กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกงาม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสำรวจความเสี่ยงของเกษตรกร ตำบลโคกงาม จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประจำปี ๒๕๖๓

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกงาม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกงาม

1.นางศรัญชน์ภิชฌา ชินภักดี

ตำบลโคกงาม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การใช้สารเคมีในเกษตรกร ในการกำจัดศัตรูพืช ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกรที่
ทำเกษตรปริมาณมาก จำเป็นต้องอาศัยสารมีในการช่วยให้ทำการเกษตรได้ง่ายขึ้น โดยพบว่าสารเคมีที่เกษตรกรใช้ปริมาณมาก คือ สารพาราควอต สารไกลโฟเสต ในการฆ่าหญ้า และสารกลุ่มยาฆ่าแมลง ได้แก่สารออร์กาโนฟอตเฟต และสารไพรีทอย โดยพบมากในพื้นที่อำเภอด่านซ้าย สารต่างๆเหล่านี้จะเข้าไปทำลายอวัยะสำคัญภายในร่างกายในลักษณะ การสะสม โดยทำลายอวัยวะเช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ซึ่งขึ้นออยู่กับการสัมผัสสารเคมีในส่วนใดของร่างกาย จนเมื่อร่างการสะสมสารเคมีไว้จนเกินขีดจำกัดที่ร่างกายไม่สามารถทนได้จึงจะก่อเกิดเป็นโรครุนแรง เช่น มะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ และโรคระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ เป็นต้น
ตำบลโคกงาม เป็นตำบลหนึ่งที่มีการทำเกษตรในลักษณะพื้นที่กว้างและทำเกษตรปริมาณมาก โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง การปลูกยางพารา บางพื้นที่มีการปลูกพืชผัก ที่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงจำนวนมาก จากการใช้สารเคมีในการควบคุม และกำจัดศัตรูพืชจึงกระจาย และขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงดังนั้น ด้วยสภาพต่างๆทำให้ชุมชน ตำบลโคกงาม ยังมีความเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีจำนวนมาก และหากมีการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้อง หรือใช้อย่างไม่ถูกวิธี ก็จะทำให้มีการปนเปื้อนสารเคมี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกงาม ตำบลโคกงาม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงได้จัดทำโครงการสำรวจความเสี่ยงของเกษตรกรจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี ๒๕๖๓ ขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรได้รับการเจาะเลือดเพื่อดูปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อสร้างความตระหนักแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกงาม ในการลดใช้สารเคมีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ๒. เพื่อสร้างความตระหนักแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกงาม ในการลดใช้สารเคมี

๑. ประชาชน ตำบลโคกงาม ที่ประกอบอาชีพเกษตรกร ได้รับการตรวจหาสารเคมีตกค้างร้อยละ ๘๐

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/08/2020

กำหนดเสร็จ 24/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑. จัดทำโครงการ เพื่อเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นตำบลโคกงามอนุมัติ ๒. ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการและวางแผนการดำเนินโครงการตรวจหาสารเคมีกำจัด ศัตรูพืชตกค้าง ๓. เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ในการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเ

ชื่อกิจกรรม
๑. จัดทำโครงการ เพื่อเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นตำบลโคกงามอนุมัติ ๒. ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการและวางแผนการดำเนินโครงการตรวจหาสารเคมีกำจัด ศัตรูพืชตกค้าง ๓. เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ในการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ได้รับงบประมาณอุดหนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลโคกงาม อำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ๑. กระดาษตรวจปริมาณเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอร์เลสในกระแสเลือด
จำนวน ๑๑ ชุด ชุดละ ๑๐๐ test ราคาชุดละ ๖๐๐ บาทเป็นเงิน ๖,๖๐๐ บาท
๒. อุปกรณ์ในการตรวจปริมาณเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในกระแสเลือด - เครื่องเจาะปลายนิ้วมือ Safety Lancet Medisafe solo ๒๓ G จำนวน ๖ กล่อง กล่องละ ๒๐๐ ชิ้น ราคากล่องละ ๕๖๐ บาทเป็นเงิน ๓,๓๖๐ บาท - Micro Haematocrit tube (Red) จำนวน ๑๑ กล่อง กล่องละ ๑๐๐ tube ราคากล่องละ ๑๖๐ บาทเป็นเงิน ๑,๗๖๐ บาท - Slide ขนาด ๒.๕x๗.๕ ซม. จำนวน ๑๖ กล่องๆ ละ ๗๒ แผ่น
กล่องละ ๑๒๐ บาทเป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท¬¬¬ ๓. ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ จำนวน ๑ ป้ายเป็นเงิน๔๕๐ บาท ๔. ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการออกปฏิบัติงานนอกเวลา
ชั่วโมงละ ๗๕ บาท x ๓ ชั่วโมง x ๖ วัน x ๔ คนเป็นเงิน๕,๔๐๐ บาท

รวมเป็นเงิน ๑๙,๓๗๐ บาท (หนึ่งหมื่นเก้าพันสามร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชน ตำบลโคกงาม ที่ประกอบอาชีพเกษตรกร ได้รับการตรวจหาสารเคมีตกค้างร้อยละ ๘๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19370.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,370.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>