กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยสุขภาพดีด้วยวัคซีน ตำบลตะปอเยาะปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ

-

หมู่ที่ 1- 5 ตำบลตะปอเยาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เนื่องจากปีที่ผ่านมาได้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนขึ้นในพื้นที่ เช่น โรคหัด ที่ป่วยเป็นโรคส่วนใหญ่ ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ และผลการดำเนินสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของตำบลตะปอเยาะ พบว่ามีอัตราการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์ในกลุ่มอายุ 1 ปี ร้อยละ 90.9

 

81.93

กระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นความสำคัญว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง จึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศ โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญคือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นครอบคลุมจำนวนโรคให้มากที่สุด ให้ครอบคลุม ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุด ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จัดให้มีการให้บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการ วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย และให้บริการโดยไม่คิดมูลค่าแม้ว่าวัคซีนจะไม่ใช่ยารักษาโรค แต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็กๆปลอดภัยจากโรคร้ายที่มากล้ำกรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายการรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานเป็นวิธีที่ง่ายดายปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันเด็กจากโรคบางอย่าง ความเสี่ยงจากโรคเหล่านั้นมากมายหลายเท่าเพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานที่ครบถ้วนเด็กจะต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุทั้งหมดและควรได้รับตรงเวลาอีกด้วย
เนื่องจากปีที่ผ่านมาได้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนขึ้นในพื้นที่เช่น โรคหัด ที่ป่วยเป็นโรคส่วนใหญ่ ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ และผลการดำเนินสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของตำบลตะปอเยาะพบว่ามีอัตราการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์ในกลุ่มอายุ 1 ปี ร้อยละ 90.98ในกลุ่มอายุ 2 ปี ร้อยละ 86.52 ในกลุ่มอายุ 3 ปี ร้อยละ 76.34 ในกลุ่มอายุ 5 ปี ร้อยละ 73.91 ซึ่งสาเหตุเกิดจากผู้ปกครองไม่ตระหนักถึงความสำคัญของวัคซีน หรือกลัวลูกเจ็บไข้ได้ป่วยหลังการรับวัคซีน จึงไม่นำเด็กมารับบริการฉีดวัคซีนการดำเนินงานเชิงรุกยังน้อย ยังไม่เข้าถึงพื้นที่เท่าที่ควร ปัจจุบันกรมควบคุมโรคได้เปลี่ยนเกณฑ์การได้รับวัคซีนของเด็กอายุ 0 - 5 ปี ทำให้ผู้ปกครองบางท่านเกิดความสับสนและอาจจะไม่นำบุตรมาฉีดวัคซีนตามนัด
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะเล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจ รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตระหนักถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีน และเร่งรัดการดำเนินงานสร้างเสริมมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ 0-5 ปี อย่างทั่วถึง พร้อมนำบุตรหลานมารับบริการตามเกณฑ์มาตรฐาน เป็นการลดอัตราการป่วยและอัตราตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในเรื่องวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

1.ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้ด้วยวัคซีน

90.00 100.00
2 2 เพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

2 ผู้ปกครองเด็ก มีความตระหนักในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้ด้วยวัคซีน

90.00 100.00
3 3 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนของเด็ก 0 – 5 ปี

เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานมากกว่า ร้อยละ 90

81.93 90.00
4 4 -เพื่อไม่ให้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ไม่พบอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 -จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุ

ชื่อกิจกรรม
-จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันแก่ผู้ปกครองเด็ก 50 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ผู้ปกครองเด็ก 50 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลรณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 5 ผืน ๆ ละ 700 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ปกครองมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น
  • ความครอบคลุมเด็ก 0 – 5 ปี ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานเพิ่มมากกว่า
  • เด็กอายุ 0-5ปี ไม่ป่วยและตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- กลุ่มผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
- กลุ่มผู้ปกครองมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
- เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานมากกว่า ร้อยละ 90
- ไม่พบอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน


>