กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะขวาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันเฝ้าระวังโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียนวัดเกาะโตนด (จันทร์ศีลราษฎร์ประสิทธิ์)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะขวาง

โรงเรียนวัดเกาะโตนด (จันทร์ศีลราษฎร์ประสิทธิ์)

1.นางสาวศิริพรรณ ประจงกิจ ผู้อำนวยการโรงเรียน
2.นางสาวไอรดา เหมวิภาต ครู คศ.3
3.นางสาววัลลี เทพรำลึก ครู คศ.1
4.นายไพโรจน์ มีมาก ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

โรงเรียนวัดเกาะโตนด (จันทร์ศีลราษฎร์ประสิทธิ์)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

82.00
2 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

 

100.00
3 จำนวนมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

 

9.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

82.00 84.00
2 เพื่อให้สถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 มีเพิ่มขึ้น

ร้อยละของสถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

100.00 100.00
3 เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

จำนวนมาตรการทางสังคมเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19

9.00 9.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 95
กลุ่มวัยทำงาน 9
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 31/03/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้ประกอบการในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้ประกอบการในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้กับนักเรียน บุคลากรทางการศึกษา รวมผู้ประกอบการในโรงเรียนที่เกี่ยวข้อง ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา รวมผู้ประกอบการในโรงเรียนที่เกี่ยวข้อง มีความรู้และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าแอลกอฮอล์ 70% ขนาด 450 ml. จำนวน 20 ขวดๆละ 35 บาท เป็นเงิน 700 บาท
  • ค่าน้ำยาล้างมือหรือสบู่เหลวล้างมือสำหรับบริเวณห้องสุขาของโรงเรียน ขนาด 225 ml จำนวน 20 ขวดๆละ 75 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าถุงมือ จำนวน 2 กล่องๆละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท
  • ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเหรด สำหรับคัดกรองก่อนผ่านประตูโรงเรียนในช่วงเช้า จำนวน 1 เครื่องๆละ 2,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าหน้ากากผ้าสำหรับนักเรียนและบุคลากร จำนวน 208 ชิ้นๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,200 บาท
  • ค่าหน้ากาก Face Shield สำหรับนักเรียนและบุคลากร จำนวน 104 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,600 บาท
  • โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ผืนๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนมีความพร้อมเพื่อเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขอย่างเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน บุคลากรทางการศึกษารวมผู้ประกอบการในโรงเรียนที่เกี่ยวข้อง มีความรู้และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
2. การเตรียมความพร้อมเพื่อเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขในโรงเรียนเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ


>