กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแว้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด-5ปีในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแว้ง

โรงพยาบาลแว้ง

นางวาสนา ศิริไพรวัน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โทร 0896553770

หมู่ 1และ หมู่ 2 ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม

 

2.43
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย

 

9.75

เด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของประเทศชาติ เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา จึงควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาการในทุกๆ ด้าน เป็นวัยที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่และเป็นกำลังของชาติ หากเด็กและเยาวชนได้รับการส่งเสริมทั้งด้านร่างกายและสติปัญญาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ก็จะทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ซึ่งเด็ก 1 - 6 ปี เป็นวัยที่ต้องการพัฒนาการในด้านต่างๆ โดยเฉพาะพัฒนาการด้านร่างกาย ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต และจากการประเมินพบว่า เด็กก่อนวัยเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบมีจำนวน 205 คน พบว่ามีภาวะเตี้ย 20 คนคิดเป็นร้อยละ 9.75 และมีภาวะผอมจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 2.43 ทั้งนี้จากการสำรวจ พบว่า ผู้ปกครองเด็กวัยนี้ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของอาหารที่เหมาะสมกับวัยและการเลือกซื้ออาหารในชีวิตประจำวัน จากข้อมูลสถานการณ์เด็กที่มีภาวะเตี้ยในหมู่ 1และ หมู่2 ตำบลแว้ง มีแนวโน้มมากกว่าร้อยละ 5 และผอมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องรับการแก้ไขเร่งด่วนเนื่องจากส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการเด็กในระยะยาว ดังนั้น โรงพยาบาลแว้งจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อลดปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครองเด็กและ อสม เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ผู้ปกครองเด็กและ อสม มีความรู้ในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการตามวัย ร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อลดอัตราเด็กอายุ 0-5ปีในชุมชนที่มีภาวะเตี้ย

เด็กอายุ 0-5 ปีในชุมชนที่มีภาวะเตี้ย ลดลงร้อยละ 9

9.75 9.00
3 เพื่อลดอัตราเด็กอายุ 0-5 ปีในชุมชนที่มีภาวะผอม

เด็กอายุ 0-5 ปีในชุมชนที่มีภาวะผอมลดลงร้อยละ 2

2.43 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 25
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็กและ อสม. 35

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เสริมสร้างความรู้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและ อสม.

ชื่อกิจกรรม
เสริมสร้างความรู้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการตามวัยสุู่การปฏิบัติแก่ผู้ปกครองของเด็กจำนวน 25 คน และ อสม.จำนวน 10 คนเพื่อเป็นแนวทางในการดูแลบุตร 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 35คน25 บาท 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 1,750 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันแก่ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 35 คน50 บาท1 มื้อ รวมเป็นเงิน 1,750 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 1 คน6 ชม600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2564 ถึง 27 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองของเด็กและ อสม.ได้รับความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการตามวัยที่ถูกต้องและนำสู่การปฏิบัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7100.00

กิจกรรมที่ 2 แก้ไขภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
แก้ไขภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อาหารว่างเสริมเพื่อแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็ก 1.จ่ายอาหารว่างเสริม(นม) จำนวน 25 คน30 วัน17 บาท รวมเป็นเงิน 12,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จ่ายอาหารว่างเสริมและเด็กได้รับอาหารว่างเสริมทำให้มีภาวะโภชนาการดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12750.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามภาวะโภชนาการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามภาวะโภชนาการในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ทุก 1 เดือนอย่างต่อเนื่องโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการติดตามภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองเด็กและ อสม.มีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการที่ถูกต้อง ร้อยละ 80
2.เด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการเตี้ยลดลง ร้อยละ 2
3.เด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการผอมลดลง ร้อยละ 9


>