กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็ก0-5 ปี ปี 2564 (ชมรม อสม.บางขุด)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฆอเลาะ

ชมรม อสม.รพสต.บางขุด

1.นางสาวรุสลีซานิแม
2.นางสาวฮามีละห์มือลี
3.นางเจ๊ะบีเดาะสะอิ
4.นางสาวอาซีซะห์อาลี
5.นางสาวรุสลีดาสะแปอิง

ม.1 ม.3 ม.4 ม.7 ตำบลฆอเลาะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ

 

15.00

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (well-being)
ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา(จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว ชุมชนและสังคมมากขึ้นโดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิตคือเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงต่อไป
ปัญหาในการดำเนินงานสุขภาพเด็กปฐมวัยพบว่าเด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็ก 0-5 ปีพ.ศ.2563 พบว่าเด็กมีปัญหาทุพโภชนาการร้อยละ 5.25 ซึ่งตามตัวชี้วัดแผนสาธารณสุขที่กำหนดไว้ว่า ภาวะทุพโภชนาการ 0-5 ปีไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้ อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาการเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
จากสภาพปัญหาดังกล่าวทางชมรม อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด จึงได้จัดโครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัว ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในด้านภาวะทุพโภชนาการ ของเด็ก 0-5 ปี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะเด็ก 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการลดลง

15.00 10.00

การพัฒนาคุณภาพชีวิต

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรม การจัดอบรมให้ความรู้และสาธิตการทำอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรม การจัดอบรมให้ความรู้และสาธิตการทำอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าป้ายโครงการขนาด1X4เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,000.-บาท -ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท X 100 คน เป็นเงิน 5,000บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน1 มื้อๆละ 50 บาท x 100 คน เป็นเงิน 5,000บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าสาธิตทำอาหารเป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19600.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรม ลงพื้นที่เพื่อติดตาม และประเมินผล (ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง )

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรม ลงพื้นที่เพื่อติดตาม และประเมินผล (ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอลหมู่ละ 1 เครื่อง จำนวน 4 เครื่องๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
  1. ขั้นเตรียมการ 1.ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 0-5 ปีในชุมชน 2.บันทึกผลการชั่งน้ำหนัก/ส่วนสูงในสมุดและในทะเบียนเด็กพร้อมแจ้งผู้ปกครองรับทราบ
    3.จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์น้ำหนักค่อนข้างน้อย และผอม แยกเป็นกลุ่ม
    1. ติดตามเยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 6 เดือน และนำแนะนำไปให้ผู้ปกครองดำเนินการต่อเนื่อง 5.สรุปผลการดำเนินงาน
    2. ขั้นดำเนินงาน 2.1 จัดเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมตามโครงการ 2.2 ติดตามเยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงจนครบ 6 เดือน
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต คณะทำงาน
ผลลัพธ์ ผู้ปกครองเด็กมีความตระหนักในการดูแลทางด้านโภชนาการ /เด็กมีภาวะทุพโภชนาการลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็ก 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวัง ภาวะโภชนาการ
2.เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี
3.ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ในการดูแลเด็ก ด้านโภชนาการ และการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้สมวัย
4.เพื่อให้เครือข่าย อสม.ในชุมชนมีส่วนร่วม ในการส่งเสริมด้านโภชนาการและพัฒนาการของเด็กให้สมวัย


>