กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเสริมพลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไผ่โทน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมพลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไผ่โทน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังปึ้ง

นายสมบูรณ์ ปิติจะ,นางทิพวัลย์ ณัฐจิรสุวรรณ,นางสาวศศิพิมพ์ จันทิ และคณะ

ดำเนินการในพื้นที่หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.วังปึ้ง (หมู่ 4,5,7 และ หมู่ 8 ตำบลไผ่โทน)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรืิที่เรียกว่า โรควิถีชีวิต 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับประเทศ ซึ่งนับวันทวีความรุนแรงขึ้นและเป็นภาระต่อระบบบริการสุขภาพและค่าใช้จ่ายทั้งต่อครอบครัว ชุมชนสังคมประเทศ ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมบริโภคอาหารที่ไม่สมดุลบริโภคเกิน เ๕็มจัด หวานมาก มันมาก การเคลื่อนไหวทางการน้อย การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา รวมถึงภาวะเคลียด ซึ่งหากไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรควิถีชีวิต พิการ และเสียชีวิตตามมา การรณรงค์ ส่งเสริมให้ประชาชนได้ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทั้งในประชาชน กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ได้มีการปกิบัติ ตามแนวทางการดำเนินงาน ของกระทรวงสาธารณสุขในการลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยให้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและมีความ ยั่งยืน ซึ่งต้องอาศัยการติดตามความเปลี่ยนแปลงด้านการตรวจสุขภาพเชิงรุกในชุมชน รวมถึงการเฝ้าระวังพฤติกรรมต่อการเกิดโรค โดยเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ. 2 ส. (ออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์ ไม่ดื่มสุรา และไม่สูบบุหรี่) และส่งเสริมการสร้างมาตรการสังคมในชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพ รณรงค์ งดอาหาร หวาน มัน เค็ม รวมถึงการหันมาเอาใจใส่สุขภาพตัวเอง ที่เรียกว่า "ชุมชนสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย" จากผลการดำเนินคลินิกโรคเรื้อรังพบว่ารักษาพยาบาลและการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวั่งปึ้ง พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่อมขึ้นในทุกปี โดยเฉพาะในปี 2562 พบผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ 8 คน จากผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงสุขภาพกลุ่มประชาชนทั่วไปตามนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังปึ้ง ปีงบประมาณ 2562 จากการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยง อายุ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 426 คน พบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 3.29 ของกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด ซึ่งสถานการณ์โรคดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหากประชาชนยังไม่ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว ซึ่งหากเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ป่วยจะทำให้มีภาระด้านการดูแลรักษาพยาบาลไปจนตลอดชีวิต โดยจะมีผลกระทบต่อทั้งตนเอง ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับประเทศ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังปึ้ง จึงได้จัดทำโครงการเสริมพลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปี 2563 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับความรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลคนเอง
2.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้องเหมาะสมกับตนเอง
3.เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่
4.เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน
ตัวชีวัดความสำเร็จ
1.ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ มีระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ (ค่า Hb A1C ครั้งสุดท้ายน้อยกว่าร้อยละ 6.5 และ ค่า FBS ต่ำกว่า 130 mg/dl ของการตรวจติดต่อกัน 3 ครั้งX
2.อัตราเพิ่มของผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ น้อยกว่าร้อยละ 5
3.อัตราเพิ่มของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง น้อยกว่าร้อยละ 2.4

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุม/อบรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดประชุม/อบรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สำรวจ/จัดเตรียมกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้ารับการอบรม 2.จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนประสบการณ์ในกลุ่มเป้าหมายและผู้ป่วยเบาหวานและประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง จำนวน 40 คน เป็นเวลา 1 วัน งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ จำนวน 40 คน คนละ 70 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 3.ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท 4.ค่าถ่ายเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 400 บาท 5.ค่าจัดทำตัวอย่างอาหารสำหรักผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 8 ชุด ชุดละ 100 บาท เป็นเงิน 800 บาท 6.ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท งบประมาณในแต่ละกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม นำไปสู่การลดเสี่ยงโรคได้ 2.จำนวนการเกิดโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานรายใหม่ลดลง 3.ลดจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะโรคแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัวมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ติดตามประเมินผลการดูแลตนเองของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ติดตามประเมินผลการดูแลตนเองของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตของกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเพื่อประเมินผลการดูแลตนเอง 2.ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่ไม่มาตรวจตามนัดผุ้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตไม่ได้ 3.จัดสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม นำไปสู่การลดเสี่ยงโรคได้ 2.จำนวนการเกิดโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานรายใหม่ลดลง 3.ลดจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะโรคแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัวมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 เมษายน 2564 ถึง 22 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มเสี่ยงมีภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า ลดลง 2.จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเสี่ยงลดลง 3.ประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ความเสี่ยงภาวะซ้อน มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม นำไปสู่การลดเสี่ยงโรคได้
2.จำนวนการเกิดโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานรายใหม่ลดลง
3.ลดจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะโรคแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัวมากขึ้น
4.จำนวนผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มเสี่ยงมีภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า ลดลง
5.จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเสี่ยงลดลง
6.ประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ความเสี่ยงภาวะซ้อน มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม


>