กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพมารดาหลังคลอดในชุมชน ตำบลตะปอเยาะ ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ

-

หมู่ที่ 1- 5 ตำบลตะปอเยาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พื้นที่ตำบลตะปอเยาะ มีจำนวนบ้านในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบทั้งหมด 2,134 หลังคาเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 9,531 คน มีหญิงตั้งครรภ์และคลอดบุตรในแต่ละปีประมาณ 116 คน / ปี ซึ่งมารดาหลังคลอดในแต่ละปีไม่ได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอดหรือการฟื้นฟูสุขภาพตามหลักการแพทย์แผนไทยที่ถูกต้องจึงทำให้มารดาหลังคลอดที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูตามหลักการแพทย์แผนไทย และทำให้มีการฟื้นตัวของสุขภาพร่างกายได้ช้ากว่าปกติ และมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดได้ เช่น ปวดกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ ภาวะมดลูกไม่เข้าอู่ ภาระเครียดหลังคลอด ภาวะเลือดไหลเวียนไม่สะดวก มีอาการหนาวสั่น เป็นต้น
จากสภาพปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาล/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องดังกล่าวจึงจัดให้มีการจัดบริการส่งเสริมและฟื้นฟูมารดาหลังคลอดในชุมชน เพื่อให้มารดาหลังคลอดและผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวเข้าถึงบริการ ได้รับการดูแลต่อเนื่องจนสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในระดับหนึ่ง หรือในบางรายอาจจะสามารถกลับมาดำเนินชีวิตประกอบอาชีพโดยตนเองได้ตามศักยภาพให้เร็วที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้มารดาหลังคลอดได้รับการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพที่ถูกต้องโดยผู้ดูแลที่เป็นสมาชิกของครอบครัว/จิตอาสาในชุมชน

1 ร้อยละ ของมารดาหลังคลอดตำบลตะปอเยาะ ได้รับการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพ

50.00 100.00
2 2 เพื่อให้มารดาหลังคลอดสามารถฟื้นตัวและทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้เร็วขึ้น

2ร้อยละของมารดาหลังคลอดที่ได้รับการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพสามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้

50.00 80.00

1 เพื่อให้มารดาหลังคลอดได้รับการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพที่ถูกต้องโดยผู้ดูแลที่เป็นสมาชิกของครอบครัว/จิตอาสาในชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมจิตอาสาฝึกทักษะผู้ดูแล และฟื้นฟูสมรรถภาพมารดาหลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมจิตอาสาฝึกทักษะผู้ดูแล และฟื้นฟูสมรรถภาพมารดาหลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ จำนวน 1 ผืนๆ ละ เป็นเงิน 700 บาท
  • ค่าจัดทำคู่มือการดูแลมารดาหลังคลอด ๕๐ คนๆ ละ ๑ เล่มๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ คนๆ ละ ๑ มื้อๆ ละ ๕o บาท จำนวน ๒ วัน เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๕๐ คนๆ ละ ๒ มื้อๆ ละ ๒๕ บาท จำนวน ๒ วัน เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท
  • ค่าสัมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ ๖oo บาท จำนวน ๒ วันเป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าวัสดุสำหรับการฟื้นฟูมารดาหลังคลอดบุตร (ชุดทับหม้อเกลือ พันผ้าหน้าท้อง) จำนวน 100 คนๆ ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 100 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จิตอาสาที่ได้รับการฝึกทักษะการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพมารดาหลังที่ถูกต้อง สามารถให้บริการดูแลส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอดในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
  • มารดาหลังคลอดสามารถฟื้นตัวและทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้เร็วขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ระบบบริการส่งเสริมสุขภาพและดูแลฟื้นฟูมารดาหลังคลอดในชุมชนที่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
และมีประสิทธิภาพ
2. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของอาการหลังคลอด
3. ลดการครองเตียงในโรงพยาบาล
4. ลดภาระ/ค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัว


>