กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิปะสะโง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเครือข่าย อสม.ร่วมใจ ใส่ใจ ดูแลผู้สูงอายุ ตำบลลิปะสะโง ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิปะสะโง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลิปะสะโง

นางสาวรอมือเลาะสาอุ

ตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลิปะสะโงอำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานีพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนั้น ควรพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุรวมไปถึงการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุจากการสำรวจสุขภาพของผู้สูงอายุพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจสังคมรวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆ ทั่วไปเริ่มอ่อนแอและเกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีความเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและสังคมชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลิปะสะโงได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพผู้สูงอายุ รวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆ ด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการเครือข่าย อสม. ร่วมใจ ใส่ใจ ดูแลผู้สูงอายุ ตำบลลิปะสะโง ปี 2564 ขึ้นโดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน ทั้งนี้ ได้มุ่งเน้นในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพ

ร้อยละของผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพ  ร้อยละ 100

100.00 100.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง

ร้อยละของผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเองร้อยละ 90

0.00 90.00
3 ผู้สูงอายุได้มีการพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์

ผู้สูงอายุได้มีการพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

0.00 70.00
4 ผู้สูงอายุได้มีการพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์

ผู้สูงอายุได้มีการพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

0.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 130
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อสม.ตำบลลิปะสะโง 39
เจ้าหน้าที่ รพ.สต. 4

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีการดำเนินงาน
1.จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขทุกคนเพื่อชี้แจงรายละเอียดเพื่อจัดทำโครงการในการสำรวจกลุ่มเป้าหมายและรายชื่อผู้สูงอายุให้เป็นปัจจุบัน
2.ให้อาสาสมัครสาธารณสุขแต่ละหมู่ชี้แจงและประชาสัมพันธ์แก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุ
3.จัดกิจกรรมโครงการ
3.1จัดกิจกรรม Focus group แก่ผู้สูงอายุเป็นรายหมู่บ้าน เพื่อเป็นการตรวจคัดกรองสุขภาพ จัดให้ความรู้สาธิต และฝึกปฏิบัติแก่ผู้สูงอายุ โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ลิปะสะโง และ อสม.
3.2จัดเวทีสนทนาในการแลกเปลี่ยนของผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้าน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกมาทำกิจกรรมกลุ่ม ลดการเป็นผู้สูงอายุติดบ้าน/มีอาการซึมเศร้า
3.3แจ้งผลการคัดกรองภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ และวางแผนให้การดูแล ติดตาม เป็นรายบุคคลตามผลการประเมินจากเจ้าหน้าที่
4.สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพร้อยละ 100
2.เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง ร้อยละ 90
3.ผู้สูงอายุได้มีการพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ร้อยละ 80
4.ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ 70


>