กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการห่วงใย ใส่ใจ ดูแล ผู้สูงวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าม่วง

ชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาแปด

1. นายประสิทธิ์สุวรรณบรรดิษ
2. นางพรรณีดวงมะลิ
3. นางรอหยะหวันหนิ
4. นางละม่อมดวงมะลิ
5. นางอำนวยศิระจิตร

ม.8บ้านหนองสาหร่าย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

2.20

จากความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยทำให้อัตราการเกิดน้อยลงประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ปี พ.ศ. 2556 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ : Aged Society) จากปัญหาดังกล่าวทำให้แนวโน้มผู้สูงอายุในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยร้อยละ 95 ของผู้สูงอายุมีความเจ็บป่วยด้วยโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เข่าเสื่อม โรคซึมเศร้า และทุพพลภาพติดเตียง ขณะที่มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ไม่เป็นโรค และผู้สูงอายุเข้าถึงระบบบริการสุขภาพเพียงร้อยละ 56
รัฐบาลให้ความสำคัญกับการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่มมาอย่างต่อเนื่องโดยพบว่าประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นจาก๔ล้านคน (ร้อยละ(6.8 ) ในปี2537เป็น10ล้านคน
(ร้อยละ14.9 ) ในปี2557 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 20.5 ล้านคน(ร้อยละ 32.1) ในปี 2583 และในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุจำนวน 6,394,022 คนพบว่าเป็นกลุ่มติดสังคมร้อยละ 79 และเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มติดบ้านติดเตียงจำเป็นต้องสนับสนุนบริการด้านสุขภาพและสังคมร้อยละ 21 ในปี 2559 รัฐบาลได้มุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียงโดยมีเป้าหมายสำคัญคือทำอย่างไรจะป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมีการเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงและทำอย่างไรผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม โดยทีมสหวิชาชีพในระดับปฐมภูมิซึ่งจัดบริการดูแลด้านสุขภาพถึงที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามปัญหาสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวชุมชนและท้องถิ่นส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี
บ้านหนองสาหร่าย ม.8 ต.ท่าม่วงมีผู้สูงอายุ จำนวน 91 คนพบว่าเป็นผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 82 ร้อยละ 90.1 และเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มติดบ้าน จำนวน 7 คนร้อยละ 7.7 ติดเตียง จำนวน 2 คน ร้อยละ 2.1 ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกขมรมผู้สูงอายุ ประจำ รพ.สต.ตาแปด จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 16.5 ซึ่งน้อยมาก เพื่อเป็นการรองรับสังคมผู้สูงอายุ การพัฒนาระบบบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพิงจึงเป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วนโดยกำหนดกลไกที่สำคัญคือการจัดตั้งตำบลดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (LTC)ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือจะต้องมีข้อมูลผู้สูงอายุเพื่อวางแผนการดูแลช่วยเหลือ มีผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน มีชมรมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ มีการเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงที่บ้านโดยทีมชมรมผู้สูงอายุไม่ทอดทิ้งกัน 100%เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างถ้วนหน้า เท่าเทียม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองสาหร่ายจึงได้จัดทำโครงการห่วงใย ใส่ใจ ดูแล ผู้สูงวัย ขึ้นเพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวโดยเน้นการดำเนินงานแบบครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้นปี 2564 ตั้งเป้าหมายให้ผู้สูงอายุในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกชมรมฯ มากกว่า 50%

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

2.20 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 90
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/05/2021

กำหนดเสร็จ 29/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจำนวน90คน โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ -ค่าอาหารกลางวันมื้อละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 90 คน เป็นเงิน 5,400บาท -ค่าอาหารว่าง มื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 90 คนเป็นเงิน 4,500 บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท - ค่าเอกสาร/ค่าวัสดุในการดำเนินโครงการ เป็นเงิน 3000 บาท - ค่าวิทยากร 600 บ* 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กรกฎาคม 2564 ถึง 23 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของบ้านหนองสาหร่าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17100.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เรื่องการดูแลและส่งเสริมสุขภาพสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เรื่องการดูแลและส่งเสริมสุขภาพสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เรื่องการดูแลและส่งเสริมสุขภาพสุขภาพ จำนวน 90 คน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้ -ค่าอาหารกลางวันมื้อละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 90 คน เป็นเงิน 5,400  บาท -ค่าอาหารว่าง มื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 90 คน เป็นเงิน 4,500 บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท - ค่าเอกสาร/ค่าวัสดุในการดำเนินโครงการ เป็นเงิน 3000 บาท - ค่าวิทยากร 600 บ* 6 ชั่วโมง     เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลและส่งเสริมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17100.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมบ้านในผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง โดยชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.ตาแปด ไม่ทอดทิ้งกัน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านในผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง โดยชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.ตาแปด ไม่ทอดทิ้งกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เยี่ยมให้กำลังใจผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง จำนวน 9 คน
-โดยมอบชุดกำลังใจ ใส่ใจสุขภาพ ผู้ป่วยติดบ้าน  ติดเตียง จำนวน 9 ชุด ชุดละ 500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 600  บาท - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเหมาจ่าย คนละ 200 บาท จำนวน 6 คน เป็นเงิน 1200

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 สิงหาคม 2564 ถึง 27 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สร้างขวัญและกำลังใจแก่ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และผู้ดูแล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>