กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาพู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาพู่

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขม.12

นางเถาวัลย์ซุยเสนา
นางบุญมีน้ำก่ำ
นางสาวสงัด ภูริศรี
นางนิตยาธุระพระ
นางวันทนาธุระพระ

พื้นที่ตำบลนาพู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

รคขาดสารไอโอดีน เป็นโรคที่มีความสำคัญทางสาธารณสุข และมีผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนา ประเทศ เนื่องจากไอโอดีนมีความสัมพันธ์กับสติปัญญาของมนุษย์ส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถในการ เรียนรู้ของเด็กไทยที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคต โดยเป็นสารตั้งต้นในการสร้าง ไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีผลต่อการสร้างใยสมองและการเจริญเติบโตของร่างกาย หากทารกที่เกิดมาขาดสาร ไอโอดีนอาจปัญญาอ่อน หรือมีกระทบต่อสภาพร่างกายได้โรคขาดสารไอโอดีนมีผลกระทบต่อประชากรทุก กลุ่มวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 3 ปีหากขาดสารไอโอดีนจะทำให้สมอง เจริญเติบโตไม่เต็มที่ลดความเฉลียวฉลาดหรือระดับสติปัญญาของเด็กได้ถึง 10-15 จุด ทำให้เด็กมีปัญหาการ เรียนและกระทบต่อการเจริญเติบโต และยังส่งผลถึงความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งโรคขาดสาร ไอโอดีน เป็นโรคโภชนาการ ที่สามารถป้องกัน และควบคุมได้โดยการบริโภคอาหารที่มีไอโอดีนเช่น อาหาร ทะเล เกลือเสริมไอโอดีน หรืออาหารเสริมไอโอดีนชนิดอื่น ๆในประชากรทั่วไป ใช้เกลือเสริมไอโอดีนที่มี คุณภาพ วันละไม่เกิน 1 ช้อนชา (เกลือ 1 ช้อนชา เท่ากับ 5 กรัม มีไอโอดีนประมาณ 150 ไมโครกรัม) หรือ ผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสที่เสริมไอโอดีนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับการกินอาหารที่มีไอโอดีนตาม ธรรมชาติเช่น อาหารทะเล ส่วนในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ซึ่งมีความต้องการไอโอดีนมากกว่าปกติ นอกจากการปฏิบัติเหมือนประชากรทั่วไปแล้ว จำเป็นต้องกินยาเม็ดเสริมไอโอดีน วันละ 1 เม็ด ทุกวัน ตั้งแต่ เริ่มตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดให้นมบุตร 6 เดือน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.นาพู่ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการควบคุมป้องกันโรคขาด สารไอโอดีน โดยเฉพาะกลุ่มประชากร 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็ก 0-5ปี ในศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก และกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถม 1-6 อายุ 6-12 ปี เพื่อเป็นการควบคุมป้องกันการขาดสาร ไอโอดีนในกลุ่มดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอบต.นาพู่ จึงได้จัดทำโครงการขึ้นร่วมถึงการสนับสนุนการรับประทานเกลือไอโดดีนของประชาชนตำบลนาพู่ทุกคน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ส่งเสริมไข่ไอโอดีนในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ , หญิงหลังคลอด ,กลุ่มเสี่ยงโภชนาการต่ำ 0-6 ปี

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ , หญิงหลังคลอด ,กลุ่มเสี่ยงโภชนาการต่ำ 0-6 ปี ได้รับารสนับสนุนไข่โอโอดีน

0.00
2 ส่งเสริมความรู้ไข่ไอโอดีนในกลุ่มหญิงก่อนวัยเจริญพันธ์

ร้อยละของหญิงก่อนวัยเจริญพันธ์ได้รับควารมรู้เรื่องไอโอดีน และวิธีปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมไข่ไก่ไอโอดีนครึ่งราคา

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมไข่ไก่ไอโอดีนครึ่งราคา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าไข่ไอโอดีนครึ่งราคา รวมเป็นเงิน  75,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์ , หญิงหลังคลอด ,กลุ่มเสี่ยงโภชนาการต่ำ 0-6 ปี ได้รับารสนับสนุนไข่โอโอดีนครึ่งราคา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
75000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องไอโอดีน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องไอโอดีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าดำเนินการอบรมให้ความรู้เรื่องไอโอดีน  รวมเป็ฯเงิน 5000   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มกราคม 2564 ถึง 25 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละของหญิงก่อนวัยเจริญพันธ์ได้รับควารมรู้เรื่องไอโอดีน และวิธีปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม ร้อยละ 85

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 80,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ , หญิงหลังคลอด ,กลุ่มเสี่ยงโภชนาการต่ำ 0-6 ปี ได้รับารสนับสนุนไข่โอโอดีนครึ่งราคา
2.หญิงก่อนวัยเจริญพันธ์ได้รับควารมรู้เรื่องไอโอดีน และวิธีปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม


>