กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : เพื่อสกัดกั้นผู้เสพรายใหม่ในชุมชน โดยการคัดกรองและปรับพฤติกรรม ที่เน้นสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
2. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน การปรับพฤติกรรม รวมทั้งการส่งต่อไปยังสถานบำบัด
3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : ลดความรุนแรงและลดผลกระทบของการแพร่ระบาดยาเสพติดในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างและพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายการเฝ้าระวัง ให้มีองค์ความรู้และมีทักษะในการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน
2. มีคณะทำงานติดตามประเมินความรุนแรงของสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชน ที่มาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกพื้นที่
3. มีแผนการดำเนินงานการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
4. การให้รางวัลเชิดชูเกียรติแก่บุคคลต้นแบบในชุมชนที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
5. การตั้งรางวัลสำหรับผู้ที่ชี้เบาะแสของผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในชุมชน
6. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลชุมชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่สามารถนำมาใช้เพื่อการวางแผนควบคุมต่อไป
stars
แนวทางดำเนินงาน : เพิ่มอัตราการเข้าถึงระบบการบำบัดรักษาภาครัฐของผู้เสพและผู้ติดและลดอัตราการเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาเครือข่ายชุมชนที่เฝ้าระวังและสอดส่องปัญหายาเสพติดในชุมชนให้เชื่อมต่อกับหน่วยบริการสุขภาพภาครัฐให้สามารถส่งต่อผู้ติดยาไปบำบัดรักษาได้อย่างทั่วถึง
2. การสร้างระบบรองรับต่อผู้ที่ผ่านการบำบัดจากสถานบำบัดเมื่อกลับมาอยู่ในชุมชน ให้ได้รับการฝึกอาชีพ การสร้างการยอมรับในการจ้างงาน และให้โอกาสในการกลับมาเป็นสมาชิกของชุมชน
3. การพัฒนาระบบการดูแลผู้การบำบัดโดยการบูรณาการวิถีชุมชน ที่ทำให้ผู้ผ่านการบำบัดไม่กลับไปเสพยาซ้ำ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างมาตรการทางสังคมเพื่อควบคุมปัญหายาเสพติดในระดับชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้าน เช่น การมีฮูกมปากัตในชุมชนมุสลิมที่มีบทให้คุณให้โทษต่อครอบครัวที่มีสมาชิกไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2. มีคณะทำงานประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว และมีการประชุมสมาชิกในชุมชนชี้แจงผลการตอบสนองต่อมาตรการ
3. มีระบบบันทึกการทำความผิด การตักเตือน การทำโทษขั้นต่างๆ ตามมาตรการที่กำหนด
4. มีรายงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น จำนวนและร้อยละของครัวเรือนที่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 1 มุ่งเป้าลดการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสของผู้ใช้รถใช้ถนน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ลดพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกกลุ่ม (เมา หมวกนิรภัย เข็มขัดนิรภัย เบาะนิรภัยเด็ก มือถือ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอื่น ไม่มีใบขับขี่ ขับเร็ว หลับใน) ด้วยการเพิ่มจำนวนด่าน และให้ความรู้
1.1 เพิ่มการตรวจจับหรือจุดตั้งด่านตรวจจับผู้ใช้รถใช้ถนนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน (เช่น ดื่มแล้วขับ ใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอื่น ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่ใช้เบาะนิรภัยสาหรับเด็กและที่นั่งพิเศษสาหรับเด็ก ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ขับเร็ว หลับใน)
1.2 กำกับดูแลผู้ขับขี่รถสาธารณะให้มีความพร้อมทางสภาพร่างกายก่อนและระหว่างการขับขี่
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของยานพาหนะ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จักรยานยนต์ปลอดภัย ด้วยการติดตั้ง ABS ตรวจสอบมาตรฐานหมวกนิรภัย และให้ความรู้การใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย
1.1 ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับมาตรฐานรถจักรยานยนต์ รวมถึงการเลือกซื้อและการใช้รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและการเดินทางที่ยั่งยืน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ถนนปลอดภัย
1.1 เพิ่มมาตรการชะลอความเร็วในพื้นที่ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2 ตรวจประเมินถนน ดำเนินมาตรการเชิงแก้ไข (Road side hazard) โดยปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพในจุดที่เคยเกิดอุบัติเหตุซึ่งเป็นพื้นที่ถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. เพิ่มการเดินทางที่ยั่งยืน
2.1 ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล
stars
แนวทางดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนารากฐานโครงสร้างการทำงาน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาการตอบสนองหลังเกิดอุบัติเหตุมีประสิทธิภาพและครอบคลุม
1.1 เพิ่มความครอบคลุมของการทำประกันภัยภาคบังคับตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
1.2 ลดเวลาตอบสนองหลังเกิดเหตุ (response time) ด้วยเบอร์ฉุกเฉิน
1.3 เพิ่มความครอบคลุมของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลในทุกตำบล
1.4 กำหนดแนวปฏิบัติที่ดีในสถานการณ์ฉุกเฉินทางถนนสำหรับผู้ขับรถสาธารณะ
2. เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการทำงานด้านความปลอดภัยทางถนนแบบสหสาขา
2.1 มีการจัดประชุม ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ศปถ.อปท.) ในลักษณะการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน ไตรมาสละ 1 ครั้ง
2.2 มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางถนน