กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ใจแลกใจฉีดวัคซีน (ฮาลาล ) ครบชุดตามเกณฑ์ ในเด็กอายุ 0– 5 ปี หมู่ที่ 3 5 6 7 ตำบลช้างเผือก ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างเผือก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์ซือเร๊ะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นกลวิธีในการป้องกันควบคุมโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด ประเทศไทยได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตั้งแต่ ปี 2520 เป็นต้นมา โดยผสมผสานการดำเนินงานเข้ากับงานบริการสาธารณสุขตามปกติ และพัฒนาเร่งรัด การดำเนินงานด้วยวิธีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายและชนิดของวัคซีนให้มากขึ้น มีการปรับปรุงระบบการกระจายวัคซีนและบริหารจัดการแก่ผู้มารับวัคซีน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพดีและครอบคลุมอย่างทั่วถึง มีกลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน กลุ่มเด็กวัยเรียน และหญิงตั้งครรภ์ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาประเทศไทยประสบความสำเร็จในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเป็นอย่างมาก กล่าวคือ การครอบคลุมการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบชุดครบถ้วนในเด็กต่ำกว่า 1 ปี และในภาพรวมของประเทศอยู่ในระดับเกินกว่าร้อยละ 90 ส่งผลกระทบให้สามารถลดอัตราป่วย อัตราตาย ในโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักในเด็กแรกเกิด และหัดลงได้มากกว่าร้อยละ 90 เมื่อเปรียบเทียบกับระยะก่อนดำเนินการ ที่สำคัญไม่พบผู้ป่วยโปลิโอมาเป็นเวลากว่า 15 ปี ด้วยสภาพการณ์ปัจจุบันภายหลังจากที่มีการปฏิรูประบบสาธารณสุข ทำให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กรและหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคมีการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหลายด้านซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังกล่าวล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพการให้บริการวัคซีนเป็นอย่างมาก
จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่า ในเขตตำบลช้างเผือก เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ ร้อยละ 85.38 (เกณฑ์ร้อยละ 90) ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ ไม่ผ่านตามมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนด จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ทุกคน เพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวต่อไปอนาคต
ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือกจึงอาศัยอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ มาตรา 67 (3) การป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ รวมทั้งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มาตรา 16 กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (10) การสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส และ (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล และแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2543 กำหนดให้ภารกิจด้านการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส การจัดสวัสดิการสังคม เป็นภารกิจที่ต้องถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาจเลือกทำตามอำนาจหน้าที่ ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นหลักประกันด้านพื้นฐานของการบริการสาธารณะของรัฐ และมีภารกิจเกี่ยวกับการให้บริการสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ จึงจัดทำโครงการรณรงค์ให้บริการฉีดวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ ในเด็ก 0 – 5 ปี ตำบลช้างเผือกขึ้น เพื่อรณรงค์การรับบริการฉีดวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ในเด็กอายุ 0 – 5 ปี และเพื่อให้การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสามารถคงรักษาระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดทุกคน

อัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน

90.00 0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้และตระหนักในการรับวัคซีน เด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้และตระหนักในการรับวัคซีของบุตร

100.00 0.00
3 เพื่อยับยั้ง และป้องกันการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง

100.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 44
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 56
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 15/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี แก่ผู้ปกครองเด็ก และอาสาสมัครสาธารณสุขก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาดังนี้ -อาการที่อาจเกิดหลังจากการฉีกวัคซีน
    -วัคซีนที่ควรได้รับตามอายุ
    -โรคที่เกิดจากการไม่ได้รับวัคซีน

งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 25 บาท 100 คน เป็นเงิน 2,500 บาท 2.ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 3.ค่าไวนิลเป็นเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 1 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มารับวัคซีนตามที่นัด

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มารับวัคซีนตามที่นัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2564 ถึง 15 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญการป้องกันโรคด้วยวัคซีนและเข้าใจ ถึงความจำเป็นที่บุตรต้องรับวัคซีนตามรัฐกำหนด และเด็กอายุ 0 -5 ปี (ตามกลุ่มเป้าหมาย) ในพื้นที่ทุกคนได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์และป้องกันการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน


>