2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
จากข้อมูลจากระบบรายงาน Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราทารกแรกเกิด น้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ใน พ.ศ. 2560 ร้อยละ 11.3 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ7) สถานการณ์ในระดับ ประเทศมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ใน พ.ศ. 2556-2560 คิดเป็นร้อยละ 10.7, 10.4, 10.6, 11.1 และ 11.3 ตามลำดับ อัตราภาวะเตี้ยของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แนวโน้มลดลงจาก พ.ศ. 2558-2561 (ร้อยละ 11.5, 11.4, 10.0 และ 8.7 ตามลำดับ) และใน พ.ศ. 2562 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.3 อัตราภาวะผอมของเด็กอายุ ต่ำกว่า 5 ปี มีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ ใน พ.ศ. 2558-2562 (ร้อยละ 5.7, 5.7, 5.6, 5.1 และ 5.4 ตามลำดับ) และอัตราเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี สูงดีสมส่วน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องใน พ.ศ. 2559-2562 (ร้อยละ 47.3, 48.7, 50.0 และ 51.6 ตามลำดับ)
กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว ชุมชน และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก แม้จากรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศระดับภาคและเป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ 10 ที่กำหนดไว้ว่าภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-72 เดือน ไม่เกินร้อยละ 10 ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมาจำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิตการแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาลและการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กและส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ทราย จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะผอม และภาวะเตี้ยในเด็กปฐมวัยรพ.สต. แม่ทราย ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2021
กำหนดเสร็จ 31/08/2021
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี มีความรู้และตระหนักในการให้ความสำคัญกับภาวะโภชนาการเด็กIQ และ EQ ตามวัย
2. เด็ก 0-5 ปี ในตำบลแม่ทรายมีIQ และ EQ ดี โดยได้รับการดูแลจากผู้ปกครอง/ผู้ดูแล
3. เด็ก 0-5 ปี ที่จะเติบโตไปในวันข้างหน้า สามารถพัฒนาประเทศให้มีความเจริญได้
4. มีเครือข่ายการดำเนินงานด้านอนามัยแม่และเด็กในชุมชนภายได้การดำเนินงานกันอย่างมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน