กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อโควิด-19 ระลอกเมษายน 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

กลุ่มเครื่อข่ายเฝ้าระวังโรคติดต่อ

1. นายจรัล ชนะรัตน์
2. นายสมบัติ ช่อคง
3. นายนิกร บุญยัง
4. นายวิเชียร จงรัตน์
5. นายอิทธิพัทธ์ ทองจันทร์

ตำบลทุ่งนารี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตำบลทุ่งนารี ตั้งอยู่ในเขตที่ว่าการอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุงระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอป่าบอนถึงที่ทำการองค์การบริหารส่วน ตำบลทุ่งนารี ประมาณ 5 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียง ดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ ติดต่อ กับ ตำบลวัง ใหม่ และตำบลหนองธง อำเภอป่าบอนทิศใต้ ติดต่อ กับ ตำบลโคก ทราย และคลองพรุพ้อ เป็นแนวเขตจังหวัดระหว่าง จังหวัดพัทลุง กับจังหวัดสงขลา
ทิศ ตะวันออก ติดต่อ กับ ถนนเพชร เกษม ตำบลโคกทราย และตำบลหารเทาทิศ ตะวันตก ติดต่อ กับ ตำบล หนองธง และเทือกเขาบรรทัดมีเนื้อที่ ประมาณ 119.2 ตารางกิโลเมตร (74,000 ไร่)ประกอบไปด้วย 9 หมู่บ้าน 3,558 ครัวเรือน ประชากร 10,122 คน จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019ณ วันที่ 22เมษายน2564มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 46,643ราย รายใหม่ 1,458 รายจังหวัดพัทลุง พบเชื้อสะสม 86 ราย พบเชื้อระลอกเมษายน 2564 69 ราย เสียชีวิต 1 ราย มากที่สุด อำเภอเมืองพัทลุง 34 ราย รองลงมาอำเภอควนขุน 12 ราย และอำเภอป่าบอน 8 ราย ส่วนตำบลทุ่งนารีพบเชื้อระลอกใหม่จำนวน 6 ราย พบมากสุดหมูที่ 1 บ้านพรุโอน จำนวน 3 ราย รองลงมาหมู่ที่ 4 บ้านป่าบากจำนวน 2 ราย และหมู่ที่ 2 บ้านทุ่งคลองควาย จำนวน 1 ราย และยังมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอีกจำนวนหนึ่ง ที่ต้องเฝ้าระวังประกอบกับมีการเดินทางของบุคคลจากเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งโดยส่วนใหญ่ยังไม่ปรากฏอาการของโรค เป็นเหตุให้เชื้อโรคแพร่กระจ่ายออกเป็นกลุ่มก้อน
ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 เพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สามารถสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม ทันต่อสถานการณ์ สอดคล้องกับแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตรายและตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคระบาด

ข้อ 1 ร้อยละ 70 ประชาชนได้รับการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคระบาด

0.00
2 2. เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆในการดูแลสุขภาพประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ตามความจำเป็นเหมาะสม

ข้อ 2 ร้อยละ 70 ประชาชนสามารถช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆในการดูแลสุขภาพประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ตามความจำเป็นเหมาะสม

0.00
3 3. สามารถแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือ ภัยพิบัติฉุกเฉินได้ทันท่วงทีและทั่วถึง

ข้อ 3 ร้อยละ 70 ประชาชนสามารถแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินได้ทันท่วงทีและทั่วถึง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ประชาชน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
99200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา (COVID-19
2. ประชาชนตำบลทุ่งนารีได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆในการดูแลสุขภาพประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ตามความจำเป็นเหมาะสม
5. สามารถแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินได้ทันท่วงทีและทั่วถึง


>