แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน รหัส กปท. L5314
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. นางเพ็ญศรีตูแวมะผู้ประสานงาน คนที่ 1
2. นายเสรีอทิณโน ผู้ประสานงาน คนที่ 2
3. นางยูรีตา ดุลยาภรณ์
4. นางสาวมูนีเร๊าะ หมาดง๊ะ
5. นางสาวนุสรีหนา จิตหลัง
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมากขึ้นทุกวันนี้ส่วนหนึ่งมาจาก ขยะซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของชุมชนที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน อาทิ เป็นแหล่งอาหาร และแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหนะนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ยุง ฯลฯ เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค มีกลิ่นเหม็น ก่อให้เกิดความรำคาญ ทำลายสุนทรียภาพด้านสิ่งแวดล้อม เกิดสภาพไม่น่าดู สกปรกน่ารังเกียจ ขยะทำให้น้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก เกิดกลิ่นรบกวน เป็นแหล่งสะสม เชื้อโรค ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน พระราชบัญญัติการสาธารณสุข ให้ความหมายว่า ขยะมูลฝอย คือ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหาร มูลสัตว์ เถ้าหรือซากสัตว์ รวมถึงสิ่งอื่นสิ่งใดที่เก็บกวาดจากถนนตลาดที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น ๆ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้ให้ความหมายแก่ขยะมูลฝอยไว้ว่าคือสิ่งของจากบ้านเรือนที่ประชาชนไม่ต้องการแล้ว มีผู้นำไปใช้ประโยชน์จนสุดท้ายไม่มีผู้นำไปใช้ประโยชน์แล้ว และถูกทิ้งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปกำจัด จัดเก็บ และขนส่งนั่นหมายความว่า สิ่งของที่เราทิ้งจากที่บ้านถ้ายังมีคนนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ สิ่งนั้นจะยังไม่ใช่ขยะจากความหมายดังกล่าวได้รับการตอกย้ำที่ได้เห็นคุณค่าจากขยะดังเช่น “พอเพียง = enough” ขยะ คือ ทรัพยากร” การใช้ทรัพยากรอย่างพอดีเห็นคุณค่าบวกกับการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านบวกกับวัสดุเหลือใช้ที่มีรอบบ้านเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาขยะพร้อมทั้งได้เห็นความสำคัญของปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย จึงได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหา ขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ โดยให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้บูรณาการแผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด และจัดทำเป็นแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศ โดยทางจังหวัดสตูลได้มีแนวทางปฏิบัติ วาระ 5 ส. เมืองสตูลน่าอยู่ น่าเยือน อย่างยั่งยืน ได้แก่ สตูล...สะอาด สะดวก สบาย สร้างสุข และสามัคคี ภายใต้นโยบายของรัฐบาลที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และนำพาจังหวัดสตูลไปสู่ "ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน" ต่อไป ในปัจจุบันซึ่งอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีปริมาณขยะพลาสติกปนเปื้อนเพิ่มขึ้นจากช่วงสถานการณ์ปกติ อาจมีสาเหตุมาจากมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อเพื่อชาติ (Work from home) มีการเพิ่มขึ้นของขยะพลาสติกในประเทศไทย ปี 2563 ประมาน 1.32 ล้านตัน หรือร้อยละ 62 ในบางพื้นที่ที่มีการจัดการขยะไม่เหมาะสมจนกลายเป็นปัญหามลภาวะ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ เชื้อโรคและแพร่สารพิษที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพแก่ประชาชน รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและ ตระหนักดีถึงการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งทำให้สังคมไทยต้องปรับเปลี่ยนชีวิตให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการให้มีความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้เรียน ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
-
1. เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษามีความรู้ มีจิตสำนึกและมีความตระหนักในการจัดการขยะมูลฝอยและสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชนในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งที่ยั่งยืนตัวชี้วัด : 1.โรงเรียนมีความสะอาดปลอดขยะและมีสิ่งแวดล้อมที่ดีภายในโรงเรียนร้อยละ 100ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตระหนักถึงความสำคัญของการของการลดการคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันรวมทั้งให้ความร่วมมือในกิจกรรมจากโครงการโรงเรียนปลอดขยะที่โรงเรียนจัดทำขึ้นตัวชี้วัด : 1. นักเรียน และบุคลากรโรงเรียนบ้านบุโบย ร้อยละ 100ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการของการลดการคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันรวมทั้งให้ความร่วมมือในกิจกรรมจากโครงการโรงเรียนปลอดขยะที่โรงเรียนจัดทำขึ้นขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. เพื่อให้นักเรียน บุคลากร และแม่ครัวในโรงเรียนมีความตระหนัก ถึงความสำคัญและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID – 19)ตัวชี้วัด : 1. นักเรียน และบุคลากรโรงเรียนบ้านบุโบย ร้อยละ 100 ได้รับการบริการการเฝ้าระวังและการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา(COVID-19) ในโรงเรียนขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. โรงเรียนปลอดขยะรายละเอียด
