กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการร่วมแรง ร่วมใจป้องกันภัยและยับยั้งการระบาดของโควิด 19 ในตำบลท่าบอน ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร่วมแรง ร่วมใจป้องกันภัยและยับยั้งการระบาดของโควิด 19 ในตำบลท่าบอน ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

ชมรมส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน

1.นางสาคร บุญนำ ประธาน 0945927955
2.นางจินดา เซ่งมาก รองประธาน 0954403105
3.นางบังอร เมืองจันทร์บุรี ปฏิคม 0819597681
4.นางศิริพิญช์ นิธิกุล เหรัญญิก 0948029956
5.นางกรรภัย ปานทอง เลขานุการ 0862878434

ตำบลท่าบอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

70.00
2 ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

 

80.00

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019”เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและพบว่าเป็นเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) จากข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่วันที่ 23 มิถุนายน 2564 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก 220 ประเทศ รวมทั้งหมดจำนวน 179,102,975 คน รักษาหาย 117,197,508 คน เสียชีวิต 3,880,841 คน 10 ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุดคือ สหรัฐอเมริกา ติดเชื้อ 33,564,802 คน เสียชีวิต 602,459 คน, อินเดีย 29,977,861/389,302 คน, บราซิล 18,054,653/504,717 คน, ฝรั่งเศส 5,821,797/110,991 คน,ตุรกี 5,381,736/49,293 คน, รัสเซีย 5,288,766/128,180 คน, อังกฤษ 4,668,043/128,272 คน,อาร์เจนตินา 4,298,782/90,281 คน, อิตาลี 4,254,294/127,322 คนและ โคลัมเบีย 3,997,021/101,302 คน สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 225,365 คน รักษาหายและแพทย์ให้กลับบ้าน 187,836 คน ผู้ป่วยยืนยันที่เสียชีวิต 1,693 คน จังหวัดสงขลามีผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,971 คน ติดเชื้อเพิ่ม 293 คน รักษาหายและแพทย์ให้กลับบ้าน 2,310 คน นอนโรงพยาบาล 1,433 คน เสียชีวิต 15 คน อำเภอระโนด มีผู้ติดเชื้อ 20 คน รักษาหายและแพทย์ให้กลับบ้าน 8 คน รับจากโรงพยาบาลอื่นนอนโรงพยาบาลระโนด 25 คน ในตำบลท่าบอนติดเชื้อ 3 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 60 ราย ซึ่งต้องมีการกักกันตัวที่บ้าน และจะมีการเปิดโรงพยาบาลสนามในศูนย์พักพิง"ร่วมใจอุ่นไอรัก" ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลท่าบอนรับผู้ป่วยโควิดได้ 80 เตียง จะเปิดบริการในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ประกาศคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อให้มีการกักกันผู้ที่กลับมาจากต่างประเทศและพื้นที่เสี่ยงในศูนย์กักกัน(State Quarantine) การเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 4 จังหวัด คือกรุงเทพฯ, จังหวัดสมุทรปราการ, นนทบุรี และปทุมธานี จำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโควิด 19 อย่างเคร่งครัด "สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือ สแกนไทยชนะ" โดย "ไม่ประมาท การ์ดไม่ตก" เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) มาตรการที่สำคัญคือ DMHTTA ย่อมาจาก Distancing(การเว้นระยะห่าง 2 เมตร) Mask wearing(ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกจากเคหะสถาน) Hand washing(หมั่นล้างมือบ่อยๆ) Testing(ตรวจวัดอุณหภูมิ) Testing COVID-19(ตรวจเชื้อโควิด-19) Application ThaiChana/MorChana(ใช้ไทยชนะ และหมอชนะ)
ดังนั้น ชมรมส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน จึงจัดทำโครงการร่วมแรง ร่วมใจป้องกันภัยและยับยั้งการระบาดโควิด 19 ในตำบลท่าบอน ปี 2564 ในพื้นที่ทั้ง 10 หมู่บ้านของตำบลท่าบอน เพื่อการป้องกันการติดเชื้อ/ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)ในสถานที่ราชการ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงงาน ตลาด หมู่บ้าน ศาสนสถาน ครัวเรือน และจากการจัดกิจกรรมต่างๆ ในตำบลท่าบอน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

70.00 100.00
2 เพิ่มการดูแล ป้องกัน คนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19  ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 231
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 673
กลุ่มวัยทำงาน 2,669
กลุ่มผู้สูงอายุ 1,091
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 61
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 374
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 117
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 423
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด 19 ในตำบลท่าบอนทุกหลังคาเรือน

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด 19 ในตำบลท่าบอนทุกหลังคาเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ผู้นำชุมชน อสม.และคณะกรรมการหมู่บ้านเคาะประตูบ้านให้ความรู้และเน้นย้ำให้ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ ราชกิจจานุเบกษา พรก.ฉุกเฉิน และพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่ออย่างเคร่งครัด 2.ผู้นำชุมชน อสม.และคณะกรรมการหมู่บ้านเน้นย้ำการกักตัวของกลุ่มเสี่ยง และวิธีการป้องกันโรค

