กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะกอม รหัส กปท. L5194

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมวัยทำงาน ลดเสี่่ยงโรคเรื้อรังตำบลสะกอม ปีงบประมาณ 2564
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม อำเภอเทพา
กลุ่มคน
-
3.
หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงหัวใจหลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือดม (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่านอกจากการบริการทางคลินิกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อดังกล่าวซึ่งการบริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น รวมทั้งการบริการสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเป็นสำคัญ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ถือเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้เช่น ความอ้วน ความเครียด การออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งหากประชาชนไม่สามารถควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไปย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และต้องได้รับการรักษารับประทานยาตลอดชีวิต อีกทั้งหากมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น
ข้อมูลจากการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในกลุ่มวัยทำงาน ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตำบลสะกอม ปี 2563 พบว่า เสี่ยงต่อโรคเบาหวานจำนวน 216 คน ร้อยละ 13.58เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 176คนร้อยละ 5.17ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 478 คน ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 215 คน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มวัยทำงานจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน ตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. ข้อที่1 เพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่
    ตัวชี้วัด : 1.อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง ร้อยละ 5 2.อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง ร้อยละ 5
    ขนาดปัญหา 13.58 เป้าหมาย 0.00
  • 2. ข้อที่2. เพื่อให้ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    ตัวชี้วัด : 1.ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 50 2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรังมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและสามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. ข้อที่3.เพื่อลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย
    ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละของผู้ป่วย CKD ที่มีอัตราการลดลงของeGFR<4ml/min/1.73m2/yr มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 66
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 4. ข้อที่4.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงทุกรายที่ผ่านการตรวจค่าน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหาร(FBS)และมีค่าน้ำตาล100-125mg%ได้รับการตรวจความทนทานต่อกลูโคส(75gm OGTT)
    ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานผ่านการตรวจค่าน้ำตาลในเลือดแบบอดอาหาร(FBS)และมีค่าน้ำตาล100-125mg%ได้รับการตรวจความทนทานต่อกลูโคส(75gm OGTT)ร้อยละ 60
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมที่1 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
    รายละเอียด

    วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ๑. เสนอแผนงานให้อนุกรรมการกลั่นกรอง ๒. เสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อขออนุมัติงบประมาณ ๓. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนกลุ่มเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ ๔. จัดเตรียมเอกสาร/ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๕. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
    ๕.๑ กิจกรรมที่ ๑ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงลดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง - กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง นำมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการเจาะเลือด FPG ทดสอบความทนทานต่อกลูโคส ( 75 กรัม Oral Glucose Tolerance Test (OGTT)
    - ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และให้คำปรึกษารายบุคคล พร้อมชี้แจงผลเลือด FBS
    - ติดตามดูแลกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานด้านสุขภาพ โดยการติดตาม 7 วัน , ๑ เดือน,๓ เดือน

    • ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน
      จำนวน 10 คน x50 บาท เป็นเงิน 500 บาท

    • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน
      10 คน x ๒ มื้อ x ๒๕ บาทเป็นเงิน 500 บาท

    • ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานความดัน
      จำนวน40 คน x 50 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท

    • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานความดัน
      จำนวน 40 คน x ๒ มื้อ x ๒๕ บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

    • ค่าน้ำตาลกลูโคสชนิดผง
      จำนวน 20 กระป๋อง x ๖๕ บาท x ๒ ครั้ง เป็นเงิน 2,600บาท ๖. ประเมินความรู้ผู้เข้ารับการอบรมก่อน - หลังการอบรม ๗. สรุปผลการดำเนินงาน/รายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ทราบ5

    งบประมาณ 7,600.00 บาท
  • 2. กิจกรรมที่ ๒ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
    รายละเอียด
    • จัดปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โรคเรื้อรังเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วย 3 อ2 ส
    • หลัง ๓ เดือน เจาะเลือดชุดใหญ่ โดยนำมาเปรียบเทียบกับผลเลือดครั้งแรก
    • ติดตามดูแลกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานด้านสุขภาพ โดยการติดตาม 7 วัน , ๑ เดือน,๓ เดือน
    • ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน จำนวนคน x50 บาทเป็นเงิน 350 บาท
    • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน
      7 คนx ๒ มื้อ x ๒๕ บาทเป็นเงิน 350 บาท
    • ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มป่วยเบาหวานและความดัน
      จำนวน 40 คน x 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
    • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มป่วยเบาหวานความดัน
      จำนวน 40 คน x ๒ มื้อ x ๒๕ บาทเป็นเงิน 2,000 บาท ๖. ประเมินความรู้ผู้เข้ารับการอบรมก่อน - หลังการอบรม ๗. สรุปผลการดำเนินงาน/รายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ทราบ
    งบประมาณ 4,700.00 บาท
  • 3. กิจกรรมที่ ๓ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคไต ระยะที่ ๑-๓
    รายละเอียด
    • จัดปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โรคเรื้อรังเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วย 3 อ2 ส
    • หลัง ๓ เดือน เจาะเลือดชุดใหญ่ โดยนำมาเปรียบเทียบกับผลเลือดครั้งแรก
    • ติดตามดูแลผู้ป่วยโรคไต ระยะ ๑-๓ ด้านสุขภาพ โดยการติดตาม 7 วัน ,๑ เดือน,๓ เดือน ๖. ประเมินความรู้ผู้เข้ารับการอบรมก่อน - หลังการอบรม ๗. สรุปผลการดำเนินงาน/รายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ทราบ

    • ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม
      สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน
      จำนวน 7 คน x 50 บาทเป็นเงิน 350 บาท

    • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน
      7 คนx ๒ มื้อ x ๒๕ บาทเป็นเงิน 350 บาท

    • ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มป่วยโรคไต ระยะที่ ๑-๓
      จำนวน 40 คน x 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

    • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มสำหรับ กลุ่มป่วยโรคไต ระยะที่ ๑-๓
      จำนวน 40 คน x ๒ มื้อ x ๒๕ บาทเป็นเงิน 2,000 บาท

    งบประมาณ 4,700.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม อำเภอเทพา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 17,000.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑.๑ เพื่อลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ ๑.๒ เพื่อให้ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๑.๓ เพื่อลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย
๑.๔ เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมาย 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองตามมาตรฐานและมีคุณภาพ
1.๕ ผู้ป่วยได้รับการเข้าถึงบริการตรวจรักษาตามเกณฑ์มาตรฐาน

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะกอม รหัส กปท. L5194

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะกอม
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสะกอม รหัส กปท. L5194

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 17,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................