1.1 กิจกรรมย่อย: การให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องขยะและพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของเด็ก แก่ครู นักเรียน และแม่ครัว
เป้าหมายนักเรียน และบุคลากร และแม่ครัวโรงเรียนบ้านบุโบยจำนวน182คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในโรงเรียน และแนวปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของเด็ก แก่ครู นักเรียน และแม่ครัว
งบประมาณ
1 . ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 300 บาท
2 . ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับวิทยากร จำนวน 182 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท (182คน x 1มื้อ x 25 บาท) เป็นเงิน 4,550 บาท
3 . ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.20 x 2.40เมตร เป็นเงิน 500 บาท
4 .ค่าวัสดุ เป็นจำนวนเงิน 512 บาท
รวมเป็นเงิน= 5,862บาท
1.2 กิจกรรมย่อย: แยกขยะจากห้องเรียน
เป้าหมาย นักเรียน และบุคลากร และแม่ครัวโรงเรียนบ้านบุโบย จำนวน182คน
รายละเอียดกิจกรรม
คัดแยกขยะกระดาษ
คัดแยกขยะพลาสติก
คัดแยกขยะทั่วไป
คัดแยกขยะอันตราย
ไม่ขอใช้งบประมาณ
1.3 กิจกรรมย่อย :การลด การใช้ซ้ำ และคัดแยกนำกลับมาใช้ประโยชน์ (3Rs)
เป้าหมาย นักเรียน และบุคลากร และแม่ครัวโรงเรียนบ้านบุโบย จำนวน182คน
รายละเอียดกิจกรรม
Big Cleaning Day ภายในโรงเรียน
การใช้แก้วน้ำส่วนตัว
การใช้ปิ่นโตใส่อาหารแทนถุงพลาสติกและโฟม
ปิดไฟทุกครั้งที่ไม่ใช้งานและเปิดเฉพาะจุดที่ใช้
ปิดคอมพิวเตอร์และพัดลมเมื่อไม่ใช้งาน
งบประมาณ
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานBig Cleaning Day ภายในโรงเรียน (เดือนละ 2 ครั้ง) เป็นจำนวนเงิน 700 บาท
งบประมาณ 6,562.00 บาท - 2. กิจกรรม New normal schoolรายละเอียด
2.1 กิจกรรมย่อย คัดเลือกนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพวิถีใหม่
เป้าหมาย นักเรียน และบุคลากร และแม่ครัวโรงเรียนบ้านบุโบย จำนวน182คน
รายละเอียดกิจกรรม
1) รับสมัครนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพวิถีใหม่
2) คัดเลือกนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพวิถีใหม่
3) แต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพวิถีใหม่
ไม่ชอใช้งบประมาณ
2.2กิจกรรมย่อย จัดกิจกรรมทางกายเพื่อการเรียนรู้
เป้าหมายนักเรียน และบุคลากรโรงเรียนบ้านบุโบย จำนวน181คน
รายละเอียดกิจกรรม
1) นักเรียนออกกำลังกายยามเช้า
ไม่ชอใช้งบประมาณ
2.3กิจกรรมย่อย เรียนรู้แบบNew Normal
เป้าหมาย นักเรียน และบุคลากร และแม่ครัวโรงเรียนบ้านบุโบย จำนวน182คน
รายละเอียดกิจกรรม 1) จัดทำมาตรการความปลอดภัยการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19)ในโรงเรียน
2) จัดจุดคัดกรอง นักเรียน ครู บุคลากร ผู้ปกครองและผู้มาติดต่อราชการกับโรงเรียน
3) จัดจุดบริการล้างมือ
4) จัดทำจุดเว้นระยะห่างให้ครอบคลุมพื้นที่โรงเรียน
5) จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19)
6) จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ และแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19)
งบประมาณ
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานกิจกรรมเรียนรู้แบบ New Normal เป็นจำนวนเงิน 800 บาท
งบประมาณ 800.00 บาท - 3. รายงานโครงการรายละเอียด
3.1 กิจกรรมย่อยรายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม
1) จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ
2) จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
งบประมาณ
- ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 2 เล่ม เล่มละ 200 บาท เป็นเงิน 400 บาท
งบประมาณ 400.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ตำบลแหลมสน
รวมงบประมาณโครงการ 7,762.00 บาท
นักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษามีความรู้ มีจิตสำนึกและมีความตระหนักในการจัดการขยะมูลฝอยและสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชนในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งที่ยั่งยืน
นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตระหนักถึงความสำคัญของการของการลดการคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันรวมทั้งให้ความร่วมมือในกิจกรรมจากโครงการโรงเรียนปลอดขยะที่โรงเรียนจัดทำขึ้น
นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนมีความตระหนัก ถึงความสำคัญและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID – 19)
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน รหัส กปท. L5314
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน รหัส กปท. L5314
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................