กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประกอบ รหัส กปท. L5202

อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็นเล่นน้ำปลอดภัย
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล้กองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบ
กลุ่มคน
นางสาวนงลักษณ์เหมะรักษ์
3.
หลักการและเหตุผล

ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา (ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๖๓) มีเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี จมน้ำเสียชีวิต ๗,๗๙๔ คน เฉลี่ยปีละ ๗๗๙ คน หรือวันละ ๒ คน กลุ่มเด็กอายุ ๕ - ๙ ปี มีสัดส่วนการเสียชีวิตสูงที่สุด (ร้อยละ ๓๙.๗) รองลงมาคือ กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี (ร้อยละ 35.๔) ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราต่อประชากรเด็กแสนคนพบว่า กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า ๕ - ๙ ปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดเช่นเดียวกัน โดยเฉลี่ยเท่ากับ ๗.๘ และข้อมูลในปี พ.ศ.๒๕๖๓ มีเด็กจมน้ำเสียชีวิต ๕๓๑ คน ช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมเป็นเดือนที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด เพราะตรงกับช่วงปิดภาคการศึกษาและช่วงฤดูร้อน โดยเฉลี่ยปีละ ๒๖๓ คน เด็กเล็ก (อายุ ๐ - ๒ ปี) จมน้ำเสียชีวิตถึง ๙๑ คน (ร้อยละ ๑๗.๑ ของเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี) เดือนกรกฎาคมพบเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด (๕๕ คน) รองลงมาคือมิถุนายน (๕๔ คน) และพฤศจิกายน (๕๔ คน) ซึ่งแตกต่างจากทุกปีที่ผ่านมา ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด ๑๙ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ บ่อขุดเพื่อการเกษตรยังคงเป็นแหล่งน้ำที่พบการจมน้ำสูงสุด (ร้อยละ ๓๓.๒) อย่างไรก็ตาม กลุ่มเด็กอายุ ๐ - ๒ ปีพบจมน้ำเสียชีวิตสูง เฉลี่ยถึงปีละ ๑๖1 คน (ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการจมน้ำภายในบ้านและละแวกบ้านของตนเอง เพราะขาดการจัดการพื้นที่เล่นที่ปลอดภัยให้เด็ก ทั้งนี้เด็กเล็ก สามารถจมน้ำในภาชนะที่มีน้ำเพียงเล็กน้อย ประมาณ 1 - 2 นิ้ว) และ 10 จังหวัดแรกที่มีจำนวนเด็กจมน้ำเสียชีวิตสูงที่สุด ได้แก่ บุรีรัมย์ (2๔ คน), นครราชสีมา (๒๑ คน), สุรินทร์ (๒๐ คน), ขอนแก่น (๑๙ คน), นราธิวาส (๑๙ คน), สกลนคร (๑๗ คน), นครศรีธรรมราช (๑๕ คน), ร้อยเอ็ด (๑๔ คน), เชียงใหม่ (1๓ คน) และสงขลา (๑๓ คน) ข้อมูลช่วงปิดเทอม 3 เดือน (มีนาคม - พฤษภาคม) ปี พ.ศ. 2563 พบว่า เด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี จมน้ำเสียชีวิต ๑๓๕ คน (ร้อยละ ๒๕.๔ ของเด็กที่จมน้ำเสียชีวิตตลอดทั้งปี) แหล่งน้ำที่เกิดเหตุจมน้ำมากที่สุด คือ แม่น้ำ (ร้อยละ ๒๓.๗) รองลงมาคือ บ่อน้ำ (ร้อยละ ๑๕.๘) อ่างเก็บน้ำ (ร้อยละ ๑๓.๒) และคลอง (ร้อยละ ๑๓.๒) สาเหตุเกิดจากการไปเล่นน้ำมากที่สุด (ร้อยละ ๕๒.๖) รองลงมาคือพลัดตก ลื่น (ร้อยละ ๒๑.๑) และที่น่าสนใจคือ ลงไปช่วยคนที่ตกน้ำและตนเองจมน้ำเสียชีวิต (ร้อยละ ๕.๓)เด็กที่ตกลงไปในน้ำ (เฉพาะที่ทราบสถานะความสามารถในการว่ายน้ำ) พบว่า ร้อยละ ๕๗.๙ ว่ายน้ำไม่เป็น เด็กที่ตกลงไปในน้ำ (เฉพาะที่ทราบสถานะ การใช้เสื้อชูชีพ) พบว่า ร้อยละ ๖๘.๔ ไม่สวมเสื้อชูชีพ ขณะที่เกิดเหตุจมน้ำพบว่า เด็กอยู่กับเพื่อนมากที่สุด (ร้อยละ ๓๙.๕) รองลงมาคืออยู่กับผู้ปกครอง (ร้อยละ ๓๒.๖) เด็กที่จมน้ำพบว่า เสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุมากที่สุด (ร้อยละ ๕๒.๖) รองลงมาคือ เสียชีวิต ณ โรงพยาบาล/ห้องฉุกเฉิน (ร้อยละ ๑๓.๒) และมีการช่วยเหลือคนตกน้ำที่ผิดวิธี โดยการกระโดดลงไปช่วย ถึงร้อยละ ๒๗.๕ จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบ เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ ประกอบกับพื้นที่ของตำบลประกอบมีแหล่งน้ำต่างๆ มากมายเช่น น้ำตก ลำคลองบ่อน้ำและแหล่งน้ำต่างๆ อีกมากมาย จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการบรรจุเรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไว้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้สอนให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการสอนให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง เน้นการสอน “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม” และการตะโกนขอความช่วยเหลือ ซึ่งครูและผู้ปกครองถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องมีความรู้ ในการดูแลและสอนบุตรหลาน ให้รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงและหากเด็กจมน้ำต้องมีความรู้ความเข้าใจในการกู้ชีพหรือปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบ ได้จัดทำโครงการ “โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็นเล่นน้ำปลอดภัย” เพื่อฝึกทักษะเสริมประสบการณ์การว่ายน้ำและเล่นน้ำอย่างปลอดภัยให้กับเด็กปฐมวัย และการอบรมให้ความรู้ ป้องกันและการช่วยเหลือที่ถูกต้อง หากพบเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ให้กับครูและผู้ปกครอง ขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ.2564

