กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พนมวังก์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบ้านริมทาง ชวนมอง สะอาด ปลอดขยะ ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พนมวังก์

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลพนมวังก์

นางศริณยา อินแก้ว
นางจันทนามณีรัตน์
นางเพ็ญศรีไชยเพชร
นางสุดาวดีจู้สิ้ว
นางมยุรี อิสโร

ตำบลพนมวังก์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยและ นับวันยิ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปีตามอัตราการ เพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของ ประชาชน ในขณะเดียวกันปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำ แม้ว่าองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ทั้งการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย รวมทั้งการกำจัด ระบบการจัดขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับปริมาณขยะมูลฝอยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
ตำบลพนมวังก์ มีจำนวนครัวเรือน1,815หลังคาเรือนมีสถานประกอบการ วัด โรงเรียนสถานที่ราชการ สพด.จำนวน 32 แห่ง กระจายทุกหมู่บ้านจากการสำรวจข้อมูลการคัดแยกขยะของตำบลพนมวังก์
พบว่ามีการคัดแยกขยะ ร้อยละ 16.44การจัดบ้านให้ถูกสุขลักษณะร้อยละ 44.36 และข้อมูลปริมาณขยะของ อบต.พนมวังก์ ปื2560-2563มีจำนวนเฉลี่ย 595.25 ตันต่อปีค่าใช้จ่ายในการส่งขยะกำจัดเฉลี่ย 244,540 บาทต่อปี
ขยะมูลฝอยก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์หลายประการดังต่อไปนี้ คือ 1) เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง และพาหะของโรคเนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับขยะมูลฝอยมีโอกาสที่จะขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้นได้ ดังนั้นขยะที่ขาดการเก็บรวบรวม และการกำจัด จึงทำให้เกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่สำคัญของเชื้อโรค แมลงวัน หนู แมลงสาบ ซึ่งเป็นหาหะนำโรคมาสู่คน 2) ก่อให้เกิดความรำคาญ ขยะมูลฝอยที่ตกค้างเกิดเป็นกลิ่นรบกวน 3) ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ขยะที่ตกค้างเมื่อมีฝนตกลงมาจะไหลชะนำความสกปรก เชื้อโรค สารพิษจากขยะไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำเกิดเน่าเสียได้ และนอกจากนี้ขยะมูลฝอยยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพดิน ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของขยะมูลฝอย ถ้าขยะมีซากถ่านไฟฉาย ซากแบตเตอรี่ ซากหลอดฟลูออเรสเซนต์มาก ก็จะส่งผลต่อปริมาณโลหะหนักพวกปรอท แคดเมียม ตะกั่ว ในดินมาก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน์ในดิน และสารอินทรีย์ในขยะ มูลฝอยเมื่อมีการย่อยสลาย จะทำให้เกิดสภาพความเป็นกรดในดิน และเมื่อฝนตกมาชะกองขยะมูลฝอยจะ ทำให้น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลปนเปื้อนดินบริเวณรอบ ๆ ทำให้เกิดมลพิษของดินได้ การปนเปื้อนของดิน ยังเกิดจากการนำมูลฝอยไปฝังกลบ หรือการยักยอกนำไปทิ้งทำให้ของเสียอันตรายปนเปื้อนในดิน ถ้ามีการเผาขยะมูลฝอยกลางแจ้งทำให้เกิดควันมีสารพิษทำให้คุณภาพของอากาศเสีย ส่วนมลพิษทางอากาศจากขยะมูลฝอยนั้น อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากมลสารที่มีอยู่ในขยะและพวกแก๊สหรือไอระเหย ที่สำคัญก็คือ กลิ่นเหม็นที่เกิดจากการเน่าเปื่อย และสลายตัวของอินทรีย์สารเป็นส่วนใหญ่ 4) ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อสุขภาพ ขยะมูลฝอยที่ทิ้งและรวบรวมโดยขาดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะมูลฝอยพวกของเสียอันตราย ถ้าขาดการจัดการที่เหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนได้ง่าย เช่น โรคทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีแมลงวันเป็นพาหะ หรือได้รับสารพิษที่มากับของเสียอันตราย
จากปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลพนมวังก์ จึงได้จัดทำโครงการบ้านริมทาง ชวนมอง สะอาดปลอดขยะปี 64 เพื่อให้ประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนริมถนนหนทาง มีการคัดแยะขยะต้นทางจัดบ้านเรือนให้สะอาดสวยงามปลอดขยะปลอดถังขยะลดปริมาณขยะต้นทาง ลดค่าใช้จ่าย เป็นต้นแบบบ้านในการจัดขยะที่ถูกต้อง ของตำบลพนมวังก์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาเครือข่ายในการสร้างการมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยน กิจกรรมลดขยะได้ดี

ร้อยละของประชาชนพื้นที่ตำบลพนมวังก์มีการคัดแยกขยะเพิ่มขึ้น

16.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแกนนำ อสม . อปท. รพสต. ศพด.ให้ความรู้ชี้แจงโครงการจำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแกนนำ อสม . อปท. รพสต. ศพด.ให้ความรู้ชี้แจงโครงการจำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างในการจัดประชุม
จำนวน 50 คน x 25 บาท เป็นเงิน  1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำมีความรู้ที่จะสามารถนำไปถ่ายทอดหรือขับเคลื่อนโครงการได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์รณรงค์เชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์รณรงค์เชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายรณรงค์ 5 หมู่บ้านๆ ละ 2 ป้าย(10 ป้าย x 1,000 บาท) เป็นเงิน 10,000 บาท
  • ค่าน้ำดื่มรณรงค์เชิงรุก ผู้ชุมชน อสม จิตอาสา (100 คน x 20 บาท) เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่าย ในการสร้างการมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยน กิจกรรมลดขยะได้ดีมีรางวัล

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่าย ในการสร้างการมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยน กิจกรรมลดขยะได้ดีมีรางวัล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมแกนนำจิตอาสาประเมินผลปริมาณขยะรายครัวเรือนจำนวน 50 คน (25 คน x 25 บาท x 3 ครั้ง) เป็นเงิน 1,875 บาท
  • ค่าเอกสารในการสำรวจประเมินปริมาณขยะรายสัปดาห์ (500 แผ่น x 0.5 บาท) เป็นเงิน 250 บาท
  • ค่าของรางวัลจูงใจในการคัดแยก ลดปริมาณขยะต้นทาง โดยประเมินจากปริมาณขยะที่ส่งกำจัดรายสัปดาห์ หมู่บ้านละ 10 ชิ้น จำนวน 5 หมู่บ้าน (50 ชิ้น x 100 บาท) เป็นเงิน 5,000บาท
  • ค่าตอบแทนแกนนำ อสม. ในการประเมินปริมาณขยะรายสัปดาห์ จำนวน 5 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 คน (25 คน x 100 บาท) เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่ายมีส่วนร่วมในกิจกรรมการลดปริมาณขยะที่ต้นทาง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9625.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,875.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประ่ชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน หน้าบ้านตนเอง ริมทาง
2. ลดรายจ่ายและปริมาณขยะที่ต้องส่งกำจัดต่อ
3. ประชาชนใช้หลัก 3 Rs ในการจัดการขยะภายในครัวเรือน
4. ประชาชนมีสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
5. บ้านเรือน ริมทาง สะอาด สวยงาน ปลอดขยะ


>