กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองแรต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียนบ้านลางา “กิจกรรมหนูน้อยฟันสวย” ตำบลหนองแรต ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองแรต

โรงเรียนบ้านลางา

โรงเรียนบ้านลางา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

82.00
2 ร้อยละของนักเรียนที่แปรงฟันถูกวิธี

 

40.00
3 ร้อยละของนักเรียนที่มีความรู้ความเข้าใจของการรักษาสุขภาพฟัน

 

20.00

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2545 ระบุความหมายของการจัดการศึกษาว่าต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจและสติปัญญาโดยเชื่อมั่นว่าถ้าบุคคลในชาติมีสุขภาพดีการพัฒนาด้านอื่น ๆ ก็จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างแท้จริง เนื่องด้วยความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ความทันสมัย ทำให้เด็กในยุคนี้เป็นเด็กที่ติดกับการบริโภคนิยม ทั้งทางด้านวัตถุ สิ่งของ อาหารเด็กส่วนมากมักบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่นขนมขบเคี้ยว ทอฟฟี่ ช็อคโกแลต ขนมหวานต่างๆ การที่เด็กทานอาหารเหล่านี้เข้าไป จะทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องฟันผุ และสภาวะเหงือกอักเสบ ซึ่งในปัจจุบันมีเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านลางาพบเจอปัญหาด้านนี้เช่นกัน คือ ในปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านลางามีนักเรียนทั้งหมด 76 คน มีนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพฟัน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 82 ดังนั้นโรงเรียนในฐานะเป็นหน่วยงานโดยตรง จึงมีความจำเป็นในการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน “กิจกรรมหนูน้อยฟันสวย” เพื่อประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจให้นักเรียนและผู้ปกครองที่มีส่วนร่วมในการดูแลส่งเสริมสุขภาพฟันของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพฟันที่ดีและลดปัญหาของโรคฟันผุและสภาวะเหงือกอักเสบ พร้อมเสริมสร้างสุขภาพกายและใจโรงเรียนขาดงบประมาณในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแรต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะฟันผุของเด็กวัยเรียน (6 ขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

82.00 50.00
2 เพื่อให้นักเรียนแปรงฟันถูกวิธี

ร้อยละของนักเรียนที่แปรงฟันถูกวิธี

40.00 80.00
3 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูรักษาช่องปากที่ถูกวิธี

ร้อยละของนักเรียนที่มีความรู้ความเข้าใจของการรักษาสุขภาพฟัน

20.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 76
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/05/2021

กำหนดเสร็จ 15/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมหนูน้อยฟันสวยโรงเรียนบ้านลางา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมหนูน้อยฟันสวยโรงเรียนบ้านลางา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฎิบัติการในนักเรียนโรงเรียนบ้านลางา และกำหนดข้อตกลงร่วมกัน - ค่าชุดแปรงสีฟัน+ยาสีฟัน+กระเป๋า 76 ชุด ๆละ 80 บาท เป็นเงิน6,160บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 76 คน คนล่ะ 2 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน3800.บาท
- ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาทเป็นเงิน1,800. บาท
- ค่าป้ายไวนิลเป็นเงิน600 บาท
- วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดกิจกรรม เป็นเงิน1365 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูรักษาช่องปากที่ถูกวิธี
  • เกิดข้อตกลงร่วมกันด้านทันตสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13725.00

กิจกรรมที่ 2 ชี้แจงการติดตามสภานักเรียนและสรุปผลการติดตาม

ชื่อกิจกรรม
ชี้แจงการติดตามสภานักเรียนและสรุปผลการติดตาม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สภานักเรียนติดตามการปฎิบัติตัวด้านทันตสุขภาพในระดับชั้น - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 17 คน คนล่ะ 1 มื้อ ๆละ 25 บาท จำนวน 3 ครั้ง    เป็นเงิน  1275    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อมูลสภาวะทันตสุขภาพของนักเรียน เปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1275.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีสุขภาพฟันและช่องปากที่ดี
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูรักษาช่องปากที่ถูกวิธี
3. นักเรียนตระหนักและให้ความสำคัญกับปัญหาทางช่องปาก


>