กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ อาหารปลอดภัย ไร้สารพิษ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

งานสาธารณสุข กองสวัสดิการสังคม

ตำบลปูโยะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

4.65
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

 

50.00
3 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

50.00

ด้วยตำบลปูโยะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด จากการสำรวจปี2563 มีการสุ่มตรวจเกษตรกรปลุกพืชผักและผลไม้ จำนวน 14 คน พบว่ามีสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6  ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

4.65 70.00
2 เพื่อเพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้นเป็น

50.00 70.00
3 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย ลดลงเหลือ

50.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็กที่ไม่รับประทานผักและผลไม้ 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏับัติการแก่กลุ่มเกษตรกรที่มีปัญหาเรื่องสารตกค้างในเลือดและผู้ปกครองเด็กที่ไม่รับประทานผักและผลไม้ และแนวทางการปลูกผักผลไม้แบบไร้สารพิษ

ชื่อกิจกรรม
การอบรมเชิงปฏับัติการแก่กลุ่มเกษตรกรที่มีปัญหาเรื่องสารตกค้างในเลือดและผู้ปกครองเด็กที่ไม่รับประทานผักและผลไม้ และแนวทางการปลูกผักผลไม้แบบไร้สารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 มื้อๆ มื้อละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 กล่องๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ค่าป้ายไวนิล เป็นเงิน 720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องสารตกค้างในอาหาร
เพื่อแก้ไขปัญหาการไม่รับประทานผักและผลไม้ภายในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10320.00

กิจกรรมที่ 2 การลงพื้นที่ดำเนินการเพาะปลูกผักและผลไม้แบบไร้สารพิษ

ชื่อกิจกรรม
การลงพื้นที่ดำเนินการเพาะปลูกผักและผลไม้แบบไร้สารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ลงพื้นที่ดำเนินการเพาะปลูกบริเวณ ศพด.วาตอนียะห์ และภายในชุมชน
  2. นำเอาผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูก จำหน่ายไปยังกลุ่มที่ไม่รับประทานผักและผลไม้ และบริโภคในครัวเรือน(กลุ่มเกษตรกรที่พบสารปนเปื้อน) ค่าวัสดุและอุปกรณ์ เป็นเงิน 17,730 บาท
    ค่าเครื่องดื่ม จำนวน 30 ชุดๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 450 บาท
    ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 กล่องๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถรับประทานผักและผลไม้ได้ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19680.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผลของการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผลของการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลกลุ่มเป้าหมายทั้งสองกลุ่ม
1. กลุ่มเกษตรกรที่มีปัญหาเรื่องสารตกค้างในเลือด โดยการเจาะเลือดหลังจากบริโภคในครัวเรือน ค่าบริการและชุดตรวจสารตรวจค้างในเกษตรกร จำนวนเงิน 2,000 บาท
2. กลุ่มเด็กที่ไม่รับประทานผักและผลไม้ โดยการทำแบบติดตามประเมินให้ผู้ปกครองเด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรมีสุขภาพที่ดี ไร้สารปนเปื้อนในเลือด
เพื่อให้เด็กในชุมชนเห็นความสำคัญถึงการรับประทานผักและผลไม้
เพื่อให้เกษตรกรและเด็กได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษ


>