กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัยรุ่น วัยใส ร่วมใจดูแลกันป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ

-

หมู่ที่ 1- 5 ตำบลตะปอเยาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยาย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อลามกในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ ทางเพศของตนเอง เยาวชนจึงมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม และขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา จึงส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
ปัญหาแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไข จากข้อมูลที่ผ่านมาของรายงานจากยูนิเชฟ (UNICEF) เมื่อปี พ.ศ.2552 พบว่า แม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ของไทย มีจำนวนสูงถึง 150,000 คน ซึ่งเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และจากผลการสำรวจในครั้งนี้ก็พบว่า เยาวชนมีความรู้เรื่อง เพศศึกษา การคุมกำเนิด การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งยังมีการรับรู้เรื่องเพศไม่ถูกต้อง เช่นการนับระยะปลอดภัยหน้า7 หลัง7 เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เป็นต้น สำหรับอัตราการคลอดบุตรของแม่วัยรุ่น อายุต่ำกว่า 20 ปี วันละ 336 ราย เฉลี่ยปีละ 122,640เนื่องจากวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีอายุน้อยลงมาก วัยรุ่นเหล่านี้จึงขาดวุฒิภาวะในการจัดการกับปัญหาชีวิตที่เกิดขึ้น วัยรุ่นบางคนไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ทำให้ไม่ได้ดูแลสุขภาพร่างกาย และไม่ได้รับอาหารเสริม บุตรของแม่วัยรุ่นมักประสบปัญหาสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักน้อย บางรายหาทางออก โดยวิธีการทำแท้ง ผลจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เด็กตกเลือด ติดเชื้อ รุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ บางรายก็ต้องออกจากโรงเรียน เนื่องจากอับอายส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่นในอนาคต
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ จึงจัดทำโครงการให้ความรู้กับเยาวชน เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษา และพัฒนาการทางเพศของตนเอง โดยให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหาทางเพศ การแก้ไขและการป้องกันปัญหา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาและพัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาและพัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

60.00 100.00
2 2 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้และทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ

เยาวชนมีความรู้และทักษะในการจัดการกับสถานการณ์  ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ

60.00 100.00
3 เพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการเห็นคุณค่าในตนเองและสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง

เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการเห็นคุณค่าในตนเองและสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง

60.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมกิจกรรมร่วมใจดูแลกันป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมกิจกรรมร่วมใจดูแลกันป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายในการจัดอบรมฯ จำนวน 50 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายในการจัดอบรมฯ จำนวน 50 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน2,500 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เยาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาและพัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7400.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมผีเสื้อถอดบทเรียนเรื่องทักษะการจัดการกับสถานการณ์การปฏิเสธและการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมผีเสื้อถอดบทเรียนเรื่องทักษะการจัดการกับสถานการณ์การปฏิเสธและการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากรร่วม จำนวน 4 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท จำนวน 2 ท่าน เป็นเงิน 4,800 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดกิจกรรมผีเสื้อถอดบทเรียน เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เยาวชนมีความรู้และทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษามีทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องได้
๒.ลดการเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในพื้นที่ตำบลตะปอเยาะ


>