กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการภัยร้ายใกล้ตัว มะเร็งปากมดลูกและเต้านม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลกาบัง

โรงพยาบาลกาบัง หรือ ในหมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ 20 ของสตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามมาตรฐานที่กำหนด

 

10.00

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มอายุ 30 ปีขึ้นไป ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ สำหรับโรคมะเร็งเต้านมในสตรีไทย พบว่าสตรีทุก 16 คนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้1 คนแม้ว่ามะเร็งเต้านม ทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นสาเหตุการตายในอัตราที่สูง แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และการพยากรณ์โรคค่อนข้างดี ถ้าสามารถตรวจพบและให้การรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่ง 80 เปอร์เซ็นต์ของมะเร็งเต้านม สามารถตรวจพบได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการแนะนำให้ปฏิบัติมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก สามารถปฏิบัติได้ง่ายด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษใดๆช่วยในการตรวจ ประหยัดเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่าย จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาเมื่อระยะของโรคลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว ทั้งนี้เนื่องมาจากสตรีเหล่านี้ไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง รวมทั้งการขาดความรู้ ความเชื่อมั่น ในการตรวจเต้านม ดังนั้นกลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกาบัง จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม 2564 ขึ้นเพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมให้ได้รับการรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายหญิงอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อย ๑ ปี ๑ครั้ง

กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อย ๑ ครั้ง ต่อ ๑ ปี

10.00 20.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายหญิงอายุ ๓๐-๖๐ ปี คัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ และตรวจโดยเจ้าหน้าที่ ปีละ ๑ ครั้ง

กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน และตรวจโดยเจ้าหน้าที่อย่างน้อย    ๑ ครั้ง ต่อ ๑ ปี

10.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 83
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรม/เดินรณรงค์/ตรวจเชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรม/เดินรณรงค์/ตรวจเชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ ๑ จัดอบรมอาสาสมัครให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและสามารถคัดกรองเต้านมได้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๔๐ คน X ๒๕ บาท X ๑ มื้อ                 เป็นเงิน     ๑,๐๐๐  บาท - ค่าวิทยากร ๓ ชั่วโมง X ๓๐๐ บาท X ๑ วัน                                          เป็นเงิน       ๙๐๐  บาท กิจกรรมที่ ๒ เดินรณรงค์โดยอาสาสมัครตามหมู่บ้าน เพี่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของมะเร็ง                 เต้านมพร้อมคัดกรองและสอนการตรวจเต้านมให้กลุ่มเป้าหมายได้ -  ค่าเดินทางยานพาหนะอาสาสมัครจำนวน ๔๐ คน X ๕๐ บาท X ๑ วัน        เป็นเงิน   ๒,๐๐๐  บาท
กิจกรรมที่ ๓ กลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธ์อายุ ๓๐ – ๖๐ ปี  จำนวน ๔๓ คน ช่วงเช้า จัดอบรมให้ความรู้ ช่วงบ่าย คัดกรองมะเร็งปากมดลูก
       - ค่าอาหารกลางวัน           จำนวน  ๔๓ คน  X ๕๐ บาท X ๑ มื้อ                 เป็นเงิน     ๒,๑๕๐   บาท 
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  ๔๓ คน X ๒๕ บาท X ๑ มื้อ                 เป็นเงิน     ๒,๑๕๐   บาท               - ค่าวิทยากร จำนวน ๖ ชั่วโมง X ๓๐๐ บาท X ๑ วัน                                เป็นเงิน      ๑,๘๐0    บาท                                                               รวมเป็นเงินทั้งสิ้น   ๑๐,๐๐๐   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายหญิงอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อย ๑ ปี ๑ครั้ง  /กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อย ๑ ครั้ง ต่อ ๑ ปี 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายหญิงอายุ ๓๐-๖๐ ปี คัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ และตรวจโดยเจ้าหน้าที่  ปีละ ๑ ครั้ง/กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน และตรวจโดยเจ้าหน้าที่อย่างน้อย    ๑ ครั้ง ต่อ ๑ ปี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อย ๑ ครั้ง ต่อ ๑ ปี
2.กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน และตรวจโดยเจ้าหน้าที่อย่างน้อย๑ ครั้ง ต่อ ๑ ปี


>