กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคและอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพประมงและสภาพแวดล้อมจากการทำงาน ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมารณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคและอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพประมงและสภาพแวดล้อมจากการทำงาน ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมารณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง

1.นางมรีหยำ หลังจิ
2.นางกฤตยา หลงหัน
3.นางสาวโสพินทร์ แก้วมณี
4.นายชัยวัฒน์ ทองฤทธิ์
5.นายยุทธนะ ละอองธรรม

ม.2 ต.เจ๊ะบิลัง อ.เมือง จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เครือข่ายมีความรู้และทักษะในการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพประมง

 

80.00
2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพประมง

 

1.00
3 ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ

 

80.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เครือข่ายมีความรู้และทักษะในการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพประมง

จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ที่เข้ารับการอบรมอย่างน้อยร้อยละ 80

80.00 1.00
2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพประมง

1.มีทะเบียนผู้ประกอบอาชีพประมง 2.มีแผนการเฝ้าระวังป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพประมง

1.00 1.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ

1.ผลการคัดกรองสุขภาพ 2.ชมรมการออกกำลังกายในชุมชน

100.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูลพื้นฐานการทำอาชีพประมง

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลพื้นฐานการทำอาชีพประมง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ประเมินและวิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงโรคจากการประกอบอาชีพประมงและสภาพแวดล้อมจากการทำงาน 1.2 จัดทำผู้ประกอบอาชีพประมงและสภาพแวดล้อมจากการทำงาน 1.3 จัดตั้งชมรมและคณะกรรมการเครือข่าย 1.4 สร้างช่องทางสื่อสาร เช่น กลุ่มไลน์ โทรศัพท์ให้คำปรึกษา

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หลังจากดำเนินโครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคและอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพประมงและสภาพแวดล้อมจากการทำงาน ตำบลเจ๊ะบิลังอำเภอเมือง จังหวัดสตูลประจำปีงบประมาณ ๒๕64ทำให้ชุมชนมีความรู้และทักษะในการเฝ้าระวังป้องกันโรคและอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพประมงและสภาพแวดล้อมจากการทำงาน ประชาชนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อมีสุขภาพที่ดีต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคจากการประกอบอาชีพประมงและการเฝ้าระวังป้องกันโรคและสภาพ แวดล้อมจากการทำงาน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโรคจากการประกอบอาชีพประมงและการเฝ้าระวังป้องกันโรคและสภาพ แวดล้อมจากการทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคจากการประกอบอาชีพประมงและการเฝ้าระวังป้องกันโรคและสภาพ   แวดล้อมจากการทำงาน 2.2 กิจกรรมฝึกทักษะในการเฝ้าระวังป้องกันโรค 2.3 จัดทำแผนในการ เฝ้าระวังและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพประมงและสภาพแวดล้อมจากการทำงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ที่เข้ารับการอบรมอย่างน้อยร้อยละ 80 1.มีทะเบียนผู้ประกอบอาชีพประมง 2.มีแผนการเฝ้าระวังป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพประมง 1.ผลการคัดกรองสุขภาพ 2.ชมรมการออกกำลังกายในชุมชน หลังจากดำเนินโครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคและอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพประมงและสภาพแวดล้อมจากการทำงาน ตำบลเจ๊ะบิลังอำเภอเมือง จังหวัดสตูลประจำปีงบประมาณ ๒๕64ทำให้ชุมชนมีความรู้และทักษะในการเฝ้าระวังป้องกันโรคและอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพประมงและสภาพแวดล้อมจากการทำงาน ประชาชนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อมีสุขภาพที่ดีต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
งานประมงทะเลเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงมี่จะก่อให้เกิดโรคและอันตรายต่อสุขภาพ ข้อมูลจากองค์การแรงงานระหว่าประเทศระบุว่า แรงงานประมงทะเลประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน จำนวน 24ล้านคนต่อปี โดยพบแรงงานประมงเสียชีวิตจากการทำงาน 24,000 ต่อปี ในประเทศไทยมีการสำรวจสถิติการเกิดโรคและการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพประมงของคนไทย พบว่าปี พ.ศ.2559 มีการเสียชีวิตจากลูกเรือประมง 5 ราย และบาดเจ็บในรูปแบบต่างๆ เช่นปลาตำ ลื่นล้มถูกของมีคม เชือกบาดมือตกจากที่สูง จำนวน 26 ราย แรงงานประมงจึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและภัยสุขภาพ ทั้งทางด้านกายภาพเช่นการสั่นสะเทือนความร้อนความเย็นแสงสีเสียง ด้านเคมี เช่นไอน้ำมัน สารตะกั่ว และก๊าซไข่เน่า และชีวภาพเช่น เลือดน้ำลายมูลและพิษของสัตว์เงี่ยงปลาทำให้เกิดผลกระทบในระบบสุขภาพของชาวประมงทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคและอันตรายต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดโรค หรืออันตราย
จากการสำรวจข้อมูลการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น จำนวน 759 ครัวเรือน พบว่าทำอาชีพประมง จำนวน 300 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 39.52 และมีสถานประกอบการ เช่น แพปลา อู่ต่อเรือ มีการจับสัตว์น้ำตามฤดูกาล ซึ่งมีความเสียงที่จะเกิดโรค อันตรายหรืออุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพและสภาพแวดล้อมจากการทำงานค่อนข้างมาก เช่นการออกเรือในช่วงมรสุม การจับสัตว์น้ำ โดยที่ไม่ได้สวมใส่ถุงมือหรืออุปกรณ์ที่ถูกต้อง การสัมผัสสารเคมี การสร้างหรือการซ่อมเรือ การเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บฯลฯ และจากข้อมูลการมารับบริการในสถานบริการ ปี2562 พบว่า ผู้ที่ได้รับการผลกระทบจากการประกอบอาชีพและสภาพแวดล้อมจากการทำงาน จำนวน 91รายโดยรับบริการ ทำแผลจำนวน 13 ราย แมงกะพรุนเข้าตาจำนวน 9 ราย ผื่นคัน15รายสัมผัสสารเคมี2 ราย การซ่อมเรือจำนวน 2 ราย ปวดกล้ามเนื้อจำนวน 50 ราย จากข้อมูลดังกล่าวหากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม
ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลังอำเภอเมืองจังหวัดสตูล ได้เล็งเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังป้องกันโรคและอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพประมง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคและอันตรายต่อสุขภาพและส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพในการประกอบอาชีพ และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสม ถูกต้อง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคและอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพประมงและสภาพแวดล้อมจากการทำงาน ตำบลเจ๊ะบิลังอำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ ๒๕64โดยมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติตนในการเฝ้าระวังป้องกันโรคและอันตราย การคัดกรองความเสี่ยงต่อสุขภาพ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและการเกิดโรคและอันตรายต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อมจากการทำอาชีพประมงต่อไป


>