กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนปลอดขยะ ใส่ใจสุขภาพตามแนวทางวิถีใหม่ (New Narmal)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

โรงเรียนบ้านสนกลาง

1. นายตอเหลบปอหรา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสนกลางผู้ประสานงานคนที่ 1

2. นายอับดนหาดีอะละมาด ครูโรงเรียนบ้านสนกลางผู้ประสานงานคนที่ 2

3. นางพนิดาเฉลิมพิพัฒน์ครู โรงเรียนบ้านสนกลาง

4. น.ส.สรัลรัตน์ขาวหิรัญครู โรงเรียนบ้านสนกลาง

5. นายอิสมาแอนละใบจิ ครู โรงเรียนบ้านสนกลาง

ตำบลแหลมสน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมส่วนหนึ่งมาจาก ขยะ ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของชุมชนและโรงเรียนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนและโรงเรียน อาทิเช่น เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรคเช่นแมลงวันแมลงสาบยุงฯลฯเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคมีกลิ่นเหม็นก่อให้เกิดความรำคาญทำลายสุนทรียภาพด้านสิ่งแวดล้อมเกิดสภาพไม่น่าดูสกปรกน่ารังเกียจขยะทำให้น้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมากเกิดกลิ่นรบกวนเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของนักเรียน บุคลากรในสถานศึกษา และประชาชน

พระราชบัญญัติการสาธารณสุขให้ความหมายว่าขยะมูลฝอยคือเศษกระดาษเศษผ้าเศษอาหารเศษสินค้าถุงพลาสติกภาชนะใส่อาหารมูลสัตว์เถ้าหรือซากสัตว์รวมถึงสิ่งอื่นสิ่งใดที่เก็บกวาดจากถนนตลาดที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่นๆ

ปัญหาขยะของโรงเรียนบ้านสนกลาง จากการเก็บข้อมูล พบว่าโดยภาพรวมเกิดจากนักเรียนและคนในชุมชนยังขาดความตระหนักและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะ ซึ่งขยะในโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นขยะพวกถุงพลาสติก แก้วน้ำพลาสติก กระดาษ ขวดน้ำพลาสติกมักเกิดจากช่วงหลังพักเที่ยง และหลังเลิกเรียนเพราะนักเรียนและคนในชุมชนเข้ามาออกกำลังกายและทำกิจกรรมต่างๆในโรงเรียน ซึ่งไม่ได้นำไปทิ้งในถังขยะที่เตรียมไว้ โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งในการปูพื้นฐาน และปลูกฝังให้นักเรียน มีจิตสำนึกมีจิตสาธารณะรักและหวงแหนธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของตนเอง รู้จักการคัดแยกขยะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ต่อชุมชน เพื่อประสานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน และในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการให้มีความปลอดภัย ทั้งนี้นักเรียนและผู้ปกครองของนักเรียนบางส่วนยังไม่ตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ตระหนักใส่ใจในเรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการปฏิบัติตนในวิถีชีวิตประจำวัน

นอกจากนี้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559-2564) ตามนโยบายของรัฐบาลในการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึก และรณรงค์การคัดแยกขยะประเภทขยะมูลฝอยที่ต้นทางให้แก่นักเรียนและเยาวชนในโรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่งในสังกัด

จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทางโรงเรียนบ้านสนกลาง ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กมีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น105คนเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าวจึงจัดทำโครงการ “โรงเรียนปลอดขยะใส่ใจสุขภาพตามแนวทางวิถีใหม่(New Normal)” ขึ้น ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกจิตสำนึกการลดคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในโรงเรียนการรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้องสร้างระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ขึ้น ซึ่งการเสริมสร้างสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน ทั้งนี้ตระหนักให้ความสำคัญของการเสริมสร้างสุขภาพของนักเรียนอันจะส่งผลโดยตรงต่อนักเรียนให้มีสุขภาพที่แข็งแรง โดยบูรณาการการเรียนรู้วิธีการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา(Covid-19)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนครูบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะการลดขยะและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
  1. ร้อยละ 100 ของนักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะการลดขยะและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

2.ร้อยละ 100 ของนักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา สามารถคัดแยกขยะลดขยะและสามารถนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้

0.00
2 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) และการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)
  1. ร้อยละ 90 ของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) และการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

  2. ร้อยละ 100 ของนักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ได้รับการคัดกรองเฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป้าหมายนักเรียนโรงเรียนบ้านสนกลางทุกคน จำนวน 105 คนครู บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 12 คนรวมทั้งสิ้น 117 คน

รายละเอียดกิจกรรม

1.1อบรมให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การจัดการขยะในโรงเรียน สู่บ้าน และชุมชนตามแนวทางวิถีใหม่(New Normal)

1.2 คัดแยกขยะ

1.3ทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากใบไม้ หญ้า เศษไม้ เศษอาหาร (นำขยะกลับมาใช้ใหม่)

1.4ลดขยะพลาสติก การใช้ปิ่นโตแทนถุงพลาสติก (การใช้ซ้ำ)

1.5การใช้กระดาษสองหน้า (การใช้ซ้ำ)

งบประมาณ

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท

  • จัดทำตะแกรงเหล็ก 3 ช่อง แยกขวดแก้ว ขวดพลาสติกและกระป๋อง ขนาด 120x40x120 ซม.เป็นเงิน 4,500 บาท

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.20 x 2.40เมตร เป็นเงิน 500 บาท

รวมเงิน = 5,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การจัดการขยะในโรงเรียน สู่บ้าน และชุมชน  ตามแนวทางวิถีใหม่(New Normal)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมใส่ใจสุขภาพตามแนวทางวิถีใหม่(New Normal)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมใส่ใจสุขภาพตามแนวทางวิถีใหม่(New Normal)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป้าหมายนักเรียนโรงเรียนบ้านสนกลางทุกคน จำนวน 105 คนครู บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 12 คนรวมทั้งสิ้น 117 คน

รายละเอียดกิจกรรม

2.1จัดทำมาตรการความปลอดภัยการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19)ในโรงเรียน

2.2จัดจุดคัดกรอง นักเรียน ครู บุคลากร ผู้ปกครองและผู้มาติดต่อราชการกับโรงเรียน

2.3จัดจุดบริการล้างมือให้เพียงพอ

2.4จัดทำจุดเว้นระยะห่างให้ครอบคลุมพื้นที่โรงเรียน

2.5จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19)

2.6จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ และแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19)

งบประมาณ

  • ค่าแอลกอฮอล์เจล ขนาด 300 ml จำนวน 4 ขวดละๆ 250.-บาทเป็นเงิน 1,000 บาท

  • หน้ากากอนามัย 2 กล่อง ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

  • ค่าวัสดุสื่อ(ไวนิล)ส่งเสริมให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)เป็นเงิน200 บาท

รวมเงิน = 1,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีมาตรการความปลอดภัยการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19)ในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษามีความรู้ มีจิตสำนึกและมีความตระหนักในการจัดการขยะมูลฝอยและสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชนในการคัดแยกขยะก่อนทิ้งที่ยั่งยืน
2.นักเรียนครูและบุคลากรทางการศึกษา ตระหนักถึงความสำคัญของการของการลดการคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่และนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
3.โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นสวยงาม ปลอดขยะ และมีบรรยากาศวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้
4.นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครองได้รับการคัดกรองโรค(Covid-19) และตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตนในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา(Covid-19)


>