กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ (โรคไวรัสโคโรนา COVID-19) ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลาโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ (โรคไวรัสโคโรนา COVID-19) ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลาโละ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลลาโละ

1.นายอับดุลเลาะห์ ยีมะยี
2.นายอับดุลฮามิด ลาฮ่า
3.นายแวสะมะแอ แวอาลี
4นางสาวมารีณี ยีดิง
5.นางซะรอสียา สะนิ

ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จังหวัดนราธิวาส

 

64.00
2 จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) อำเภอรือเสาะ

 

8.00

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลก ณ วันที่ 15 มีนาคม 2564 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 120,393,530 ราย เสียชีวิต 2,664,539 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อทั้งหมด 22,005 ราย เสียชีวิต 87 ราย และปัจจุบันยังพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) อย่างต่อเนื่อง
จังหวัดนราธิวาส ได้รับรายงานพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทั้งหมด จำนวน 64 ราย ผู้ป่วยกำลังรักษาในโรงพยาบาล 10 ราย ผู้ป่วยรักษาหาย 52 ราย เสียชีวิต 2 รายอำเภอรือเสาะ พบผู้ป่วยติดเชื้อ 8 ราย ในส่วนตำบลลาโละ พบผู้ป่วยติดเชื้อ 1 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศ และปัจจุบันมีมีผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง อย่างต่อเนื่อง
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ตำบลลาโละ จึงเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และ การใช้ชีวิตแบบ New Normal (D-M-H-T-T)

ร้อยละของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และ การใช้ชีวิตแบบ New Normal (D-M-H-T-T)

80.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

ร้อยละของชุมชนมีทรัพยากรเพียงในการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 9,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ให้กับ อสม.และแกนนำสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ให้กับ อสม.และแกนนำสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2564 ถึง 29 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และ การใช้ชีวิตแบบ New Normal (D-M-H-T-T) และฝึกการใช้เครื่องวัดไข้อัตโนมัติแบบไม่สัมผัส

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และ การใช้ชีวิตแบบ New Normal (D-M-H-T-T) และฝึกการใช้เครื่องวัดไข้อัตโนมัติแบบไม่สัมผัส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คนๆ ละ 2 ชั่วโมงๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มีนาคม 2564 ถึง 30 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าเครื่องวัดไข้อัตโนมัติแบบไม่สัมผัส จำนวน 21 เครื่องๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน  52,500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มีนาคม 2564 ถึง 9 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52500.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 57,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาติดต่อได้
2. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาติดต่อ
3. ชุมชนมีทรัพยากรอย่างเพียงพอในการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ


>