กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและใส่ใจดูแลแม่และลูก ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ

-

หมู่ที่ 1-5 ตำบลตะปอเยาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นจุดเริ่มต้นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และ การคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรงครรภ์คุณภาพเป็นเป้าหมายหลักของการให้บริการฝากครรภ์ทุกหน่วยบริการสาธารณสุข ซึ่ง จุดเริ่มต้นที่สำคัญของการฝากครรภ์คุณภาพคือการที่หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก ช่วยในการค้นหาหญิง ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ เกิดความ ปลอดภัยทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ทุกวันนี้ ในโลกยังมีผู้หญิงเสียชีวิต จากปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด และมีอีกนับหมื่นๆ คนที่ประสบภาวะแทรกซ้อน สำหรับประเทศไทย โดยเฉลี่ยผู้หญิงเสียชีวิตจากการตั้งครรภ์และการคลอด วันละ ๑-๒ คนมีแม่และเด็กจำนวนมากเจ็บป่วยรุนแรงถึงพิการ จากสาเหตุส่วนใหญ่ที่สามารถป้องกันได้อันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดลูกจะลดลงได้ เมื่อผู้หญิงมีสุขภาพแข็งแรง
ภายในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะจังหวัดนราธิวาส งานอนามัยแม่และเด็กยังเป็นปัญหาสาธารณสุขเฉพาะพื้นที่โดยเฉพาะอัตราการฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ปี 2563 ครอบคลุมร้อยละ 82.91 เป้าหมายร้อยละ 80 อัตราฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพครอบคลุมร้อยละ 68.75 เป้าหมายร้อยละ 70 การคลอดในสถานบริการครอบคลุมร้อยละ 100 เป้าหมายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 97 อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่ภาวะซีดครั้งที่ 1 ปี 2563 ครอบคลุมร้อยละ 16.20 เป้าหมายไม่เกิน ร้อยละ 10 ภาวะซีดใกล้คลอด ครอบคลุม 11.1 เป้าหมายไม่เกิน 10 หญิงตั้งครรภ์เสี่ยง 5 กลุ่มโรค 14 ราย ได้รับการเยี่ยมบ้านหลังคลอดโดยเจ้าหน้าที่ ครอบคลุมร้อยละ 78.50 ช่วงปีที่ผ่านมาได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานให้เหมาะสมกับพื้นที่และเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อแก้ไขงานอนามัยแม่และเด็ก สถานการณ์ความไม่สงบมีผลต่อการทำงานเชิงรุกและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรได้รับการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำ ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับชุมชนจะมีส่วนช่วยค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ให้มาฝากครรภ์ก่อน12สัปดาห์และจะได้คันหาปัจจัยเสี่ยงพร้อมให้การดูแลได้อย่างเหมาะสมตลอดจนสามารถติดตามเยี่ยมหลังคลอดได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะจึงได้จัดทำโครงการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก ขึ้นเพื่อที่จะให้หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการดูแลที่มีคุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัยตลอดจนเพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้บรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ ลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์

1.1หญิงตั้งครรภ์ด้รับการอบรมความรู้โรงเรียนพ่อแม่ครั้งที่1 และ2 ร้อยละ 80 1.2 หญิงตั้งครรภ์ตั้งมีภาวะโลหิตจาง น้อยกว่า ๓๓ % 1.3 หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน ๑๒สัปดาห์มากกว่าร้อยละ ๘๐ 1.4 หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๘๐ 1.5 หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านร้อยละ๑๐๐

50.00 80.00
2 เพื่อสร้างกระแสและรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพแม่และเด็กแก่ชุมชน

-ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชน รับรู้การฝากครรภ์ก่อน12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ครบ 5ครั้งตามเกณฑ์

0.00 100.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลหลังคลอดโดยการนวด/ประคบ/อบสมุนไพร

-ร้อยละของหญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมบ้านและการดูแลหลังคลอดโดยการนวด/ประคบ/อบสมุนไพร

