กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชน สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการติดเชื้อตำบลกายูคละ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชน สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการติดเชื้อตำบลกายูคละ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ

นางพนารัตน์ บุญชูช่วย
นางสาวอาซีกีน ลอดิง

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ หมู่ที่ 2 ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตำบลกายูคละเป็นตำบลหนึ่งที่มีประชากรมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ โดยประชากรทั้งหมด 8,130 คน ประมาณ 90% นับถือศาสนาอิสลาม ตามบทบัญญัติอิสลาม ชายชาวมุสลิมทุกคน เมื่อย่างเข้าอายุ 6-12 ปี ต้องขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศทุกราย หรือพิธีเข้าสุนัต ซึ่งจะกระทำโดยหมอบ้าน หรือที่เรียกว่าโต๊ะมูเด็ม
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) คือ การผ่าตัดเพื่อเอาหนังหุ้มปลายของอวัยวะเพศชาย (ส่วนเกิน) ออกไป เพื่อให้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศเปิดทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด สามารถล้างสิ่งสกปรกจากสารคัดหลั่ง เช่น คราบเหงื่อ คราบปัสสาวะที่หมักหมมอยู่ตามบริเวณใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะซึ่งเป็นศูนย์รวมของเชื้อโรค จากการศึกษาวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศมีผลดีทางการแพทย์ เช่น ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งองคชาต ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็กเล็ก ลดความเสี่ยงและป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อีกทั้งยังสามารถป้องกันภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบตันอีกด้วย
ดังนั้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนในตำบลกายูคละได้เข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะเลือดออกมากและการติดเชื้อจากหัตถการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ จึงได้จัดโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชน สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการติดเชื้อตำบลกายูคละขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม

ร้อยละ 90 ของเด็ก เยาวชน ในเขตตำบลกายูคละได้รับบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

50.00 1.00
2 เพื่อลดภาวะเสี่ยงจากภาวะออกเลือดมาก (bleeding) และการติดเชื้อภายหลังทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ

ร้อยละ 98 ของเด็กและเยาวชนที่ได้รับการขลิบฯไม่พบภาวะออกเลือดมาก (Bleeding) และการติดเชื้อหลังทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ

50.00 1.00
3 เพื่อให้ความรู้ รณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ร้อยละ 90 ของเด็ก เยาวชนและผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

100.00 1.00
4 เพื่อให้เด็กและเยาวชน สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ร้อยละ 90 ของเด็กและเยาวชน สามารถเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

50.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/03/2021

กำหนดเสร็จ 10/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ดูแลสุขภาพดี ชีวีปลอดโรคติดเชื้อ

ชื่อกิจกรรม
ดูแลสุขภาพดี ชีวีปลอดโรคติดเชื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดประชุมหารือคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการรวมถึงการประชาสัมพันธ์โครงการ
-สำรวจ ประชาสัมพันธ์และรับสมัครเด็กและเยาวชน ในเขตตำบลกายูคละที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยผ่านทางอสม. สมาชิกสภาอบต.กายูคละ และผู้นำชุมชน
-ประสานวิทยากรเพื่อให้ความรู้ การดูแลสุขภาพ
-จัดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรม
-อบรมให้ความรู้ เรื่อง การดูแลสุขภาพ การการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) การเตรียมร่างกาย ก่อนทำหัตถการขลิบฯ การดูแลแผลเพื่อป้องกันภาวะเลือดออก (Bleeding) และการติดเชื้อของแผลแก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก

งบประมาณ
1.ค่าป้ายไวนิลขนาด 1.2 เมตร * 2.4 เมตร จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน1,500.- บาท
2.ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 1 ชั่วโมงๆละ 600.- บาทเป็นเงิน600.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 เมษายน 2564 ถึง 11 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กมีความรู้การในดูแลสุขภาพและการดูแลแผลขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

กิจกรรมที่ 2 ขลิบหนังหุ้มปลาย ปลอดภัยห่างไกลโรค

ชื่อกิจกรรม
ขลิบหนังหุ้มปลาย ปลอดภัยห่างไกลโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประสานทีมแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อกำหนดวันทำหัตถการขลิบฯแก่เด็กและเยาวชน
-จัดซื้อจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง -จัดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรม
-ทำหัตถการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เวลา 08.30 - 10.30 น.
กลุ่มที่ 2 เวลา 10.30 - 12.30 น.
งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนทางการแพทย์จำนวน 50 คนๆละ800.- บาทเป็นเงิน 40,000.- บาท
2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 50 คนๆละ 25.- บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1250.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 เมษายน 2564 ถึง 11 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
41250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก เยาวชน ในเขตตำบลกายูคละได้รับบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย
2. ไม่พบภาวะภาวะออกเลือดมากและการติดเชื้อหลังทำขลิบ ฯ
3. เด็ก เยาวชนและผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพัน
4. เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมและป้องกันโรค


>