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้และปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ ราชกิจจานุเบกษา พรก.ฉุกเฉิน และพระราชบัญญัติควบคุมโรคติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมุู่บ้าน อสม. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมุู่บ้าน อสม. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ออกหนังสือเชิญผู้นำชุมชน คณะกรรมการ อสม. และเจ้าหน้าที่ 10 หมู่บ้าน เข้าร่วมประชุม เพื่อวางแผน กำหนดแนวทางในการมอบวัสดุทางการแพทย์เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 แก่ประชาชนในตำบลท่าบอน 2.ประชุมผู้นำชุมชน คณะกรรมการ อสม. และเจ้าหน้าที่ 10 หมู่บ้าน ค่าใช้จ่ายอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 25 บาท 100 ชุด เป็นเงิน 2,500 บาท 3.ผู้นำชุมชน คณะกรรมการ อสม. และเจ้าหน้าที่ 10 หมู่บ้าน แนวทางเดียวกันในการมอบวัสดุทางการแพทย์เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 แก่ประชาชนในตำบลท่าบอน

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กรกฎาคม 2564 ถึง 19 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีการประชุมผู้นำชุมชน คณะกรรมการ อสม. และเจ้าหน้าที่ 10 หมู่บ้าน 10 ครั้ง 100 คน 2.มีแนวทางเดียวกันในการมอบวัสดุทางการแพทย์เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 แก่ประชาชนในตำบลท่าบอน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 3 จัดหาวัสดุทางการแพทย์สำหรับการป้องกันตนเองของประชาชนในตำบลท่าบอน

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุทางการแพทย์สำหรับการป้องกันตนเองของประชาชนในตำบลท่าบอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดซื้อหน้ากากอนามัยให้ประชาชนในตำบลท่าบอน(หลังคาเรือนละ 1 กล่อง) 3,188 กล่องๆละ 90 บาท เป็นเงิน 286,920 บาท 2.จัดซื้อสเปร์แอลกอฮอล์ให้ประชาชนในตำบลท่าบอน(หลังคาเรือนละ 1 ขวด) ขนาด 250 ซีซี 3,188 ขวดๆละ 125 บาท เป็นเงิน 398,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนในตำบลท่าบอนทุกคนมีหน้ากากอนามัยใช้ 2.ประชาชนในตำบลท่าบอนทุกคนมีสเปร์แอลกอฮอล์ล้างมือใช้ฆ่าเชื้อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
685420.00

กิจกรรมที่ 4 ดำเนินการแจกวัสดุทางการแพทย์สำหรับป้องกันตนเองให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าบอน

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการแจกวัสดุทางการแพทย์สำหรับป้องกันตนเองให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าบอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการแจกวัสดุทางการแพทย์สำหรับป้องกันตนเองให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าบอน
แบ่งวัสดุทางการแพทย์ให้แต่ละหมู่บ้านตามจำนวนหลังคาเรือน (หน้ากากอนามัยครัวเรือนละ 1 กล่อง และสเปรย์แอลกอฮอล์ครัวเรือนละ 1 ขวด)
หมู่ที่ 1 รับแพรก จำนวน 560 ครัวเรือน หมู่ที่ 2 อู่ตะเภา จำนวน 220 ครัวเรือน หมู่ที่ 3 ท่าบอน จำนวน 393 ครัวเรือน หมู่ที่ 4 ศาลาหลวงบน จำนวน 298 ครัวเรือน หมู่ที่ 5 หัวคุ้ง จำนวน 294 ครัวเรือน หมู่ที่ 6 ศาลาหลวงล่าง 325 ครัวเรือน หมู่ที่ 7 ขี้นาก จำนวน 198 ครัวเรือน หมู่ที่ 8 คลองเป็ด จำนวน 277 ครัวเรือน หมู่ที่ 9 มาบบัว จำนวน 216 ครัวเรือน หมู่ที่ 10 มาบปรือ จำนวน 407 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 3,188 ครัวเรือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทุกครัวเรือนในตำบลท่าบอนได้รับวัสดุทางการแพทย์เพื่อใช้ในการป้องกันตนเองจากโรคโควิด 19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมคณะกรรมการหมุ่บ้าน อสม. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการหมุ่บ้าน อสม. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมเพื่อพูดคุยปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการร่วมแรง ร่วมใจป้องกันภัยและยับยั้งการระบาดของโควิด 19 ในตำบลท่าบอน ปี 2564 ค่าใช้จ่ายอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 25 บาท 30 คน เป็นเงิน 750 บาท 2.ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา ในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการ 3.สรุปผลการดำเนินโครงการร่วมกัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบปัญหา แนวทางแก้ไขปัญหา และประเมินผลสำเร็จของโครงการร่วมแรง ร่วมใจป้องกันภัย และยับยั้งการระบาดของโควิด 19 ในตำบลท่าบอน ปี 2564

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 688,670.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในตำบลท่าบอนมีความรู้และปฏิบัติตนได้ถูกต้องในการป้องกันโรคโควิด 19
2.มีการคัดกรองเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงสัมผัสผู้ป่วย ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในตำบล
3.ประชาชนในตำบลท่าบอนมีและใช้หน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์ล้างมืออย่างเพียงพอ


>