กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแก

นายเกียรติศักดิ์นามวิเศษ
นางจีรนันท์ นามวิเศษ
นางสาวสุภาพร ทุมชะ
นางสาวกฤษณาสำรวมใจ
นางสาวทองเพชรบรรเทาพิษ

ตำบลหนองแก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีเป็นประจำ

 

200.00

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ ประชาชนในตำบลหนองแก หันมาปลูกอ้อยแทนการปลูกข้าวมากขึ้นจากข้อมูลการสำรวจของเทศบาลตำบลหนองแกเมื่อปี 2562พบว่ามีเกษตรกรที่หันมาปลูกอ้อยแทนการปลูกข้าวประมาณร้อยละ 80 ของหลังคาเรือนทั้งหมด ซึ่งในการปลูกอ้อยนี้เกษตรกรต้องคลุกคลีกับปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ยาฆ่าหญ้า จำนวนมากและสัมผัสอยู่เป็นประจำซึ่งในช่วงปี 4 ปี ที่ผ่านมานั้น กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหนองแก ได้จัดทำโครงการตรวจหาสารพิษในเกษตรกร โดยได้รับความร่วมมือจากจากเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างดีซึ่งผลการตรวจพบว่า ทุกปีจะมีเกษตรกรที่มีผลเลือดไม่ปลอดภัย เฉลี่ยปีละ 200 คน และทั้งหมดก็ได้รับยารางจืดไปบำบัดแล้วนั้นจากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแก และกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลหนองแก ร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพ เช่นผู้นำชุมชน ชมรม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จึงได้จัดประชุมประชาคมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาสารเคมีของตำบลขึ้นในปี 2563 โดย เป็นการระดมความคิด หาแนวทางร่วมกันทุกฝ่าย ในการส่งเสริมและป้องกันภัยจากการใช้สารเคมีของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่อาจกลายเป็นกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพในอนาคตได้ซึ่งในปี 2563 นี้ ทุกฝ่ายได้มีความเห็นร่วมกันว่า ต้องดำเนินงานใน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1.การเพิ่มความรู้ในการป้องกันตัวเองและการใช้สารเคมีอย่างถูกวิธี 2.การตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและผู้ใช้สารเคมี 3.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยง และการใช้มาตรการทั้งในทางสังคมและกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งมาตรการทั้งหมดกำลังถูกขับเคลื่อนอยู่
ดังนั้น เพื่อให้ทุกมาตรการได้ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องจึงจำเป็นต้องดำเนินการตรวจสารพิษของเกษตรกรต่อไปอย่างต่อเนื่องทุกปี อันจะส่งผลให้การดูแลสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายนี้รวมทั้งกลุ่ม ประชาชนทั่วไป เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยง
2. เพื่อบำบัดรักษาเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงที่มีผลตรวจไม่ปลอดภัย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเฝ้าระวังความเสี่ยง ของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมี

ชื่อกิจกรรม
อบรมเฝ้าระวังความเสี่ยง ของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจข้อมูลกลุ่มเสี่ยงในทุกหมู่บ้านเพิ่มเติมโดย อสม.
  2. ประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในการวางแผนงาน
  3. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
  4. ประสานงานเตรียมความพร้อมการในการตรวจทางห้องปฏิบัติการกับผู้เกี่ยวข้อง
  5. ประชาสัมพันธ์แผนการออกตรวจแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง
  6. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันสารเคมีการป้องกันตนเองของเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในตำบลหนองแก
  7. ตรวจหาสารเคมีในเลือดกลุ่มเสี่ยง
  8. แจ้งผลการตรวจแก่เกษตรกรและให้คำแนะนำช่วยเหลือเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  9. จ่ายยาสมุนไพรรางจืด ในกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจพบสารเคมีในเลือด
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ได้เข้าอบรมและรับการตรวจร้อยละ 60
  2. เกษตรกรที่ตรวจพบไม่ปลอดภัย ที่ได้รับยาสมุนไพร ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เกษตรกรที่เสี่ยงต่อสารเคมีได้รับความรู้ในการดูแลตัวเอง และการป้องกันสารเคมีอย่างถูกวิธี ทราบสภาวะสุขภาพเบื้องต้นของตนเอง อันจะก่อให้เกิดความตระหนักในการดูแลป้องกันสุขภาพจากสารเคมีกลุ่มที่ผลตรวจไม่ปลอดภัยได้รับการบำบัด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงประชาชนทั่วไปหันมาสนใจในการดูแลสุขภาพของตนเองและ คนในชุมชนมากขึ้น


>