กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก Smart Kids โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป้น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป้น

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก Smart Kids โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป้น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป้น

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป้น

นางสาวดารียายูโซะ (นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ)

ม.3,ม.4,ม.5,ม.6,ม.7 ตำบลแป้น อำเภอสายบุรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

88.89
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

85.00

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ในพื้นที่ ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การดูแลสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปอย่างมีคุณภาพทั้งมารดาและทารก สู่เป้าหมายลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กในปี 2563 พบว่า หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 88.89 และพบว่า ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม คิดเป็นร้อยละ 11.43 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 7) เด็กแรกเกิด -6 เดือนกินนมแม่อย่างเดียวคิดเป็นร้อยละ 100 (เกณฑ์ร้อยละ 50)โดยเฉพาะเด็กแรกเกิด – 5 ปี เป็นวัยที่สำคัญที่สุดวัยหนึ่งของชีวิตมนุษย์เนื่องจากเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเร็วมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดของเด็กคือพัฒนาการทางสมอง เป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อมากกว่าวัยอื่นและเป็นวัยที่มีการพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่สำคัญอันจะเป็นรากฐานของบุคลิกภาพที่ดีต่อไปในอนาคต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กปัตตานีโดยได้กำหนดนโยบาย Pattani Smart Kids เพื่อให้เด็กปัตตานีสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย รูปร่างสมส่วน สุขภาพฟันดี
จากผลการปฏิบัติงาน 4 กิจกรรมหลัก ในเด็กอายุ 0- 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป้น ปีงบประมาณ 2564พบว่า ความครอบคลุมเด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่กำหนด เพียงร้อยละ 54.29 และ มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน ร้อยละ 50.75มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 96.97 และ เด็กอายุ 3-5 ปี ยังมีปัญหาฟันผุ จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ทราบว่า ผลการปฏิบัติงานตามกิจกรรม ในเขตพื้นที่บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป้น ยังเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ที่ต้องมีการดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ จึงต้องเริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ตามแนวทางมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก Smart Kids เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในกลุ่มแม่และเด็กขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือ และ การมีส่วนร่วมของชุมชน ในการดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็กให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

88.89 95.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

85.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก Smart Kids

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก Smart Kids
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมวิชาการบทบาทแกนนำสุขภาพในงานอนามัยแม่และเด็ก 1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท/คน จำนวน  33 คน   เป็นเงิน      1,650.-     บาท 2. ค่าอาหารว่าง+เครื่องดื่ม วันละ 2 มื้อๆละ 25 บาท/คน/วัน จำนวน 33 คน เป็นเงิน      1,650.-     บาท 3. ค่าชดเชยน้ำมันสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 33 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน       1,650.-     บาท มหกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก Smart Kids ตำบลแป้น 1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท/คน จำนวน  100 คน  เป็นเงิน      5,000.-   บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม วันละ 2 มื้อๆละ 25 บาท/คน/วัน จำนวน 100 คน เป็นเงิน      5,000.-   บาท 3.ค่าพาหนะเดินทางสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 100 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน      5,000.-    บาท 4.ป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย                 เป็นเงิน      1,000.-  บาท 5.ค่าวัสดุสำนักงาน                     เป็นเงิน      2,000.-  บาท 
6.ค่าจัดเตรียมสถานที่พร้อมเครื่องเสียง                เป็นเงิน      2,000.-  บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  24,950.-  บาท (เงินสองหมื่นสี่พันเก้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลสุขภาพตนเองและลูกในครรภ์ ในขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง 2.หญิงหลังคลอดและครอบครัวมีความตระหนักในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน 3.เด็กแรกเกิด 0 – 5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กำหนด มีภาวะโภชนาการส่วนสูงระดับดีรูปร่างสมส่วน มีพัฒนาการสมวัยและมีสุขภาพฟันไม่ผุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลสุขภาพตนเองและลูกในครรภ์ ในขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง
2.หญิงหลังคลอดและครอบครัวมีความตระหนักในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
3.เด็กแรกเกิด 0 – 5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กำหนด มีภาวะโภชนาการส่วนสูงระดับดีรูปร่างสมส่วน มีพัฒนาการสมวัยและมีสุขภาพฟันไม่ผุ


>