กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านมุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ เกษตรกรบ้านมุงปลอดภัย ห่างไกลจากสารเคมี ปีงบประมาณ ๒๕๖๔

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านมุง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมุง

1.นางจิตราทักษณา
2.นายมณเฑียรทักษณา
3.นายสุชาติน้อยจันทร์

หมู่ที่ 1-8 ตำบลบ้านมุง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเริ่มประสบปัญหาผลผลิตตกต่ำอันเนื่องมาจากสภาพของดินที่เสื่อมสภาพและจากแมลงศัตรูพืชทำให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยบำรุงดินและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากขึ้นแม้ว่าทางราชการจะรณรงค์ให้มีการใช้พืชสมุนไพรแต่สมุนไพรก็ยังข้อจำกัดในการใช้หลายประการ อาทิ ไม่สะดวกเนื่องจากต้องใช้เวลาในการจัดหาหรือเตรียม ไม่สามารถใช้ได้ผลกับแมลงบางชนิด เป็นต้น จึงทำให้เกษตรกรยังนิยมที่จะใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชมากกว่าซึ่งจะส่งผลให้เกิดอันตรายกับตัวเกษตรกรผู้ใช้เองและสภาพแวดล้อมหากว่าการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ถูกต้อง จากการเฝ้าระวังโรคจากการแพ้พิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของกองอาชีวอนามัย กรมอนามัยพบว่าในปี พ.ศ.๒๕๔๒ เกษตรกรทั่วประเทศมีภาวะเสี่ยงและไม่ปลอดภัยร้อยละ ๑๓.๐๗
สิ่งที่น่าเป็นห่วงในลำดับแรกจากพิษภัยของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชคือสุขภาพของเกษตรกรและสมาชิกในครอบครัว หรือแม้แต่ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ ๆ มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หญิงตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ สัตว์เลี้ยง สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในชุมชน เช่นสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ แหล่งน้ำและอาหาร และแน่นอนที่สุด คือผู้บริโภคผลผลิตทางการเกษตรที่มีสารเคมีตกค้างหรือปนเปื้อน บริษัทผู้ผลิตสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมักกล่าวว่าการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องจะปลอดภัย หรือโฆษณาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชว่าไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม คำกล่าวอ้างเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ผิด แท้จริงแล้วสารเคมีเป็นพิษและไม่มีทางที่จะปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้เลย(นายศักดา ศรีนิเวศน์ , ๒๕๔๙)
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมุง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมให้ประชาชนตำบลบ้านมุงปลอดภัย ห่างไกลจากสารเคมี ปีงบประมาณ ๒๕๖4 ขึ้น เพื่อทำให้เกษตรกรทราบผลกระทบของการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวันและเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและนำไปสู่การใช้สารเคมีที่ถูกต้องปลอดภัยและตระหนักถึงผลกระทบที่มีต่อสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้เกษตรตำบลบ้านมุงได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีในร่างกาย

เกษตรตำบลบ้านมุงได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีในร่างกายมากกว่าร้อยละ ๘๐

25.00 25.00
2 ๒. เพื่อให้เกษตรกรตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมี

เกษตรกรมีความรู้เรื่องพิษภัยของสารเคมีเพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐

25.00 50.00
3 ๓. เพื่อให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี

ประชาชนตำบลบ้านมุงมีการใช้สารเคมี ลดลง เมื่อเทียบจากปีงบประมาณ 2562  ลดลงร้อยละ 10 %

25.00 35.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 15/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การเจาะหารสารเคมีตกค้างในะกระแสเลือด

ชื่อกิจกรรม
การเจาะหารสารเคมีตกค้างในะกระแสเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.  สำรวจประชาชนตำบลบ้านมุงที่มีอาชีพเกษตรกร เพื่อทราบจำนวนกลุ่มเป้าหมาย ๒.  เขียนโครงการเพื่อขอความเห็นชอบและอนุมัติ
๓.  ดำเนินการจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่เครือข่ายแกนนำอาสาสมัครสาธารสุข จำนวน  10๘ คน 3.1 ให้ความรู้กับ อาสาสมัครสาธารสุข พร้อมแจกคู่มือการปฏิบัติงาน 3.2 กิจกรรมกลุ่มสาธิตการเจาะเลือดจากปลายนิ้ว
๔.  ตรวจหาสารเคมีในกระแสเลือดให้กับประชาชนที่มีอาชีพเกษตรกรในเขตตำบลบ้านมุงครั้งที่ ๑ โดยมีกิจกรรม •  ออกให้บริการเจาะเลือดประชาชนในเวลา ๑๗.๐๐ น. ซึ่งเป็นเวลาเลิกงานของประชาชน ตามหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน •  ให้ความรู้ประชาชนที่มารับการเจาะเลือด เพื่อสร้างความรู้และความตระหนักให้แก่ประชาชน •  เจาะเลือดให้ประชาชนที่มารับบริการ เพื่อดูว่าอยู่ในระดับไหน
•  แจ้งผลการเจาะให้ประชาชนทราบ  ถ้าพบว่าใครเริ่มเป็นกลุ่มเสี่ยง จะได้ทำการนัดหมายมาเจาะเลือดครั้งที่ ๒
๕.  แจกสมุนไพรให้กับเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีในกระแสเลือด ๖.  แจกเอกสารแผ่นพับเรื่องพิษภัยของสารเคมี ให้กับประชาชนที่มารับบริการ ๗.  ตรวจหาสารเคมีในกระแสเลือดซ้ำให้กับเกษตรกรที่กินยาสมุนไพร ๘.  ประเมินและสรุปผลการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 15 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.  เกษตรตำบลบ้านมุงได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีในร่างกายมากกว่าร้อยละ ๘๐ ๒.  เกษตรกรมีความรู้เรื่องพิษภัยของสารเคมีเพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๐ ๓.  ประชาชนตำบลบ้านมุงมีการใช้สารเคมี ลดลง เมื่อเทียบจากปีงบประมาณ ๒๕๖๒  ลดลงร้อยละ ๑๐ %

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45840.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,840.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชาชนตำบลบ้านมุงปลอดภัยจากสารเคมีที่ตกค้างในกระแสเลือด
๒. ประชาชนในตำบลบ้านมุงมีความตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมี
๓. ประชาชนในตำบลบ้านมุงมีการใช้สารเคมีลดลง


>