20.00 60.00
4 เพื่อฟื้นฟูความรู้อสม.ด้านการดูแลอนามัยแม่และเด็ก

ร้อยละของจำนวนอสม.ได้รับการฟื้นฟูความรู้ด้านอนามัยแม่และเด็กประจำปี

60.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่ และให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่ และให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับโรงเรียนพ่อแม่ จำนวน 2 รุ่น ๆละ 50 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท 1 ครั้ง เป็นเงิน 5,000.-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับโรงเรียนพ่อแม่จำนวน 2 รุ่น ๆละ 50 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 5,000.-บาท
  • ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โรงเรียนพ่อแม่ จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 700.- บาท
  • จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์การฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์/ฝากครรภ์ครบ 5ครั้งตามเกณฑ์ เพื่อลดเสี่ยงระว่างตั้งครรภ์ในชุมชน จำนวน 5 หมู่บ้าน ๆละ 1 ผืน ๆละ 700 บาท เป็นเงิน 3,500.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • หญิงตั้งครรภ์ได้รับการอบรมความรู้โรงเรียนพ่อแม่
  • หญิงตั้งครรภ์ตั้งมีภาวะโลหิตจาง ลดลง
  • หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน ๑๒สัปดาห์ มากขึ้น
  • หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์เพิ่มมากขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14200.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับจัดอบรมหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด จำนวน 20 คน ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับจัดอบรมหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด จำนวน 20 คนๆ ละ 2มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน1,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับการการประชุมและสาธิตจัดทำอาหารเพิ่มธาตุเหล็กสูงในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดประจำคลินิกซีดเดือนละครั้ง จำนวน 20 คนๆละ 1 มื้อๆละ25 บาท 3 ครั้ง เป็นเงิน 1,5000.-บาท
  • ค่าวัตถุสาธิตในการทำเมนูอาหารธาตุเหล็กสูงในชุมชน จำนวน 3 ครั้งๆละ 1,500.-บาท เป็นเงิน 4,500.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านทุกคน
  • หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมบ้านและการดูแลหลังคลอดโดยการนวด/ประคบ/อบสมุนไพรทุกราย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพ อสม.ในด้านการดูแลหญิงหลังคลอดและการติดตามเยี่ยมบ้านหลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพ อสม.ในด้านการดูแลหญิงหลังคลอดและการติดตามเยี่ยมบ้านหลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับการอบรมฟื้นฟูและเพิ่มศักยภาพอสม.ในด้านการดูแลอนามัยแม่และเด็ก จำนวน 2 รุ่นๆละ 50 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 5,000.-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับการอบรมฟื้นฟูและเพิ่มศักยภาพ อสม.ในด้านการดูแลอนามัยแม่และเด็ก จำนวน 2 รุ่นๆละ 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000.-บาท
  • ค่าไวนิล 1 แผ่น 700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • อสม.ที่เข้ารับการอบรมได้รับการฟื้นฟูความรู้ด้านการดูแลหญิงหลังคลอดและการติดตามเยี่ยมบ้านหลังคลอด
  • หญิงวัยเจริญพันธ์ในชุมชนรับรู้การประชาสัมพันธ์รณรงค์การฝากครรภ์ก่อน12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ครบ 5ครั้งตามเกณฑ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการบรมโรงเรียนพ่อแม่ครั้งที่1/2 มีความรู้ในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์มีความรู้เรื่องภาวะซีดในระยะตั้งครรภ์ตลอดจนได้รับการดูแลหลังคลอด
2.ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักในการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ฝากครรภ์ครบ5 ครั้งตามเกณฑ์
3.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดได้รับการดูแลติดตามอย่างต่อเนื่องจนคลอด
4.หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมบ้านและได้การดูแลหลังคลอดโดยการนวด/ประคบ/อบสมุนไพร
5.อสม.ได้รับการฟื้นฟูความรู้งานอนามัยแม่และเด็ก


>