กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น ประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบองอ

ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” กรมอนามัยได้กำหนดนิยาม หมายถึง จำนวนการคลอดบุตรมีชีวิตของหญิงอายุ 15-19 ปี หรือ 10-14 ปี ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี (Adolescent birth rate) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ.2573 โดยได้กำหนดให้การ ลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วย การสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงแต่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากรที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย
สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดนราธิวาสตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559-2561 พบอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี เท่ากับ 27.22, 27.84 และ 21.06 ต่อประชากรหญิงอายุ15-19 ปี พันคน ตามลำดับ สำหรับปีงบประมาณ 2562 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – มกราคม 2562 ประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี จำนวน 29,143 คน คลอดมีชีพ จำนวน 246 คน คิดเป็นอัตราเท่ากับ 8.44 ต่อประชากรหญิง อายุ 15-19 ปี พันคน (เป้าหมายไม่เกิน 38 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี พันคน) แต่ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ซึ่งพบว่าร้อยละของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อายุต่ำกว่า 20 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559-2561 เท่ากับร้อยละ 11.44, 19.44 และ 19.57 ตามลำดับ สำหรับในปี 2562 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561- มกราคม 2562 มีมารดาอายุ ต่ำกว่า 20 ปี คลอดและแท้งบุตรจำนวน 344 คน ตั้งครรภ์บุตรคนที่ 2 ขึ้นไป จำนวน 58 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.86 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 14.5 ) ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้
การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องเพศศึกษา ประกอบกับขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสมจากครอบครัว รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง จึงอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆตามมา ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์แก่เด็กวัยเรียนและเยาวชน ปีงบประมาณ 2562 เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เยาวชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (โรคเอดส์) และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เยาวชน 2. เพื่อให้กลุ่มวัยรุ่นมีทักษะชีวิตในการป้องกัน ตัวเองทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม 3. เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและเยาวชนตำบลบองอ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและเยาวชนตำบลบองอ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x3 เมตรจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท
    • ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง x 600 บาท x จำนวน 2 รุ่นเป็นเงิน 7,200 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท 80 คน เป็นเงิน 4,000 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
    • ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ จำนวน 11 ป้าย x 750 บาทเป็นเงิน 8,250 บาท
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 6,800 บาท หมายเหตุ:ค่าใช้จ่ายถัวเฉลี่ยทุกรายการ

กำหนดการ โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น ประจำปีงบประมาณ 2564 จำนวน 2 รุ่นๆละ 1 วัน
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน 08.30 - 09.00 น. พิธีเปิดโครงการ 09.00 - 10.00 น. บรรยายเรื่อง “เส้นทางชีวิต” 10.00 - 10.30 น. รับชมคลิบวีดีโอ “my beautiful woman” พร้อมให้นักเรียนแสดงความรู้สึกต่อคลิบวีดีโอ 10.30 - 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 - 12.00 น. บรรยายเรื่องทางเลือกทางไหน 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง 13.00 - 14.30 น. บรรยายเรื่อง รู้ทันก่อนเลือก 14.30 - 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.45 - 16.00 น. บรรยายเรื่อง เลือกแล้วรับผิดชอบ

หมายเหตุ กำหนดการและเวลา อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (โรคเอดส์) และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
2.การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น ตำบลบองอมีจำนวนลดลง
3.เยาวชนและชุมชนเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (โรคเอดส์) และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
4.เยาวชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (โรคเอดส์) และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร


>