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยให้มีทักาะการว่ายน้ำและเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย
    ตัวชี้วัด : เด็กปฐมวัยมีทักษะการว่ายน้ำและเล่นน้ำอย่างปลอดภัย
    ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 40.00
  • 2. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ของเด็กปฐมวัย
    ตัวชี้วัด : เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการครบถ้วนทั้ง 4 ด้าน
    ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 40.00
  • 3. เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้ทักาะการป้องกันตนเองจากการจมน้ำและเรียนรู้ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อประสบเหตุ
    ตัวชี้วัด : เด็กปฐมวัยมีความรู้และสามารถป้องกันตนเองจากการจมน้ำ,เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ทักษะในการช่วยเหลือเมื่อประสบเหตุ
    ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 40.00
  • 4. เพื่อให้ครูและผู้ปกครองเรียนรู้และฝึกทักาะการช่วยเหลือ เมื่อเจอเหตุการณ์เด็กจมน้ำ
    ตัวชี้วัด : ครู ผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการป้องกันและช่วยเหลือเมื่อประสบเหตุเด็กจมน้ำ
    ขนาดปัญหา 40.00 เป้าหมาย 40.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. 1. จัดซื้อจัดหาสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
    รายละเอียด

    จัดซื้อสื่อ วัสดุ อุปกรณ์
    - ค่าจัดซื้อสระน้ำเป่าลมกว้าง 3 เมตร
    (จำนวน 3 ชุด ๆ ละ 1,950 บ.)  เป็นเงิน 5,850 บ.

    • ค่าจัดซื้อเสื้อชูชีพสำหรับเด็ก 2 - 5 ปี แบบปลอกแขน
      (จำนวน 5 ชุด ๆ ละ 599 บ.)    เป็นเงิน 2,995 บ.

    • ค่าจัดซื้อเสื้อชูชีพสำหรับเด็ก 2 - 5 ปี แบบเสื้อกั๊ก
      (จำนวน 5 ตัว ๆ ละ 599 บ.)    เป็นเงิน 2,995 บ.

    • ค่าจัดซื้อแว่นตาว่ายน้ำเด็ก 2 - 5 ปี
      (จำนวน 10 อัน ๆ ละ 159 บ.)  เป็นเงิน 1,590 บ.

    • ค่าจัดซื้อหมวกว่ายน้ำเด็ก 2 - 5 ปี
      (จำนวน 20 ใบ ๆ ละ 139 บ.)    เป็นเงิน 2,780 บ.

    • ค่าจัดซื้อห่วงยางเล่นน้ำ
      (จำนวน 2 ชิ้น ๆ ละ 135 บ.)      เป็นเงิน 270 บ.

    • ค่าจัดซื้อบอร์ดโฟมฝึกว่ายน้ำสำหรับเด็ก (จำนวน 5 ชิ้น ๆ ละ 190 บ.)      เป็นเงิน 950 บ.

    • ค่าจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นในการฝึกอบรม                                           เป็นเงิน 770 บ.

    จัดจ้างทำสื่อประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ในการรณรงค์ - ป้ายให้ความรู้โครงการ (ตะโกน โยน ยื่น / อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม/ป้ายโครงการ)
    (จำนวน 3 ป้าย) เป็นเงิน 3,000 บ.

    งบประมาณ 21,200.00 บาท
  • 2. จัดฝึกอบรมให้ความรู้
    รายละเอียด

    จัดฝึกอบรมให้ความรู้     2.1 เทคนิคการว่ายน้ำอย่างปลอดภัย     2.2 อุปกรณ์ช่วยเหลือเด็กจมน้ำ     2.3 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

    งบประมาณ 1,800.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบ

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 23,000.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบว่ายน้ำเป็น สามารถเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย และมีความรู้ในการป้องกันการจมน้ำ
  2. เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบมีพัฒนาการครบถ้วนทุกด้าน
  3. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ในการป้องกันเด็กจมน้ำและการปฐมพยาบาล อย่างถูกวิธี
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประกอบ รหัส กปท. L5202

อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประกอบ
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประกอบ รหัส กปท. L5202

อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 23,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................