เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในชุมชน

ร้อยละของผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในชุมชนลดลง

10.00 0.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายเฝ้าระวัง ควบคุมการบริโภคยาสูบในชุมชน

ร้อยละของเครือข่ายเฝ้าระวัง ควบคุมการบริโภคยาสูบในชุมชน จำนวน 4 เครือข่าย

100.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/04/2021

กำหนดเสร็จ 15/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากพิษภัยของบุหรี่ ให้กำลังใจ และคำแนะนำในการเลิกสูบบุหรี่ หรือเข้าระบบการบำบัด เพื่อการเลิกสูบบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากพิษภัยของบุหรี่ ให้กำลังใจ และคำแนะนำในการเลิกสูบบุหรี่ หรือเข้าระบบการบำบัด เพื่อการเลิกสูบบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆ 25 บ. 100 คน เป็นเงิน 2,500 บ. 2.ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 600 บ. เป็นเงิน 1,800 บาท 3.ค่าไวนิล เป็นเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 เมษายน 2564 ถึง 8 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามการเลิกสูบบุหรี่ต่อเนื่อง 1 เดือน 3เดือน และ 6 เดือน โดยไม่กลับมาสูบบุหรี่อีก

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการเลิกสูบบุหรี่ต่อเนื่อง 1 เดือน 3เดือน และ 6 เดือน โดยไม่กลับมาสูบบุหรี่อีก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 เมษายน 2564 ถึง 15 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อร่วมดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบในหมู่บ้าน/ชุมชน
2. ผู้ที่สูบบุหรี่มีการลดจำนวนการสูบบุหรี่ลดลง
3. ชุมชนในเขตตำบลช้างเผือก เป็นชุมชนที่ห่างไกลจากโรคภัยที่มาจากการสูบบุหรี่


>