กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการนวดกายคลายโรค นวดตนเองเพื่อสุขภาพดีวิถีไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกกจำปา ตำบลโป่ง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ปี ๒๕๖๔

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โป่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนวดกายคลายโรค นวดตนเองเพื่อสุขภาพดีวิถีไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกกจำปา ตำบลโป่ง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ปี ๒๕๖๔

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โป่ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกกจำปา

ตำบลโป่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัญหาการปวดกล้ามเนื้อของประชาชนในพื้นที่เนื่องจากมีอาชีพเกษตรกร

 

80.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้ในเรื่องการนวดด้วยตนเองอย่างถูกวิธี ๒. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักพึ่งตนเอง ดูแลตนเองป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังในระบบกล้ามเนื้อ ๓. เพื่อลดปัญหาการใช้ยาแก้ปวด และยาคลายกล้ามเนื้อเกินความจำเป็น

ร้อยละ ๙๐ ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อจากการทำงาน และการนวดแผนไทยด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธี

80.00 72.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรม

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. เขียนโครงการ และเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ     ๒. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับสนับสนุนวิทยากร
    ๓. ประสานชุมชนในการคัดเลือกตัวแทนเพื่อเข้ารับการอบรมนวดดัดกายคลายโรค ๔. จัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบกล้ามเนื้อจากการทำงาน การรักษาเบื้องต้น และการนวดไทย
๕. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการใช้สมุนไพรเบื้องต้น ในการรักษาและบรรเทาอาการเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อจากการทำงาน ๖. ฝึกปฏิบัติการนวดตนเองเพื่อสุขภาพ     ๗.ประเมินความพึงพอใจหลังการเข้าร่วมอบรม     ๘. สรุปผลการดำเนินโครงการ งบประมาณจากเงินกองทุนประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลโป่ง จำนวน ๑๗,๕๐๐.- บาท (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน ) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ๑.ค่าอาการกลางวัน      -ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม มื้อละ ๘๐ บาท x ๑ มื้อ x ๘๐  คน เป็นเงิน ๖,๔๐๐.-  บาท

๒.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
     -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม มื้อละ ๒๕ บาท x ๒ มื้อ x ๘๐ คน เป็นเงิน  ๔,๐๐๐.- บาท
๓.ค่าตอบแทนวิทยากร
     -ค่าตอบแทนวิทยากรชั่วโมงละ ๓๐๐ บาท x ๖ ชั่วโมง/วัน x ๑ คน  จำนวน   ๑ วัน เป็นเงิน  ๑,๘๐๐.-  บาท
๔. ป้ายโครงการ ๑.๕ x ๓.๕ ตาราเมตร จำนวน ๑ ป้าย       เป็นเงิน ๕๐๐.-   บาท
๕.ค่าวัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม จำนวน ๔,๘๐๐.- บาท     รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๗,๕๐๐.-บาท    (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน)
หมายเหตุ : งบประมาณเบิกจ่ายแบบถัวเฉลี่ย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ประชาชนได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการนวดตนเองอย่างถูกวิธี
๒. ประชาชนมีความตระหนักในการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการนวดตนเอง และการใช้สมุนไพร
๓. ลดภาวการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคทางกล้ามเนื้อที่รุนแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชาชนได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการนวดตนเองอย่างถูกวิธี
๒. ประชาชนมีความตระหนักในการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการนวดตนเอง และการใช้สมุนไพร
๓. ลดภาวการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคทางกล้ามเนื้อที่รุนแรง


>