กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. นางสุภัทรียายูโซ๊ะ
2. นางสาวนุรุลฮูดาราเซะ

หมู่ที่ 1-8 ตำบลปาเสมัส, ศาสนสถาน โรงเรียน ศพด.และศดม.

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ขยายเขตการแพร่โรคออกเป็นวงกว้างกระจายไปในหลายพื้นที่ และการตรวจพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่โดยเฉพาะกรณีที่เป็นการติดเชื้อภายในประเทศมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน นายกรัฐมนตรีจึงมีข้อกำหนดออกมาตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2568 (ฉบับที่ 16) ประกาศณ วันที่ 3 มกราคม 2564 เพื่อเข้าแก้ไขและระงับยับยั้งสถานณการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว และเพื่อให้มาตการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) ระลอกใหม่ในเขตจังหวัดนราธิวาสเป็นไปโดยสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคในปัจจุบัน จังหวัดนราธิวาสได้มีคำสั่งที่ 11/2564 ลงวันที่ 5 มกราคม 2564 เรื่อง มาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 219 (โรคโควิด-19) และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังระดับอำเภอหรือระดับตำบล จังหวัดนราธิวาสจึงได้มีประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม 2564 เรื่อง กำหนดพื้นสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19) ซึ่งทั้ง 13 อำเภอของจังหวัดนราธิวาสเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง
สถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่การระบาดในระลอกแรกจนถึงปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 28 มกราคม 2564) ผู้ป่วยสะสม 44 ราย เป็นผู้ป่วยของอำเภอสุไหงโก-ลก 9 ราย
ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่กลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้ออยู่แล้วโดยเฉพาะอำเภอสุไหโก-ลกเป็นพื้นที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา จึงมีความเสี่ยงที่จะพบผู้ป่วยที่ลักลอบเดินทางกลับเข้ามาโดยไม่เข้าระบบการกักตัวที่รัฐจัดให้ และเข้าไปอาศัยอยู่ร่วมกับผู้อื่นในชุมชนซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อเป็นอย่างมาก
สำนักงานเทศบาลตำบลปาเสมัสเล็งเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมป้องกันโรคดังกล่าว จึงได้จัดโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ปี 2564 เพื่อให้ประชาชนตระหนักและเห็นความสำคัญ สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน ให้ปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ขอให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้การสนับสนุนงบประมาณกองทุนฯ เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคฯดังกล่าว พร้อมสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

0.00
3 เพื่อให้มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20,335
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1 ให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ผ่านเสียงตามสาย เครือข่ายสุขภาพลงพื้นที่แจกเอกสารให้ความรู้เรื่องมาตรการต่างๆ ในการเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2 จัดทำป้ายไวนิลให้ความรู้ เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ในการปฏิบัติตัวเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างถูกต้อง และติดตามจุดต่างๆในชุมชน

งบประมาณ ค่าจัดทำเอกสารให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 1,000 แผ่นๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน5,000.- บาท 1.2 ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์มาตรการใส่หน้ากากอนามัยป้องกันโรคฯพร้อมโครงไม้ขนาด2.4 X 1.2 เมตร จำนวน 9 ชุดๆ ละ 1,880บาท เป็นเงิน16,920.- บาท 1.3 ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ข้อควรปฏิบัติในการใช้ศาสนสถานในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคฯ พร้อมโครงไม้ ขนาด 1.2 ม. X 0.8 เมตร จำนวน 12 ชุดๆ ละ 609.- บาท เป็นเงิน 7,308.- บาท
รวมเป็นเงิน 29,228.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนเกิดความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  2019 (COVID-19) ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  2. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค  ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29228.00

กิจกรรมที่ 2 จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 จัดหาหน้ากากอนามัยเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนเพื่อใช้ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2 จัดหาเครื่องวัดไข้อินฟราเรด ใช้สแกนฝ่ามือหรือสแกนหน้าผากพร้อมขาตั้ง เพื่อใช้คัดกรองในประชาชนกลุ่มเสี่ยง หรือสถานที่ที่ต้องมีการร่วมตัวทำกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายละเอียด 1.ประชาชนเกิดความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
2.ประชาชนในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

งบประมาณ 2.1 ค่าหน้ากากอนามัยให้ประชาชนใช้ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 300 กล่องๆ ละ 125.- บาท เป็นเงิน37,500.- บาท 2.2 เครื่องวัดไข้อินฟราเรด ใช้สแกนฝ่ามือหรือสแกนหน้าผาก พร้อมขาตั้งเพื่อใช้คัดกรองในประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 20เครื่องๆ ละ 2,450บาท เป็นเงิน49,000.- บาท รวมเป็นเงิน86,500.- บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
86500.00

กิจกรรมที่ 3 ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในศาสนสถาน, โรงเรียน , ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำตำบลและศูนย์อบรมเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิด 2. การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในชุมชนที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคฯ

งบประมาณ 3.1 ค่าจ้างเหมาฉีดยาพ่นฆ่าเชื้อในศาสนสถานจำนวน 12 แห่งๆ ละ 2 ครั้งๆ ละ 300.- บาท
เป็นเงิน7,200.- บาท 3.2 ค่าจ้างเหมาฉีดยาพ่นฆ่าเชื้อในโรงเรียนจำนวน 6 แห่งๆ ละ 2 ครั้งๆ ละ 300.- บาท
เป็นเงิน3,600.- บาท 3.3 ค่าจ้างเหมาฉีดยาพ่นฆ่าเชื้อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำตำบลและศูนย์อบรมเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิด จำนวน 5 แห่งๆ ละ 2 ครั้งๆ ละ 300.- บาทเป็นเงิน3,000.- บาท รวมเป็นเงิน13,800.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนเกิดความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  2019 (COVID-19) ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  2. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค  ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 129,528.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนเกิดความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
2. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19


>