กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ 3

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

งานสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ โดยนางสาวศศิรังษีสว่างหน.งานสาธารณสุขและสิงแวดล้อม

ตำบลวังใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

70.00
2 จำนวนมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

 

60.00
3 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

 

60.00
4 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

 

80.00
5 ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ด้านร่างกาย จิต สังคม และปัญญา

 

50.00

ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนเป็นต้นมา ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 มีจุดเริ่มต้นจากสถานบันเทิง กระจายไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ในวันนี้ มีผู้ติดเชื้อสะสม 63,570 ราย ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. ชุดใหญ่ จึงได้ยกระดับการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ช่วงหลังสงกรานต์ โดยจะไม่มีการประกาศล็อกดาวน์หรือเคอร์ฟิว โดย ศบค. ได้มีมติเห็นชอบการกำหนดพื้นที่ควบคุมโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยดูจากสถานการณ์ในจังหวัดรวมทั้งยังยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรค เพื่อลดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ดังนี้
- ปิดสถานบันเทิง ผับ,บาร์,อาบ อบนวด ทุกจังหวัด
- ร้านอาหาร นั่งรับประทานในร้านได้ งดจำหน่ายและงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยพื้นที่ควบคุมสูงสุดเปิดไม่เกินเวลา 21.00 น. พื้นที่ควบคุมเปิดไม่เกิน 23.00 น.
- งดกิจกรรมที่มีคนรวมกลุ่มกันเกิน 50 คน กรณีที่จำเป็นให้ขออนุญาตต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/ กรุงเทพฯ
- งดกิจกรรมงานเลี้ยง สังสรรค์ ยกเว้นสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน
- งดการเรียนการสอนในห้องเรียน
- ปิดสวนสนุกและงดเล่นเครื่องเล่นในห้างสรรพสินค้า
- ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้ถึง 21.00 น.
- ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน เปิดเวลา 04.00-23.00 น.
- สนามกีฬา ยิม ฟิตเนส เปิดได้ถึง 21.00 น.
- นอกจากนี้ ขอความร่วมมือภาคเอกชน Work from Home ให้มากที่สุด ผู้ที่เดินทางไปต่างจังหวัดขอความร่วมมือ Work from Home สังเกตอาการ 14 วัน และมาตรการอื่น ๆ เป็นไปตามข้อกำหนดใน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เริ่มใช้มาตรการนี้ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2564
อบต.วังใหญ่ ซึ่งเป็นหน่วยรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

70.00 90.00
2 เพื่อให้สถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 มีเพิ่มขึ้น

ร้อยละของสถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

60.00 90.00
3 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

80.00 100.00
4 เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

จำนวนมาตรการทางสังคมเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19

60.00 90.00
5 เพื่อให้มีครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ด้านร่างกาย จิต สังคม และปัญญา ลดลง

ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ทั้งทางกาย จิต สังคม และปัญญาลดลง

50.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานสุขภาพชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะทำงานสุขภาพชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขั้นตอนวางแผนงานเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 5 ครั้ง
  • ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ

  • แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ

  • ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน

งบประมาณ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 20 คน เป็นเงิน 5,000 บาท

2.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 5 มื้อ มื้อละ 60 บาท จำนวน 20 คน เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2564 ถึง 17 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดการประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการฯและ มีการวางแผนการดำเนินงาน ได้แผนการดำเนินงาน

2.มีหน่วยงานในพื้นที่และกลุ่มเครือข่ายต่างๆเข้าร่วมประชุม จำนวน 20 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11000.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ดำเนินการ ผลิตสื่อ ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ดำเนินการ ผลิตสื่อ ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์

งบประมาณ

1.ป้ายไวนิลมาตรการป้องกันฯ ขนาด 2*4 เมตร จำนวน 9 ป้าย ป้ายละ 1,500 บาท เป็นเงิน 13,500 บาท

