กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมบริโภคผัก ผลไม้เพื่อสุขภาพเด็กวัยเรียน ลดภาวะทุพโภชนาการ โรงเรียนบ้านกูยิ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

โรงเรียนบ้านกูยิ

โรงเรียนบ้านกูยิ

โรงเรียนบ้านกูยิ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโภชนาการเกินและภาวะขาดสารอาหารในเด็กไทย เป็นปัญหาสำคัญที่ควรให้ความสำคัญและทุกคนจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยวัยเรียน ผอม เตี้ย อ้วนเพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ การกินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ กินผัก ผลไม้น้อยลง การบริโภคขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเพิ่มขึ้นและกิจกรรมทางกายและการ ออกกำลังกายน้อยลง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กไทย
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญทั้งปัจจุบันปัญหาภาวะโภชนาการเกินและภาวะขาดสารอาหารในเวลาเดียวกันโดยเฉพาะในวัยเด็ก ผลกระทบอันเกิดจากภาวะผอมและเตี้ยของเด็กไทยจะส่งผลต่อภาวะไอคิวของเด็กไทยที่มีค่าเฉลี่ยเพียง 98.59 แม้ว่าจะจัดอยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ค่อนข้างไปทางต่ำกว่าค่ากลางมาตรฐานสากลซึ่งควรจะมีไอคิวอยู่ที่ 100 ในขณะที่เด็กเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, จีน และสิงคโปร์อยู่ที่ 105-108 ส่วนผลกระทบความอ้วนในเด็กพบว่า เด็กไทยที่อ้วนเกินครึ่งมีภาวะไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ และหนึ่งในสามของเด็กอ้วน จะมีภาวะความดันโลหิตสูงและน้ำตาลในเลือดสูง ที่สำคัญเด็กที่อ้วนจะมีโอกาสโตเป็นผู้ใหญ่อ้วนสูงถึงร้อยละ 30 เมื่อผู้ใหญ่อ้วนจะตามด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยวัยเรียน ผอม เตี้ย หรืออ้วน เพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งจากการสำรวจโภชนาการเด็กไทย วัย 6-14ปี จำนวน 1 ใน 5 คน กินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้ามีมากถึงร้อยละ 60ที่ไม่ได้กินเด็กวัย 6- 14 ปี ร้อยละ 68 และ 55 กินผักและผลไม้น้อยกว่า 1 ส่วนต่อวันตามลำดับ ในขณะที่เด็กไทย 1 ใน 3 กินอาหารแป้ง ไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูงเป็นประจำ ที่น่าตกใจเด็กไทยวัยเรียนร้อยละ 49.6กินขนมกรุบกรอบเป็นประจำ ซึ่งขนมกรุบกรอบส่วนมากจะมีไขมัน น้ำตาล โซเดียม และให้พลังงานสูง ส่วนอาหารกลางวันมีเด็กวัยเรียนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้กิน ถึงได้กินแต่เป็นอาหารกลางวันที่ขาดคุณภาพและไม่เพียงพอ ส่งผลให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน ผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เต็มตามศักยภาพที่ควรจะเป็น
ด้วยเหตุนี้โรงเรียนบ้านกูยิ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการของนักเรียนจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการบริโภคผัก ผลไม้เพื่อสุขภาพในโรงเรียนขึ้น โดยเน้นที่การปรับอาหารกลางวันของแม่ครัว และเพิ่มให้ในมื้ออาหารนั้นมีสัดส่วนของปริมาณผัก ผลไม้ในกระบวนการทำอาหารกลางวันถูกต้องตามหลักโภชนาการ พร้อมทั้งสร้างความรู้/ความตระหนักให้นักเรียนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพตลอดจนลดการบริโภคน้ำหวานลง และเพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีของนักเรียนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะในการบริหารจัดการเรื่องการจัดการอาหารและโภชนาการ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีความรู้หลังการอบรม

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลตนเองด้านพฤติกรรมการบริโภคผัก ผลไม้
  • นักเรียนจัดทำและขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ในโรงเรียน อย่างน้อย 1 โครงงาน
0.00
3 เพื่อให้นักเรียนบริโภคผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น

นักเรียนบริโภคผัก ผลไม้เพิ่มมากขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องบริโภคผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพเด็กวัยเรียน ลดภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 140 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องบริโภคผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพเด็กวัยเรียน ลดภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 140 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 140 คน จำนวน 1 มื้อ
    มื้อละ 50 บาท  เป็นเงิน 7,000 บาท
  • อาหารว่างในวันอบรม จำนวน 140 คน 1 มื้อ
    มื้อละ 25 บาท  เป็นเงิน 3,500  บาท
  • ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง X 600 บาท   จำนวน 1 คน เป็นเงิน 3,600  บาท
  • ค่าป้ายไวนิล 1 ผืน  ขนาด 4 ตารางเมตร จำนวน                   1 ผืนๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน  1,000 บาท
  • ค่าเอกสารประกอบการอบรม/ค่าจัดทำแผ่นพับ เป็นเงิน  1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16100.00

กิจกรรมที่ 2 จัดบอร์ดนิทรรศการ 2 บอร์ด

ชื่อกิจกรรม
จัดบอร์ดนิทรรศการ 2 บอร์ด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ฟิวเจอร์บอร์ด (65x122cm.x3mm) คละสี 6 x 50 บาท = 300 บาท
  • โปสเตอร์สี สองหน้าบางคละสี 30 x 6 บาท = 180 บาท
  • โฟมเทปสองหน้า110/1 (24mmx5m) 3 x 280 บาท = 840 บาท
  • เยื่อกาว 2 หน้าบาง (24mmx20y) 3 x 40 บาท =120 บาท
  • สติ๊กเกอร์ตีเส้นเลเซอร์ 10 x 30 บาท = 300 บาท
  • กระดาษการ์ดขาว 180 แกรม 5 x 80 บาท = 400
  • ดอกไม้ประดิษฐ์ คละแบบ 10 x 50 บาท = 500 บาท
  • กระดาษถ่าย A4 ลัง 1 x 725 บาท = 725 บาท
  • กระดาษชาร์ทสี แผ่นใหญ่ 20 x 10 = 200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
31 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7530.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,630.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของนักเรียนดีขึ้น ได้แก่ ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะซีด และปัญหาเรื่องสุขภาพนั้น ที่มีการพัฒนาและแก้ไขไปพร้อมกัน


>