กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พนมวังก์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พนมวังก์

ชมรมแอโรบิกตำบลพนมวังก์

ตำบลพนมวังก์ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

10.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

10.00

ปัจจุบันปัญหาโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสาธารณะสุขที่สำคัญของประเทศจากรางงานของกระทรวงสาธารณะสุขพบว่าโรคเป็นปัญหาในชุมชน 5 อันดับเเรกในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้เเก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคระบบกล้ามเนื้อเเละโครงร่างเเละไขมันอุดตันในเส้นเลือดผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่อยู่ในวัยเเรงงานเเละกลุ่มผู้สูงอายุ โรคดังกล่าวเิกดจากการมีพฤติกรรมการบริโภคเเละออกกำลังการที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการดูเเลสุขภาพให้มีความเเข็งเเรงสมบูรณ์ ต้องประกอบไปด้วย การรับประทานอาหารที่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการการมีสุขภาพจิตที่ดี เเละการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัย สามารถส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายเเข็งเเรงพึงปรารถนา เพาระโรคยางโรคสามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ดีกว่าการรอให้เกิดการเจ็บป่วยเเล้วรักษา จะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรเเละงบประมาณในการดูเเลรักษาจำนวนมาก อีกทั้งการรวมกลุ่มออกกำลังกายของคนที่มีหลายกลุ่มวัยทำให้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างวัยที่เเตกต่างกัน ทำให้เกิดความเข้าใจในพฤติกรรมของเเต่ละวัย การส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชนถือเป็นการจัดปัจจัยเอื้อที่สำคัญเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม ส่งผลให้มีสุขภาพที่เเข็งเเรง สุขภาพจิตดี ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันโรคได้อย่างดี ชมรมแอโรบิกตำบลพนมวังก์ จัดทำโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชนขึ้น เพื่อสร้างเสริมสุขภาพภาวะร่างกายของประชาชนในพื้นที่ เเละส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย ให้มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์เเข็งเเรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา เกิดเป็นภาคีเครือข่ายสร้างสุขภาพ เเละส่งผลให้ประชาชนคุณภาพชีวิตที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

10.00 20.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

10.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปหันมาให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายผ่านช่อทางโซเชียลมีเดียร์ต่างๆ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปหันมาให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายผ่านช่อทางโซเชียลมีเดียร์ต่างๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดทำสื่อออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่สนใจเข้ามาร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายตามช่วงวัน/เวลาที่กำหนด

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนทั่วไปได้รับทราบวัน เวลา สถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดหาเครื่องขยายเสียงเคลื่อนที่เพื่อใช้สำหรับการเปิดเพลงประกอบการเต้นแอโรบิกหรือเต้นประกอบจังหวะเพลงอื่นๆ (บาสโลบ)

ชื่อกิจกรรม
จัดหาเครื่องขยายเสียงเคลื่อนที่เพื่อใช้สำหรับการเปิดเพลงประกอบการเต้นแอโรบิกหรือเต้นประกอบจังหวะเพลงอื่นๆ (บาสโลบ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเครื่องขยายเสียงเคลื่อนที่ จำนวน 1 เครื่องเป็นเงิน 10,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีเครื่องขยายเสียงสำหรับเปิดเพลงประกอบจังหวะการเต้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 ออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิกหรือเต้นประกอบจังหวะเพลง (บาสโลบ)

ชื่อกิจกรรม
ออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิกหรือเต้นประกอบจังหวะเพลง (บาสโลบ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกกำลังกายหลังเวลาเลิกงานเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป - ค่าเครื่องดื่มสมุนไพร (20 คน x 10 บาท x 60 วัน) เป็นเงิน 12,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เก็บข้อมูล น้ำหนัก ส่วนสูง เพื่อนำไปคำนวณค่าดัชนีมวลการ (ฺBMI Index) และเส้นรอบพุง ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมตอนเริ่มโครงการ
  • เก็บข้อมูล น้ำหนัก ส่วนสูง เพื่อนำไปคำนวณค่าดัชนีมวลการ (ฺBMI Index) และเส้นรอบพุง ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมตอนเสร็จสิ้นโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการประเมินภาวะสุขภาพของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย มีสุขภาพร่างกายที่เเข็งเเรง ลดการเจ็บป่วยลง
2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสยใจในการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น เเละรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
3.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความสนใจเเละประโยชน์ในการออกกำลังกาย
4.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความรู้รักสามัคคี
5.เป็นเเบบอย่างการส่งเสริมสุขภาพชุมชน


>