2.SPOTเสียงตามสาย เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่องป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) โดยใชไวนิลและ spot เสียงตามสาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ อบต.วังใหญ่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ อบต.วังใหญ่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง คัดกรองและควบคุม ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขและจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

งบประมาณ

1.พาร์ทิชั่นเคาน์เตอร์จำนวน 7 ชุด ชุดละ 2,500 บาท เป็นเงิน 17,500 บาท

2.Mask disposจำนวน 40 กล่อง กล่องละ 105 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท

3.Glove Dispos. Glove No.Sจำนวน 15 กล่อง กล่องละ 270 บาท เป็นเงิน 4,050 บาท

4.Glove Dispos. Glove No.Mจำนวน 15 กล่อง กล่องละ 270 บาท เป็นเงิน 4,050 บาท

5.GPO CLEAN JEl450 ml จำนวน 50 ขวด ขวดละ 165 บาท เป็นเงิน 8,250 บาท

6.Cap disposable ( 100ชิ้น ) จำนวน 10 แพ็ค แพ็คละ236 บาท เป็นเงิน 2,360 บาท

7.FACE SHIELDdispose จำนวน 50 อัน อันละ 66 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท

8.FACE SHIELD แบบใช้ซ้ำได้ (เกรดดี,เกรดทันตกรรม) จำนวน 20 อัน อันละ 150 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

9.COTTONALCOHOL STERILEจำนวน 5 กล่อง กล่องละ 189 บาท เป็นเงิน 945 บาท

10.ชุด PPE(พร้อมอุปกรณ์) จำนวน 10 ชุด ชุดละ 7,590 บาท

11.Glove STERILE เบอร์ 6.5 จำนวน 2 กล่อง กล่องละ 750 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

12.gown dispose ((Isolated Gown) PE ) (แพค 10 ชิ้น) จำนวน 4 แพ็ค แพ็คละ 1,078 บาท เป็นเงิน 4,312 บาท

13.สบู่เหลวสำหรับล้างมือ แกลลอน 3.8 ลิตร จำนวน 10 แกลลอน แกลลอนละ 176 บาท เป็นเงิน 1,760 บาท

14.ขวด 450 CCพร้อมหัวปั๊ม จำนวน 20 ขวด ขวดละ 66 บาท เป็นเงิน 1,320 บาท

15.ขวดสเปรย์ ขนาด 500 CC จำนวน 20 ขวด ขวดละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

16.ไฮเตอร์ จำนวน 20 ขวด ขวดละ 87 บาท เป็นเงิน 1,740 บาท

17.ถุงขยะสีแดง(ขยะอันตราย)ขนาด20*21 จำนวน 20 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 80 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท

18.ผงซักฟอก จำนวน 2 ถัง ถังละ 429 บาท เป็นเงิน 858 บาท

19.น้ำยาถูพื้นฆ่าเชื้อ (3.8 ลิตร) จำนวน 5 แกลลอน แกลลอนละ 204 บาท เป็นเงิน 1,020 บาท

20.น้ำยา Hibi Scrub จำนวน 5 แกลลอน แกลลอนละ 198 บาท เป็นเงิน 990 บาท

21.เสื้อกาวน์กันน้ำแบบผ้าสีเขียว หรือฟ้า จำนวน 20 ชุด ชุดละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 พฤษภาคม 2564 ถึง 24 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน
2.เกิดการคัดกรองผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งต่อเคสให้หน่วยงานสาธารณสุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
72345.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผลโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงโดยใช้การประเมินด้านสาธารณสุข

2.ติดตามประเมินกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เพื่อไม่ให้มีกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ตำบลวังใหญ่

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ไม่มีกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ตำบลวังใหญ่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,845.00 บาท

หมายเหตุ :
รายจ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
2. ประชาชนในพื้นที่ตำบลวังใหญ่ ได้การป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ
3. การดำเนินงานเชิงรุกในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ


>