กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ระลอกใหม่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 12

1. นายพิพรพจน์ ภูศรี โทร.08-4407-2014
2. นางศรีรัตน์ ทองขาว
3. นางกรรนิกา จันแก้ว
4. นางฉอ้อน จิบจันทร์
5. นายสมพร ทองขาว

หมู่ที่ 12 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

 

85.00
2 ร้อยละของการคัดกรองบุคคลที่เดินทางจากต่างพื้นที่และต่างจังหวัด

 

85.00
3 ร้อยละของความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือสำหรับ อสม.ในการคัดกรองและปฏิบัติงานเชิงรุกในการป้องกันโควิด - 19

 

75.00

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ซึ่งจํานวนผู้ติดเชื้อสะสมและผู้ติดเชื้อรายใหม่ซึ่งเป็นการติดเชื้อในประเทศได้เพิ่มจํานวนขึ้น อย่างต่อเนื่อง และการระบาดระลอกใหม่นี้ได้กระจายออกไปในหลายพื้นที่ค่อนข้างรวดเร็ว
สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกที่ 3 ในจังหวัดสงขลาในเดือนเมษายน 2564 มียอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีกวันที่ (26 เม.ย. 64) จำนวน 38 ราย ยอดสะสมเป็น 492 ราย ซึ่งติดเชื้อในประเทศ 488 ราย และติดเชื้อจากต่างประเทศ 4 ราย ขณะนี้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 457 ราย และหายกลับบ้านแล้ว 34 รายและคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลาได้ออกคำสั่งเพื่อออกมาตรการต่างในการเพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไปแล้วนั้น ซึ่งการเผชิญการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่น หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด ล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง สวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี เป็นต้น
ชมรม อสม.หมู่ที่ 12 ได้ตระหนักและห่วงใยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ตำบลนาหว้าที่ต้องเผชิญกับภาวะการระบาดอย่างหนักของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงต้องมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 เพิ่มขึ้น

85.00 90.00
2 เพิ่มร้อยละของการคัดกรองบุคคลที่เดินทางจากต่างพื้นที่และต่างจังหวัด

ร้อยละของการคัดกรองบุคคลที่เดินทางจากต่างพื้นที่และต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น

85.00 98.00
3 เพิ่มร้อยละของความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือสำหรับ อสม.ในการคัดกรองและปฏิบัติงานเชิงรุกในการป้องกันโควิด - 19

ร้อยละของความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือสำหรับ อสม.ในการคัดกรองและปฏิบัติงานเชิงรุกในการป้องกันโควิด - 19 เพิ่มขึ้น

75.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 18
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25
กลุ่มวัยทำงาน 181
กลุ่มผู้สูงอายุ 35
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 3
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 15
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 5
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 มีนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
มีนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สร้างข้อตกลง ความร่วมมือในการงดกิจกรรมการรวมตัว
  • สร้างมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ในกรณีงานชุมชน งานประเพณีตามวิถีปกติใหม่ (New Normal)
  • สร้างข้อตกลงกับโรงเรียน/ที่ทำงานในชุมชน หยุดเรียน/หยุดงาน/อนุญาตให้กลุ่มเสี่ยง Work Form Home ได้
  • สร้างข้อตกลงในการรวมกลุ่ม ให้สวมหน้ากากอนามัยทุกคน และจัดสถานที่นั่งให้ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร และมีเจลล้างมือบริการ
  • ชุมชนมีมาตรการต้อนรับผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 กลับสู่ชุมชน (ไม่ตีตราผู้ป่วย)
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤษภาคม 2564 ถึง 5 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด - 19 และสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด - 19 และสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • การทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ เช่น ตลาดสด ห้องน้ำสาธารณะ ศาสนสถาน เพื่อฆ่าเชื้อโรค และจัดตั้งเจลแอลกอฮอล์ล้างมือหรืออ่างล้างมือและสบู่ไว้ในบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง
  • การปรับรูปแบบตลาด แหล่งจำหน่ายสินค้า ให้มีระยะห่างของร้านค้า ผู้ขาย-ผู้ซื้อ อย่างน้อย 1-2 เมตร สร้างวินัยการมีระยะห่างเข้าแถวซื้อสินค้า วัดไข้ก่อนเข้าตลาด หรือจัดทำตลาดออนไลน์
  • การหาจิตอาสา ที่สมัครใจในการช่วยเหลือการปฎิบัติงานงานโควิด-19 ในระดับชุมชน/หมู่บ้านเพื่อช่วยเหลือคัดกรองเฝ้าระวังประชาชนในชุมชน เช่น ให้คำแนะนำ วัดอุณหภูมิแก่กลุ่มเสี่ยงผู้กักตัวตามมาตรกา ร(Local Quarantine)
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19 และความเข้มแข็งของชุมชน วัสดุ/อุปกรณ์สำหรับการป้องกันโรคโควิด - 19 เพียงพอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิล ขนาด 1.2*2.5 เมตรๆ ละ 150 บาท จำนวน 2 ป้ายๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สร้างการรับรู้เกิดความร่วมมือของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 4 การคัดกรองและเฝ้าระวังบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่อื่นหรือต่างจังหวัดหรือกรณีมีการจัดงานหรือกิจกรรมที่มีการรวมตัวกัน

ชื่อกิจกรรม
การคัดกรองและเฝ้าระวังบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่อื่นหรือต่างจังหวัดหรือกรณีมีการจัดงานหรือกิจกรรมที่มีการรวมตัวกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทน อสม. จำนวน 5 คนๆ ละ 100 บาทต่อคนต่อวัน จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 1,8000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่อื่นหรือต่างจังหวัด ได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 100 บุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่อื่นหรือต่างจังหวัด ต้องเข้า Home quarantine หรือSelf quarantine 14 วัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 5 การแยกสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine Self Quarantine)

ชื่อกิจกรรม
การแยกสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine Self Quarantine)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิ Infrared Termometer จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 2,800 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท (รายละเอียดแนบท้าย)
  2. เครื่องวัดอุณหภูมิแบบติดผนัง พร้อมขาตั้ง จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 3,000 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท (รายละเอียดแนบท้าย)
  3. ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล Microlife จำนวน 10 ชิ้นๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท (รายละเอียดแนบท้าย)
  4. หน้ากากอนามัย จำนวน 30 กล่องๆ ละ 125 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท (รายละเอียดแนบท้าย)
  5. ถุงมือแพทย์ Dispose จำนวน 20 กล่องๆ ละ 280 บาท เป็นเงิน 5,600 บาท
  6. น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาด ขนาด 500 ml จำนวน 5 ขวดๆ ละ 390 บาท เป็นเงิน 1,950 บาท
  7. น้ำยาทำความสะอาด (สบู่เหลว) ขนาด 5 ลิตร จำนวน 1 ขวดๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 250 บาท
  8. ถุงขยะ ขนาด 18*20 จำนวน 5 กิโลกรัมๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 350 บาท
  9. สำลีแอลกอฮอล์ 8 ก้อน*100 แผง จำนวน 1 กล่องๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  10. สเปรย์แอลกอฮอล์ 75% ขนาด 500 ml จำนวน 30 ขวดๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่อื่นหรือต่างจังหวัด ต้องเข้า Home quarantine หรือSelf quarantine 14 วัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


>