กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอก ใหม่ ครั้งที่ 2

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.บาละ

นางสาวนูรือมา ลายามุง

ศูนย์กักกันเพื่อควบคุมสังเกตอาการตำบลบาละ อำเภอกาบัง (Local Quarantine)ณ โรงเรียนบ้านลาแล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด -19 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ โรคไวรัสโคโรนา 2019หรือ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากและในช่วงเดือนธันวาคม2564 เริ่มมีการระบาดของโรคนี้เกิดขึ้นระลอกใหม่ พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวัน ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง การเฝ้าระวังและการป้องกันที่ถูกต้อง เช่น การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธี การสวมหน้ากากอนามัย และการเว้นระยะห่างทางสังคม เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ปลอดภัยจากการรับเชื้อผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่
เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพที่แออัด หรือมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการป้องกันตนเองโดยการล้างมือเพื่อป้องกันโรค ไม่เฉพาะโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) เท่านั้น รวมถึงโรคระบาด หรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบาละ เพื่อเป็นการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบาละ

 

90.00 99.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 500
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 500
กลุ่มวัยทำงาน 3,000
กลุ่มผู้สูงอายุ 300
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ใช้อาคารของโรงเรียนหรืออาคารเอนกประสงค์เพื่อเป็นสถานที่กักตัวบุคคลที่สงสัยเดินทางจากพื้นที่มีความเสี่ยง และบุคคลที่สัมผัสผู้ติดเชื้อ

ชื่อกิจกรรม
ใช้อาคารของโรงเรียนหรืออาคารเอนกประสงค์เพื่อเป็นสถานที่กักตัวบุคคลที่สงสัยเดินทางจากพื้นที่มีความเสี่ยง และบุคคลที่สัมผัสผู้ติดเชื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ใช้อาคารของโรงเรียนหรืออาคารเอนกประสงค์เพื่อเป็นสถานที่กักตัวบุคคลที่สงสัยเดินทางจากพื้นที่มีความเสี่ยง และบุคคลที่สัมผัสผู้ติดเชื้อ ค่าใช้จ่าย
1.ค่าจัดบริการกักตัวบุคคลที่สงสัยเดินทางจากพื้นที่มีความเสี่ยง                                     เป็นเงิน   55,150.-บาท
2.ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ ที่มาปฏิบัติงาน ณ ศูนย์กักตัว                                                 เป็นเงิน   22,560.-บาท
3.น้ำดื่มสะอาด ชนิดขวด                                                                                   เป็นเงิน     6,400.-บาท
4.จ้างเหมาบริการค่าทำความสะอาด                                                                     เป็นเงิน   15,000.-บาท
5.ค่าอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการกักตัวของบุคคลเสี่ยง                                                      เป็นเงิน       890.-บาท
         รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 100,000.-บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
หมายเหตุ:ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19
2. ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ได้รับการกักตัว 100 %

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19
2. ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ได้รับการกักตัว 100 %
3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ


>