กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อัยเยอร์เวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มซาไก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อัยเยอร์เวง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง

หมู่ 9 บ้านนากอ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กลุ่มซาไกหรือโอรัง อัสลี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มานิซึ่งเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่มีถิ่นอาศัยอยู่ทางภาคใต้ของไทยในเขตป่าเทือกเขาบรรทัดและเขตป่าเทือกเขาบรรทัดสันกาลาคีรี ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดตรัง พัทลุง สตูล สงขลา นราธิวาส และยะลา วิถีชีวิตดั้งเดิมของกลุ่มซาไกมีลักษณะเป็นสังคมล่าสัตว์และเก็บของป่า ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งที่แน่นอน มักมีการอพยพโยกย้ายเพื่อหาที่อยู่ใหม่ที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์กว่า แต่ในปัจจุบันเนื่องจากสภาพป่าที่เริ่มขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้กลุ่มซาไกบางกลุ่มมีวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงจากดั้งเดิม โดยมีการตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยแบบถาวร มีการติดต่อสัมพันธ์กับผู้คนภายนอกเพื่อดำรงหาเลี้ยงชีพ โดยในเขตพื้นที่ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีกลุ่มชนซาไกกลุ่มหนึ่งได้มาสร้างที่พักอาศัยถาวรอยู่ในเขตป่าบริเวณหมู่ที่ 9 บ้านนากอ และได้รับการออกบัตรประจำตัวประชาชนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทำให้กลุ่มซาไกกลุ่มนี้ได้รับสิทธิพลเมืองขั้นพื้นฐานดังเช่นประชาชนไทยทั่วไป
กลุ่มชนซาไกเป็นกลุ่มดำรงชีวิตอยู่กับธรรมชาติ มีที่อยู่อาศัยในพื้นที่ห่างไกลจากสังคมชุมชนทั่วไป ทำให้ขาดโอกาสในการรับความรู้ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ และได้รับการบริการด้านสาธารณสุขไม่ทั่วถึง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตำบลอัยเยอร์เวงตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพในกลุ่มซาไก จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่กลุ่มซาไกขึ้น เพื่อให้กลุ่มซาไกได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ถูกต้อง รู้จักการใช้ยาสามัญประจำบ้านและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ รวมถึงได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคระบาดที่สำคัญในปัจจุบัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มซาไกสามารถใช้ยาสามัญประจำบ้านและมีความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ร้อยละของซาไกสามารถใช้ยาสามัญประจำบ้านและมีความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

80.00
2 เพื่อให้กลุ่มซาไกสามารถดูแลสุขอนามัยและสุขภาพช่องปากได้ถูกวิธี

ร้อยละของซาไกสามารถดูแลสุขอนามัยและสุขภาพช่องปากได้ถูกวิธี

80.00
3 เพื่อให้กลุ่มซาไกมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19

ร้อยละของซาไกความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่กลุ่มซาไก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่กลุ่มซาไก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมให้ความรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่กลุ่มซาไก

  • การใช้ยาสามัญประจำบ้านและปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  • การดูแลสุขอนามัยและรักษาสุขภาพในช่องปาก
  • ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19


    1.2 สนับสนุนยา อุปกรณ์เพื่อดูแลสุขภาพเบื้องต้นและป้องกันโรคโควิด-19


  • ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 5 ชั่วโมง. x 1 คน = 3000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 50 คน =2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 50 คน x 2 มื้อ = 2500บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*3 = 750 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม 35 บาท x40 คน = 1400
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์การแปรงฟัน 35 บาท x40 คน = 1400 บ.
  • ค่ายาสามัญประจำบ้านและชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น 1 ชุด = 1000
  • ค่าหน้ากากผ้า 15 บาทx 40 คน x 2 = 1200
  • ค่าเจลแอลกอฮอล์ล้างมือขนาด 50 ml = 62 บาท x 40 คน = 2480
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มซาไกสามารถใช้ยาสามัญประจำบ้านและมีความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  2. กลุ่มซาไกสามารถดูแลสุขอนามัยและสุขภาพช่องปากได้ถูกวิธี
  3. กลุ่มซาไกมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16230.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,230.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มซาไกสามารถใช้ยาสามัญประจำบ้านและมีความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
2. กลุ่มซาไกสามารถดูแลสุขอนามัยและสุขภาพช่องปากได้ถูกวิธี
3. กลุ่มซาไกมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19


>