กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรงโรงพยาบาลกาบังปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลกาบัง

๑. โรงพยาบาลกาบัง๒. พื้นที่หมู่ที่ ๔ , ๕ , ๗ ตำบลกาบัง อำเภอกาบังจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

60.00

เนื่องจากวัยสูงอายุเป็นวัยที่มีความต้องการแตกต่างไปจากวัยอื่นรวมทั้งปัญหาในด้านสุขภาพที่แตกต่างกันร่างกายมีการถดถอยและเสื่อมลงเป็นผลทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆเบียดเบียนสิ่งสำคัญคือการได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างซึ่งมีผลต่อสุขภาพกายและใจ เช่นการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ อุบัติเหตุโรคข้อเสื่อมความดันโลหิตสูง/เบาหวาน สมองและหลอดเลือดซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่เรื่องออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์ส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยง่ายการเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มีความเศร้าใจกังวลใจน้อยใจเสียใจ และการอยู่ร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ บุตรหลานมักปล่อยให้อยู่โดดเดี่ยวขาดความยอมรับและความเชื่อถือด้านการพัฒนาสังคมเพื่อให้การดำเนินการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรมและเกิดการร่วมใจกัน โรงพยาบาลกาบังจึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรงโรงพยาบาลกาบัง ปี ๒๕๖๔
ดังนั้น เพื่อกำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ มีการจัดอบรมให้ความรู้แกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุในด้านการดำรงชีวิตภายใต้ตามบริบทพื้นที่ โดยมีกิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร ส่งเสริมการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยแนะนำให้ผู้สูงอายุได้การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย ในอันเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพมีความรู้ และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองในขั้นพื้นฐานได้

ผู้สูงอายุได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพ  มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ในขั้นพื้นฐาน

50.00 60.00
2 ๒. เพื่อให้ครอบครัว ชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

ครอบครัว, ชุมชน, ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

50.00 60.00
3 ๓.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยมบ้าน ตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

มีชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็งและยั่งยืน

40.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 120
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แกนนำครอบครัว/ผู้ดูแล/ผู้สูงอายุ /สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ มีการตรวจสุขภาพ ผู้สูงอายุ และให้สุขศึกษาการดูแลด้านสุขภาพ (กาย/จิต) /พร้อมให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ และมีการจัดนิทรรศการ/กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ/ ประกวดสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แกนนำครอบครัว/ผู้ดูแล/ผู้สูงอายุ /สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ มีการตรวจสุขภาพ ผู้สูงอายุ และให้สุขศึกษาการดูแลด้านสุขภาพ (กาย/จิต) /พร้อมให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ และมีการจัดนิทรรศการ/กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ/ ประกวดสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จัดอบรมให้ความรู้แกนนำครอบครัว/ผู้ดูแล/ผู้สูงอายุ
    จำนวน 120 คน คนละ 50บาทเป็นเงิน6,000 บาท
  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จัดอบรมให้ความรู้แกนนำครอบครัว/ ผู้ดูแล/ผู้สูงอายุ
    จำนวน 120 คน คนละ2มื้อ มื้อละ25บาทเป็นเงิน6,000 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน วันละ 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาทx 2วันเป็นเงิน3,000บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น เป็นเงิน 15,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต:เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพมีความรู้ สามารถดูแลสุขภาพของตนเองในขั้นพื้นฐานได้ และให้ครอบครัว ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยมบ้าน ตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
ผลลัพธ์: ผู้สูงอายุได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ในขั้นพื้นฐาน และครอบครัว, ชุมชน, ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ทำให้เกิดมีชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็งและยั่งยืน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมบ้าน ประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดัชนีบาร์เธล เอดีแอล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้าน ประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดัชนีบาร์เธล เอดีแอล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต:เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพมีความรู้ สามารถดูแลสุขภาพของตนเองในขั้นพื้นฐานได้ และให้ครอบครัว ชุมชน  มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ  เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยมบ้าน ตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
ผลลัพธ์: ผู้สูงอายุได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพ  มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ในขั้นพื้นฐาน และครอบครัว, ชุมชน, ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ทำให้เกิดมีชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็งและยั่งยืน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ในขั้นพื้นฐาน
2.ครอบครัว, ชุมชน, ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
3.มีชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็งและยั่งยืน


>