กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเผชิญการระบาดของCOVID-19

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

กองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน

1. นายสตอปา บ่อเตย
2. นายอาลี มูณี
3. นายยะ สมาแอ
4. นางสุดสายใจ บ่อเตย
5. นางสาวนูรมา ยูโซะ

บ้านบ่อเตย หมู่ที่1ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

25.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ด้านร่างกาย จิต สังคม และปัญญา

 

25.00
3 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

 

50.00

จากสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด2019ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้โรคไวรัสโคโรน่าหรือCOVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์ระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้ สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัสCOVID-19 ,จะทำให้มีอาการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื่อหุ้มปอดอย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการตายไม่ได้สูงมากนักเพียง1-3% ร้ายแรงน้อยกว่าSAR ซึ่งมีอัตราการตาย10% ดังนั้น มาตรการการป้องกันไม่ให้ติดโรคCOVID-19นั้นถือว่าจำเป็น
ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อไม่ให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศหรือสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้องทั้งด้วยแอลกอฮอล์เจล สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี การไม่นำเอามือมาป้ายหรือจับหน้า ความรู้และเข้าใจการดำเนินไปของโรคเป็นสิ่งสำคัญ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

25.00 85.00
2 เพื่อให้มีครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ด้านร่างกาย จิต สังคม และปัญญา ลดลง

ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ทั้งทางกาย จิต สังคม และปัญญาลดลง

25.00 12.00
3 เพื่อให้สถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 มีเพิ่มขึ้น

ร้อยละของสถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

50.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 785
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มิถุนายน 2564 ถึง 26 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการหมู่บ้านรับทราบถึงบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 เคาะประตูบ้านประชาสัมพันธ์/คัดกรองกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
เคาะประตูบ้านประชาสัมพันธ์/คัดกรองกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ลงเคาะประตูบ้านเพื่อคัดกรองและให้ความรู้กับประชาชน
  • แบ่งสายลงพื้นที่ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ และคัดกรอง
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำลงพื้นที่แนะนำความรู้แก่ประชาชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19 และสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19 และสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • การทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ เช่น ตลาดสด ห้องน้ำสาธารณะ ศาสนสถาน เพื่อฆ่าเชื้อโรค และจัดตั้งเจลแอลกอฮอล์ล้างมือหรืออ่างล้างมือและสบู่ไว้ในบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง
  • การปรับรูปแบบตลาด แหล่งจำหน่ายสินค้า ให้มีระยะห่างของร้านค้า ผู้ขาย-ผู้ซื้อ อย่างน้อย 1-2 เมตร สร้างวินัยการมีระยะห่างเข้าแถวซื้อสินค้า วัดไข้ก่อนเข้าตลาด หรือจัดทำตลาดออนไลน์
  • การหาจิตอาสา ที่สมัครใจในการช่วยเหลือการปฎิบัติงานงานโควิด-19 ในระดับชุมชน/หมู่บ้านเพื่อช่วยเหลือคัดกรองเฝ้าระวังประชาชนในชุมชน เช่น ให้คำแนะนำ วัดอุณหภูมิแก่กลุ่มเสี่ยงผู้กักตัวตามมาตรการ(Local Quarantine ) จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่จำเป็นเพื่อป้องกันโรค -การจัดตั้งจุดคัดกรองในชุชน ค่าใช้จ่าย -เครื่องเทอร์โมิเตอร์วัดอุณหภูมิร่างกายแบบอินฟาเรดพร้อมขาตั้ง จำนวน2เครื่อง ราคาเครื่องละ2900บาท เป็นเงิน5800บาท

  • หน้ากากอนามัย ขนาดบรรจุ50ชิ้น/กล่อง จำนวน 370 กล่อง ๆละ 125 บาท เป็นเงิน 46,250 บาท

  • แอลกอฮอล์ 70% ขนาด 500 มิลลิลิตร จำนวน 370 ขวด ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 37,000 บาท
  • น้ำยาทำความสะอาดพื้น (โซเดียมไฮโปคลอไรด์) ขนาด 2500 มิลิลิตร จำนวน 5 ขวด ๆละ 115 บาท เป็นเงิน 575 บาท -ป้ายประชาสัพันธ์โครงการ ขนาด 1.22.4 ม.จำนวน 1 ป้าย ราคาแผ่นละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท -ชุดกันฝนในการป้องกันโรค ราคาชุดละ25บาท จำนวน30ชุด เป็นเงิน750บาท -ถุงมือเบอร์L จำนวน 5 กล่อง ราคากล่องละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท -ค่าอาหารว่างสำหรับผู้ที่ประจำจุดตรวจคัดกรอง มื้อละ 25 บาท/คน วันละ10คน/วัน วันละ 1 มื้อ เป็นเงิน 250 บาท30วัน เป็นเงิน 7,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 10 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19 และความเข้มแข็งของชุมชน
  • วัสดุ/อุปกรณ์สำหรับการป้องกันโรคโควิด-19 เพียงพอ -ประชาชนมีควารู้ ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19ได้ -มีจุดคัดกรองในหมู่บ้าน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
99875.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,875.00 บาท

หมายเหตุ :
*** ทุกรายการสามารถัวเฉลี่ยกันได้ ***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1ประชาชนมีความเข้าใจเรื่องโรคCovid-19
2ประชาชนมีพฤติกรรมที่สามารถป้องกันCovid-19


>