กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรน่า 2019 สู่ชุมชน ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) จังหวัดนราธิวาสได้มีมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2564 เวลา 15:30.น ณ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส มีมติให้เตรียมการจัดตั้งศูนย์กักกันเพิ่มเติมในพื้นที่แต่ละตำบล เพื่อรองรับผู้เข้ากักกันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคระลอกใหม่ โดยส่วนใหญ่เป็นผู้เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และในพื้นที่เสี่ยงจำนวนมาก เพื่อไม่ให้แพร่ระบาดไปยังชุมชน และมีมาตรการการเฝ้าระวังที่ถูกต้อง จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันควบคุมและเฝ้าระวัง
งานสาธารณสุข สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรน่า 2019สู่ชุมชน ปีงบประมาณ 2564 โดยมีการจัดตั้งศูนย์กักกันในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคสู่ชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 2. เพื่อสังเกตอาการกลุ่มผู้เดินทางกลับในชุมชน 3. เพื่อลดความตื่นตระหนกและสร้างความพร้อมในการเผชิญกับการระบาดของโรค
  1. ประชาชนสามรถป้องกันควบคุม การแพร่ระบาดของโรคได้
  2. ประชาชนที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ สามารถสังเกตอาการและควบคุมโรคได้
  3. การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ระบาดลดลง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรที่1. ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ปฏิบัติหน้าที่เฝ้าระวังและสังเกตอาการ/ค่าอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ถูกกักกัน/ค่าวัสดุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรที่1. ค่าเบี้ยเลี้ยงผู้ปฏิบัติหน้าที่เฝ้าระวังและสังเกตอาการ/ค่าอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ถูกกักกัน/ค่าวัสดุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเบี้ยเลี้ยง 240บาท x 52วัน x 4คน/เวร=49,920.-บาท
  • ค่าอาหาร 50บาท x 3มื้อ x 52วัน x 20คน =156,000.-บาท
  • 45,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนสามรถป้องกันควบคุม การแพร่ระบาดของโรคได้
  2. ประชาชนที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ สามารถสังเกตอาการและควบคุมโรคได้
  3. การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ระบาดลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250920.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 250,920.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีศูนย์กักกัน เพื่อสังเกตอาการเริ่มป่วย เพื่อเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
2. ลดความตื่นตระหนักของประชาชนและสร้างความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของได้
3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันควบคุมการระบาดได้


>