กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทนมีย์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้พิการมีภาวะสุขภาพดี ตำบลเทนมีย์ ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทนมีย์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์

นางจารุณีมณีรัตน์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ
นางจิตรา โพธิ์คำ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นางปรัศนีย์วรรณมานะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
นายรัฐจักร์วิเชียร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
นางสาวอริสรา ไม้อ่อนดี เจ้าพนักงานส่าธารณสุขปฏิบัติงาน

พื้นที่รับผิดชอบตำบลเทนมีย์ 14 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

10.00
2 ร้อยละของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

 

10.00

ปัจจุบัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์ ได้ดำเนินการในด้านการลงพื้นที่ทำให้ทราบถึงปัญหาของผู้พิการในการเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพและขาดการรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ ความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพการขาดโอกาสรับการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันและช่วยเหลือตนเองได้ดีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้พิการต่างๆอย่างเช่นเกณฑ์การขึ้นทะเบียน พม. การเข้ารับการรักษาและฟื้นฟูทั่วไป สถานที่ในการรับสงเคราะห์เกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องช่วยเหลือต่างๆ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์ มีจำนวนหมู่บ้าน 14 หมู่บ้าน จำนวนประชากรทั้งหมด 10,438 คน มีจำนวนผู้พิการทั้งหมด 256 คน คิดเป็นร้อยละ 2.45 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งการดำเนินงานในด้านการดูแลผู้พิการยังขาดความต่อเนื่องรวมไปถึงความครอบคลุมในการดูแลผู้พิการยังไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ดังนั้นเพื่อให้มีการดูแลผู้พิการอย่างต่อเนื่องยั่งยืน ให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการรวมทั้งผู้พิการรายเดิมที่จำเป็น ต้องได้รับการดูแล และผู้พิการที่ยังไม่เคยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พิการในชุมชนที่ดีขึ้นและคลอบคลุมทุกพื้นที่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์จึงได้จัดทำโครงการ “ผู้พิการมีภาวะสุขภาพดี” เพื่อให้ผู้พิการ ญาติ/อาสาสมัครหมู่บ้านสามารถดูแลและช่วยเหลือกันเอง ได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรภาพ

ร้อยละของคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟู

10.00 15.00
2 เพื่อเพิ่มผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

ร้อยละผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

10.00 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 150
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังตำบลเทนมีย์ ปี 2564

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังตำบลเทนมีย์ ปี 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-แนวทาง/ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.จัดตั้งคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2564 2.จัดเตรียมข้อมูลนำเข้าเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพฯ 3.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 4.ดำเนินการประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพฯ
5.กลุ่มงานดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการตามภารกิจและหน้าที่ 6.จัดทำและสรุปแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพ 7.รายงานผลการดำเนินโครงการ เงินบำรุงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์ (งบกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ) จำนวน 21,700 บาท ( สองหมื่นหนึ่งพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน )     1. ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ในการออกบริการคัดกรองตรวจสุขภาพเชิงรุกผู้พิการ จำนวน 4 คนๆละ  120 บาท จำนวน 16 วัน                                เป็นเงิน 7,680 บาท     2. จัดอบรมให้ความรู้ผู้พิการ/ผู้ดูแลผู้พิการ จำนวน 50 คน        2.1 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน    2,500  บาท        2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2  มื้อ
                                        เป็นเงิน 2,500  บาท        2.3 ค่าวัสดุสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คนๆละ 20 บาท  เป็นเงิน    1,000  บาท        2.4 ค่าตอบแทนวิทยากร (วิทยากรจากสาธารณสุขอำเภอเมืองสุรินทร์) จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท                                        เป็นเงิน    3,600  บาท        2.5 จัดทำนวตกรรมสำหรับผู้พิการ                  เป็นเงิน    2,500  บาท        2.6 ค่าป้ายโครงการ                          เป็นเงิน    600 บาท        2.7 ค่าป้ายประชาสัมพันธ์                        เป็นเงิน    1,500  บาท             รวมทั้งสิ้น 21,880      บาท ( สองหมื่นหนึ่งพันแปดร้อยแปดสิบบาทถ้วน )     ขอรับเงินสนันสนุนโครงการ จำนวน 21,700 บาท ( สองหมื่นหนึ่งพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน ) จาก เงินบำรุงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทนมีย์ (งบกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละ 80 ของผู้พิการ ได้รับการคัดกรองสุขภาพและเยี่ยมบ้าน
2.ผู้พิการ มีความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ ร้อยละ 90
3.ผู้พิการ/ผู้ดูแลผู้พิการมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้ ร้อยละ 80
4.ผู้พิการ สามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันอย่างง่ายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นร้อยละ80


>