กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมเบาหวานความดันเราทำได้

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานความคุมได้ดี

40.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมได้ดี

50.00

จากการดำเนินงานคัดกรองตรวจสุขภาพ โรคความดันและเบาหวาน ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปและจากการติดตามเยี่ยมบ้าน พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่จากการควบคุมโรคได้ไม่ดี เกิดจากผู้ป่วยเบาหวานมีระยะเวลาในการเจ็บป่วยมากกว่า 10 ปี มีภาวะแทรกซ้อนทางไตและหลอดเลือด ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพตนเอง พบว่า ผู้ป่วยเบาหวาน รู้สึกกลัวไม่กล้าเจาะน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเอง ทั้งยังมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ครอบครัว ไม่มีเครื่องตรวจน้ำตาลปลายนิ้วเนื่องจากมีราคาค่อนข้างสูง จึงทำให้ไม่สามารถตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อสังเกตอาการของตนเองว่าเป็นภาวะน้ำตาลสูงหรือน้ำตาลในเลือดต่ำได้ในแต่ละวัน โดยปกติจะมีพยาบาลประจำในพื้นที่ลงเยี่ยมบ้าน อสม.ช่วยเจาะติดตามให้ทุกเดือน และในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พบว่ามีความเบื่อหน่ายในการรับประทานยา เพราะเป็นโรคมานานหลายปี ต้องกินยาทุกวัน ซึ่งความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาดเหมือนโรคอื่นๆ จึงทำให้ ผู้ป่วยบางรายขาดยา รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ ทำให้ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ไม่ดี ประกอบกับการวัดความดันโลหิตแต่ละครั้งต้องเดินทางมายัง รพ.สต.ซึ่งไกลจากบ้าน ทำให้ไม่สามารถวัดความดันเองทุกวันได้ แม้จะมีเจ้าหน้าที่และอสม. มาช่วยวัดที่บ้านแล้ว แต่อุปกรณ์ก็ไม่มีเพียงพอนอกจากนี้ผลการดำเนินงานในเขตตำบลกาบัง ปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา พบว่า อัตราการควบคุมได้ในผู้ป่วยเบาหวานเพียงร้อยละ 24.25 (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ 40) อัตราการควบคุมระดับความดันโลหิต เพียงร้อยละ 22.94 (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ 50) ซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้งสองกลุ่มเป้าหมาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

40.00 40.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 150
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมายเพื่อประชุมเชิงปฏิบัติการการตรวจติดตามด้วยตนเอง เพื่อรู้ทันและควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมายเพื่อประชุมเชิงปฏิบัติการการตรวจติดตามด้วยตนเอง เพื่อรู้ทันและควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 การรู้ทันควบคุมโรค กิจกรรม 7 สัปดาห์รอบรู้สุขภาพและการลงบันทึก กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการความรู้ (Knowledge management : KM) ที่เน้นการจัดการตนเอง กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการการวัดความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกาบัง รายละเอียดดังนี้ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คน * 60 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน9,000บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คน * 25บาท * 2 มื้อเป็นเงิน7,500บาท - ค่าวิทยาการ จำนวน 4 ชั่วโมง ๆละ 300บาท * 3 วันเป็นเงิน3,600บาท - ค่าจัดจ้างทำไวนิลโครงการ ขนาด 2.0 ม.2.5 ม.250 บ.* 1ป้ายเป็นเงิน1,250บาท - ค่าจัดจ้างทำแบบบันทึกSMBP,SMBG จำนวน 150 ชุด ๆ ละ10 บาท เป็นเงิน1,500บาท - ค่าวัสดุในการอบรม 150 คน * 40 บาทเป็นเงิน6,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้และสามารถจัดการตนเองในการควบคุมโรค               ได้เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28850.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการวัดความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองโดยแกนนำ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการวัดความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองโดยแกนนำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนแกนนำออกติดตาม วันละ 4 คนคนละ 100 บาท 6 วัน         เป็นเงิน  2,400บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยได้รับการติดตามหลังเสร็จสิ้นการอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถพัฒนาศักยภาพตนเองด้วยการสร้างเสริมสุขภาพและ
ป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
2.ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถให้การแนะนำ ช่วยเหลือการดูแลสุขภาพตนเองซึ่งกัน
และกันได้
3.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามาสามารถพัฒนาแกนนำผู้ป่วยเบาหวานและความดัน
โลหิตสูงในการถ่ายทอดความรู้การดูแลสุขภาพตนเองสู่ชุมชนได้


>