กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการออกกำลังกายโดยใช้สมาธิบำบัด (SKT) ฯ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่างิ้ว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่างิ้ว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ แต่โรคภัยก็คุกคามมนุษย์มากขึ้นเช่นกัน ภัยสุขภาพที่คุกคามมนุษย์มากที่สุดคือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมผิดปกติ ดังนั้นต้องปรับใจและต้องใช่สมาธิบำบัดเป็นตัวช่วยที่สำคัญ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยอและการแพทย์ทางเลือกได้เล็งเห็นความสำคัญของสมาธิบำบัดและได้ดำเนินโครงการสมาธิบำบัดในระบบสุขภาพอย่างต่อเนื่อง การฝึกสมาธิบำบัดได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก เพื่อนำมาบำบัดโรคต่างๆ ที่ยังเป็นปัญหาในการรักษาของแพทย์ปัจจุบัน การฝึกสมาธิช่วยบำบัดโรคเรื้อรังต่างๆได้ดี ทำให้ผลการรักษาดีขึ้น ใช้ยาน้อยลง หรืองดการใช้ยาได้ โดยหลักการของสมาธิคือการทำจิตใจให้สงบอันจะส่งผลให้การทำงานของร่างกายเป็นไปตามปกติ จากการพัฒนาเทคนิคความเชื่อมโยงของการปฏิบัติสมาธิกับการทำงานของระบบประสาทประกอบกับการวิจัยเรื่องสมาธิเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของ รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสาธาณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าการทำสมาธิแบสมถะ หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ นั้นสามารถช่วยให้คลายเครียดได้อย่างดี ซึ่งการฝึกควบคุมประสาทสัมผัสทั้ง 6 อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น การสัมผัส และการเคลื่อนไหวด้วย จะทำให้การทำสมาธินั้นมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบอารมณ์และพฤติกรรมระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ระบบไหลเวียนเลือด และระบบอื่นๆในร่างกายได้เป็นอย่างดี ซึ่งการฝึกสมาธิบำบัดนั่นมีทั้งหมด 7 เทคนิค หรือเรียกว่า SKT 1 - 7 ซึ่งสามารถทำให้ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตที่สูงลดลงได้ และจิตใจสงบมากขึ้น
สถานการณ์โรคเรื้อรัง NCD ที่เป็นปัญหาของพื้นที่ตำบลท่างิ้ว ปี 2563 พบว่า มีผู้ป่วยความด้นโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ 241 ราย คิดอัตราป่วยต่อแสนประชากร 37.30 จากจำนวนผู้โรคความดันโลหิตสูงจำนวน 646 ราย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารเค็ม รับประทานยาไม่ต่อเนื่อง การลืมรับประทานยา ส่งผลให้ระดับความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท จนอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรงเป็ฯนอันตรายต่อชีวิตได้ จากปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่บุคลากรทางสาธาณสุขต้องให้ความสนใจ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่างิ้ว ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ได้ตระหนักถึงปัญหาของการควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการออกกำลังกายโดยใช้วิธีสมาธิบำบัด (SKT) กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพื่อที่จะทำให้ความดันโลหิตสูงลดลงได้ และสามารถนำการฝึกอบรมสมาธิบำบัดไปใช้ในครอบครัวเผยแพร่ให้กับคนในชุมชนได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ได้รับความรู้เกี่ยวกับสมาธิบำบัด SKT

1.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับความรู้เกี่ยวกับสมาธิบำบัด SKT มากกว่าร้อยละ 80

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ได้ฝึกสมาธิบำบัด SKT
  1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้ฝึกสมาธิบำบัด SKT มากกว่าร้อยละ 90
0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ มีระดับความดันโลหิตลดลง
  1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีระดับความดันโลหิตลดลงจากเดิม มากกว่าร้อยละ 80
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องสมาธิบำบัด SKT

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องสมาธิบำบัด SKT
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสมาธิบำบัด SKT
    1) ค่าอาหารว่างผู้เข้ารับการอบรม 25 บาท x 2 มื้อ x 40 คนเป็นเงิน 2,000 บาท 2) ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม 1 มื้อ มื้อละ 70 บาท x 40 คน เป็นเงิน 2,800 บาท 3) ป้ายไวนิลโครงการขนาด 1x3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 800 บาท รวมเป็นเงิน 6,100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อัตราการควบคุมระดับความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6100.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมฝึกปฏิบัติการนั่งสมาธิบำบัด SKT

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมฝึกปฏิบัติการนั่งสมาธิบำบัด SKT
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมฝึกปฏิบัติการนั่งสมาธิบำบัด SKT     1) ค่าเสื่อจำนวน 6 ผืน ผืนละ 200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท         รวมเป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นแกนนำและถ่ายทอดการฝึกสมาธิบำบัด SKT ได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นแกนนำและถ่ายทอดการฝึกสมาธิบำบัด SKT ได้
2. อัตราการควบคุมระดับความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้น


>